
กทพ.จับมือ ‘หัวเว่ย’ วางโครงการสร้าง ‘ทางด่วนอัจฉริยะ’ แห่งแรกในประเทศไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน
กทพ.จับมือ ‘หัวเว่ย’ วางโครงการสร้าง ‘ทางด่วนอัจฉริยะ’ แห่งแรกในประเทศไทย
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือในโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะของประเทศไทย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ รองรับแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพทางหลวงไทยอนาคต
นายเควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ หัวเว่ยจะนำเทคโนโลยีระดับแนวหน้า รวมถึงโซลูชันไอซีที คลาวด์ และโซลูชันนวัตกรรมร่วมกันอื่น ๆ ที่เกิดจากการร่วมมือพัฒนากับพาร์ทเนอร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อนำมาสร้างไอเดียนวัตกรรมใหม่ โดยหัวเว่ยจะมุ่งมั่นส่งมอบงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และจะร่วมมือกับทาง กทพ. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโมเดลธุรกิจใหม่รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการลงทุน
“การร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการสอดรับกับพันธกิจของหัวเว่ยในด้านการเติบโตไปกับประเทศไทย พร้อมสนับสนุนประเทศไทย ทั้งยังตอบรับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยบนเส้นทางการมุ่งสู่ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน” นายเควินกล่าว
นอกจากนี้ หัวเว่ยและกทพ.จะร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะในระดับองค์กร และจะระดมทรัพยากรร่วมกันอย่างเต็มที่ เพื่อต่อยอดความร่วมมือ และจะทบทวนความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งสองฝ่าย โดยหัวเว่ยจะให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบแก่แผนโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะในไทย
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการกทพ. กล่าวว่า กทพ. และหัวเว่ย จะนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บท และโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาระบบ ITS และการกำกับดูแลบนทางพิเศษในอีก 10 ปีข้างหน้าของกระทรวงคมนาคม หัวเว่ยและกทพ. ให้ความร่วมมือ การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบแก่แผนทางพิเศษอัจฉริยะ(Smart Expressway)
โดยหัวเว่ยจะนำเทคโนโลยีไอซีทีที่ล้ำสมัย รวมถึงโซลูชันไอซีที โซลูชันคลาวด์และโซลูชันนวัตกรรมร่วมกันและอื่นๆ สำหรับแนวคิดด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งหัวเว่ยจะทำการจัดหาการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็นเพื่อส่งมอบนวัตกรรม สำหรับโซลูชัน และหัวเว่ย จะทำงานร่วมกันกับ กทพ. ในการจัดเตรียมรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อช่วยให้ กทพ. เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนโครงการ
ทั้งนี้เพื่อนำเสนอเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อให้เกิดการแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม ในการพัฒนาการให้บริการทางพิเศษ นำนวัตกรรมใหม่ๆมาปรับใช้ให้สอดคล้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสถาปัตยกรรมด้านไอซีทีให้ทันสมัยตอบรับกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ
นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า บันทึกความเข้าใจนี้ คือการสร้างความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะ โดย กทพ. และ หัวเว่ยจะใช้ศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน ให้เกิดการสำรวจความเป็นไปได้อย่างเต็มรูปแบบสำหรับความร่วมมือเกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจนี้โดยอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
#TheStructureNews
#การทางพิเศษแห่งประเทศไทย #หัวเว่ย
“ไม่ใช่น้ำปนเปื้อน!!”นายกฯ คิชิดะ สั่ง รมว.ประมงให้กล่าวขอโทษ กรณีเรียกน้ำเสียจากฟุกุชิมะว่า ‘น้ำปนเปื้อน’
“แบ่งเค้กลงตัวแล้ว” 11 พรรคการเมืองร่วมแถลงจัดตั้งรัฐบาล 22 สิงหา ส่ง ‘เศรษฐา’ ชิงตำแหน่งนายกโควตา ครม. เรียบร้อย ลงตัว
“มีก้าวไกล ไม่มีภูมิใจไทย”อนุทินยืนยันไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรค ที่มุ่งจะแก้กฎหมายหมิ่นสถาบันฯ
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม