จับตายุทธศาสตร์สถานี EV ในประเทศ กับการใช้ ‘สถานีบริการน้ำมัน’ ทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้ใช้ EV ในอนาคต
ที่ผ่านมาทุกคนคงได้เห็นแล้วว่าตอนนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับกระแสยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV กันเป็นอย่างมาก แต่จะมีสักกี่ประเทศที่มีความพร้อมในการสร้างระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ ‘EV Ecosystem’ ได้อย่างแท้จริง
การจะเข้าสู่ EV Ecosystem หมายถึง การเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันและก๊าซมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแปลว่าโรงไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
ไหนจะเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ และการรีไซเคิลแบตเตอรี่จำนวนมหาศาล ให้ไม่กลายเป็นขยะมลพิษที่สร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ
แต่เรื่องที่จะพูดถึงในวันนี้ อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ‘สถานีชาร์จไฟฟ้า’ เพราะคงไม่ใช่ทุกบ้านที่มีระบบไฟฟ้าสำหรับการชาร์จรถ EV ดังนั้นการเตรียมสถานีชาร์จไฟให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับการใช้ EV จึงเป็นหัวใจสำคัญอีกประการที่จะทำให้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น
เพราะคงไม่มีใครอยากขับรถไปแล้วไฟหมดกลางทางแน่นอน…
————–
ระบบชาร์จและจำนวนสถานีชาร์จ
————–
ปัจจุบันการคิดค่าชาร์จไฟตามสถานีต่างๆ มีราคาต่อหน่วยต่างกันไป นอกจากนี้การคิดค่าชาร์จ ยังใช้ระบบคิดราคาแบบ TOU (Time of Use) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ
- On-Peak (ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟมาก) คือ 9.00 – 22.00 ของวันธรรมดา
- Off-Peak (ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟน้อย) คือ 22.00 – 09.00
ขณะเดียวกันรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็รองรับกำลังไฟได้แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 60kW – 200kW ซึ่งเครื่องกำลังไฟ 200kW ยังไม่มีเอามาใช้ในไทย ตอนนี้กำลังไฟสูงสุดของสถานีชาร์จจะอยู่ที่ 160kW ซึ่งเป็นสถานีชาร์จ EV Station PluZ ของเครือ ปตท.นั่นเอง
ขณะที่จำนวนสถานีชาร์จหรือสถานีอัดประจุ หากอ้างอิงจากข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565 จะพบว่าประเทศไทยมีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับ EV ทั้งสิ้น 944 สถานี ทั่วประเทศ โดย 5 อันดับแรกได้แก่
- บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (EA) 417 สถานี
- บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 120 สถานี
- บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) 108 สถานี
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 73 สถานี
- สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย 68 สถานี
*** ซึ่งในระหว่างช่วง ต้น-ปลายปี 2565 บริษัทเหล่านี้ได้มีขยายจุดชาร์จไปยังพื้นที่ต่างๆ อีกมาก เช่น ตามบริษัทห้างร้าน สำนักงาน โชว์รูมรถยนต์ และห้างสรรพสินค้าต่างๆ
ผ่านฉลุยรถไฟแช่เย็นขนทุเรียนไทยผ่านศุลกากรจีนฉลุยทำลายสถิติขนส่งเร็ว แซงรถและเรือ แถมประหยัดผลไม้ไทยอีก 25,000 ตันรอจ่อคิว ตีตลาดจีน
แซง BYD ในไตรมาสแรก Tesla กลับคืนสู่บัลลังก์ผู้ผลิตรถ EV เบอร์ 1 ของโลก หลัง BYD ยอดขายลดลงในไตรมาส 1/2024
‘เรียกสหรัฐมาแทรกแซงไทย’ Brian ช่อง New Atlas เปิดข้อมูล ทนายจูน-องค์กรทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้สหรัฐเข้ามาแทรกแซงไทย
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม