ก๊าซเรือนกระจกบนโลก แต่ละประเภทมีอายุกี่ปี ?
ในชั้นบรรยากาศโลกจะประกอบด้วยก๊าซต่าง ๆ หลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เมื่อก๊าซบางประเภทมีมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อความสมดุลของชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ซึ่งก๊าซบางชนิดสามารถสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานหลายร้อยปี ไปจนถึงหลายพันปี และบางชนิดสะสมอยู่ได้เพียงไม่กี่ปีก็สลายไป
.
ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่กล่าวมานี้จะสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้เป็นเวลานานหลายนานชั่วอายุคน
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) คือ กลุ่มก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกที่สามารถกัก เก็บและดูดกลืนคลื่นความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด (Infrared) ที่ส่งผ่านลงมายังพื้นผิวโลกจากดวงอาทิตย์ ก่อนปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของความร้อน ทำให้โลกเกิด “ภาวะเรือนกระจก” ที่สามารถช่วยรักษาสมดุลของอุณหภูมิพื้นผิวดาวเคราะห์ไว้ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศอย่างฉับพลันในช่วงระหว่างกลางวันและกลางคืน ช่วยให้โลกมีอุณหภูมิที่อบอุ่นและเหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
.
ก๊าซเรือนกระจกบนโลกที่สำคัญประกอบไปด้วย
.
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide): CO2
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกสูงสุด ปัจจุบันมนุษย์กลายมาเป็นตัวการหลักในการสร้างและปลดปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไม้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งมีส่วนต่อการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 1 ใน 3 ของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ทั้งสิ้น
.
มีเทน (Methane): CH4
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกลำดับที่ 2 เป็นก๊าซในธรรมชาติที่เกิดจากย่อยสลายของเสียต่างๆ ที่จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบ การเผาไม้เชื้อเพลิง ในการทา เกษตรกรรม โดยเฉพาะฟาร์มปศุสัตว์
.
ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide): N2O
เป็นก๊าซธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดจากแบคทีเรียต่างๆ ทั้งจากในดินและในมหาสมุทร รวมถึงการย่อยสลายของอินทรียวัตถุ และในภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ รวมถึงการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เชื้อเพลิงต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์ทำให้เกิดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกได้เช่นกัน
.
กลุ่มก๊าซฟลูออริเนต (Fluorinated gases) มีแหล่งกำเนิดจากกิจกรรมของมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก เช่น
– ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ใช้เป็นสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และใช้ในการดับเพลิง
– ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ใช้ในกระบวนการหลอมอะลูมิเนียมและผลิตสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า
– ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือวงจรขนาดเล็ก
– ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยางรถยนต์ อุตสาหกรรมแมกนีเซียม
.
นอกจากนี้ กลุ่มก๊าซฟลูออริเนตยังสามารถทำลายโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) จนทำให้เกิดรูรั่วในชั้นบรรยากาศโลกได้อีกด้วย ส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตสามารถส่องเข้ามายังพื้นผิวโลกได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย
.
ก๊าซเรือนกระจกมีแหล่งกำเนิดมาจากทั้งในธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่มาพร้อมกับมลพิษทางอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงยิ่งขึ้น
.
ปัจจุบันทั่วโลกได้รณรงค์ เพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง อย่างไรก็ตามการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กำหนดตามสนธิสัญญาดังกล่าวนั้นยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นปัญหาโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจกยังคงอยู่ต่อไป หรือเพิ่มขึ้นกว่าเดิมก็อาจเป็นไปได้ถ้าทุกคนยังไม่เข้าใจปัญหาและร่วมแก้ไขอย่างจริงจัง
.
จากข้อมูลข้างต้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงผลักดันการใช้พลังงานสะอาดให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด เพื่อให้ชั้นบรรยากาศเกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) นั่นเอง