Newsไทยทำได้! เปิดตัวครั้งแรกในอาเซียน แบตฯ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก

ไทยทำได้! เปิดตัวครั้งแรกในอาเซียน แบตฯ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก

กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์ผลสำเร็จ นำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใช้งานแล้ว พัฒนานำกลับมาเป็นแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และเปิดตัวแบตเตอรี่โซเดียมไอออน (Na-ion Batteries) จากแร่เกลือหิน พร้อมโชว์รถต้นแบบครั้งแรกในอาเซียน

 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก พร้อมกับการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน

 

กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยมีการจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ตามนโยบาย BCG Model (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) ได้พัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพแล้ว ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นแบตเตอรี่ได้ใหม่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (Second Life Electric Vehicle Batteries for Small Electric Vehicles) รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบรถกอล์ฟไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion)

 

ทั้งนี้ จากผลการทดสอบพบว่า แบตเตอรี่ดังกล่าวจะมีอายุการใช้งานเทียบเท่ากับระยะเวลาการรับประกันแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใหม่ หรือไม่น้อยกว่า 8 ปี และสำหรับแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล เพื่อนำลิเทียมและสารประกอบโลหะในแบตเตอรี่กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในไทย

 

นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือก โดยนำแร่เกลือหินซึ่งเป็นวัตถุดิบที่พบมากในประเทศไทย นำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และได้นำมาใช้งานได้จริงในจักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (E-Bike) นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกในอาเซียน

 

ด้ายนายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แสดงความเห็นว่า ความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนที่มีวัตถุดิบตั้งต้นมาจากแร่เกลือหินนี้ จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าแร่เกลือหินที่มีในประเทศและสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบ และยังรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งไทยมีปริมาณสำรองแร่สูงถึง 18 ล้านล้านตัน ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทลิเทียมไอออนแบบ NMC (Nickle-Manganese-Cobalt) หรือ Li-ion NMC Batteries ยังสามารถช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ โดยเฉพาะลิเทียมที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนทั่วโลกได้อีกด้วย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า