
“ศตวรรษแห่งเอเชีย” รมต.อินเดีย มาแถลงที่ไทยระบุ อินเดีย-จีนต้องร่วมมือกันเพื่ออนาคต
ดร.สุพรหมณยัม ชัยศังกระ รมว.ต่างประเทศอินเดีย กล่าวในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “India’s Vision of the Indo-Pacific” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (18 ส.ค.) ว่า ‘ศตวรรษแห่งเอเชีย’ (Asian Century) จะเกิดขึ้นได้หากจีนและอินเดียร่วมมือกัน
เฉียน เฟิง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ National Strategy Institute แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา อธิบายว่า สำนวน ‘ศตวรรษแห่งเอเชีย’ ถูกใช้ในการขับเคลื่อนยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างและอินเดียมาตั้งแต่ปี 1988 และ การที่ ชัยศังกระ หยิบยกคำนี้มากล่าวในการบรรยายเพื่อเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีความสัมพันธ์ทวิภาคีนั้น ‘ควรค่าแก่การยกย่อง’
เฉียน กล่าวต่อว่า ฉันทามติปี 1988 ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งระบุว่า จะไม่หยิบยกข้อพิพาทด้านพรมแดนมาเป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างรวดเร็วตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีความสำคัญอยู่
“เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จีนและอินเดียจะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน โดยไม่ให้ปัญหาชายแดนมาเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์ทวิภาคี” เฉียน กล่าวเสริม
โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า ทั้งสองประเทศเป็นกำลังสำคัญในการนำพาเสถียรภาพมาสู่เอเชียและโลก ผ่าน forum ความร่วมมือระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น BRICS และ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organisation) ฯลฯ
ทั้งนี้ คำว่า ‘ศตวรรษแห่งเอเชีย’ ถูกใช้ครั้งแรกในปี 1988 โดย เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน ในขณะเข้าพบกับ ราชีฟ คานธี นายกรัฐมนตรีของอินเดีย เพื่อชี้ให้เห็นว่า ‘ศตวรรษแห่งเอเชีย’ จะไม่เกิดขึ้น จนกว่าจีนและอินเดียจะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว