
สิทธิทำแท้งของนักศึกษา รอง ปธน.สหรัฐฯ เดินสายมหาวิทยาลัย หวังฐานนักศึกษาช่วยฟื้นสิทธิทำแท้งเสรี
รอยเตอร์ รายงานว่า รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส จะเข้าพบกับผู้นำจากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (8 ส.ค.) นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ หรือสิทธิในการทำแท้ง (reproductive rights) หลังจากที่ศาลฎีกาตัดสินคว่ำสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการทำแท้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา
.
ทำเนียบขาว อ้างว่าการเข้าถึงบริการทำแท้งที่มีอยู่อย่างจำกัด มีผลกระทบต่อสตรีวัยเรียนมากเป็นพิเศษ โดยให้เหตุผลว่า นักศึกษาในรัฐที่แบนการทำแท้งจะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายในการแสวงหาคลินิกที่ให้บริการทำแท้ง ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดด้านการเงินและเวลาเนื่องจากพวกเธอยังมีความรับผิดชอบด้านการเรียนด้วย
.
ทำเนียบขาวยังได้ชี้แจงโดยอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติว่า นักศึกษาที่มีลูก มีโอกาสสูงถึง 10 เท่า ที่จะไม่สำเร็จการศึกษาตามเวลาเมื่อเทียบกับนักศึกษาที่ไม่มีลูก
.
พร้อมกันนี้ยังได้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการทำแท้ง โดยระบุว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของยาทำแท้งอยู่ระหว่าง 300 – 750 ดอลลาร์ (10,635-26,588 บาท) ส่วนค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำแท้งอาจสูงถึง 1,500 ดอลลาร์ (53,175 บาท) หากไม่มีประกัน
(1 ดอลลาร์ = 35.45 บาท)
จุรินทร์ไฟเขียว ประกันรายได้ปาล์มปีที่ 4 ที่ กก.ละ 4 บาท เริ่ม 15 ก.ย.นี้
การฆ่าชาวปาเลสไตน์ ไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รัฐบาลอเมริกันไม่สามารถแทรกแซงอิสราเอลได้ เพราะอิสราเอลเป็นประเทศประชาธิปไตย
“โรงเรียนจะไม่มีการมาบังคับให้นักเรียนหญิงต้องใส่เสื้อซับใน เพราะกลัวถูกเห็นเสื้อในแล้วจะโดนข่มขืน”
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม