NewsEV อาจไม่สะอาดบริสุทธิ์ 100% แต่ก็เป็นเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในเวลานี้

EV อาจไม่สะอาดบริสุทธิ์ 100% แต่ก็เป็นเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในเวลานี้

กระแสโลกในปัจจุบัน ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV กำลังเป็นที่สนใจในฐานะยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น ก็ยังเกิดคำถามตามมาอยู่ดีว่า “EV สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ ?” โดยที่มาของคำถามนี้นั้น มองถึงที่มาของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกอยู่

.

จากรายงานของสถาบันพลังงาน (Energy Institution) ในปี 2565 สัดส่วนของแหล่งพลังงานของโลกมาจากน้ำมัน 32%, ก๊าซธรรมชาติ 23%, ถ่านหิน 27%, นิวเคลียร์ 4%, พลังงานน้ำ 7% และพลังงานทดแทน 7% [1] ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งจัดเป็นพลังงานฟอสซิล ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ยังครองสัดส่วนในระดับสูงถึง 82% อยู่ดี แม้ในชาติที่เจริญแล้วอย่างกลุ่มสหภาพยุโรป ก็ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานถึง 71% [1]
.
ถึงแม้ว่าในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะยังไม่ถือได้ว่าสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% แต่ด้วยเทคโนโลยีของโลกในปัจจุบันนี้ ยานยนต์ไฟฟ้า ถือได้ว่าเป็นยานพาหนะที่มีความสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และมากกว่ายานยนต์แบบดั้งเดิม ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine)  โดยมี 2 เหตุผลหลัก ๆ ดังนี้

.

  1. ประสิทธิภาพการแปลงเชื้อเพลิงเป็นพลังงาน
    ในการขับขี่รถยนต์แบบดั้งเดิม ประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงจะขึ้นอยู่กับการใช้งานและพฤติกรรมการขับขี่เป็นหลัก โดยผู้ขับขี่ที่นิยมการใช้ความเร็ว มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงต่ำกว่าผู้ที่ขับขี่ด้วยความเร็วปกติ และมีแนวโน้มที่จะปล่อยคาร์บอนสูงกว่า อีกทั้งรถยนต์เก่า ย่อมมีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่ต่ำกว่า และมีอัตราการปล่อยคาร์บอนที่สูงกว่าด้วย

.

ในขณะที่โรงงานไฟฟ้านั้น จะถูกบังคับด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่สูงกว่าอยู่แล้ว เพราะถ้าหากว่าผลิดไฟฟ้าโดยมีประสิทธิภาพต่ำ ย่อมหมายถึงการแบกรับต้นทุนที่สูงกว่า และมีผลประกอบการที่น้อยกว่า ถึงแม้ว่าในประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟฝ.) จะเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าหลักของประเทศ แต่ กฟฝ. เองก็ถูกบีบบังคับจาก “นโยบายราคาพลังงาน” ของรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามเสียงเรียกร้องจากประชาชนให้มีราคาถูกอยู่ดี
.
2 ความสะดวกในการติดตาม และควบคุมการปล่อยคาร์บอน และมลพิษ
จากรายงานของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 มีรถยนต์ทั่วประเทศมากถึง 44,050,365 คัน [2] นั่นหมายความว่า บนท้องถนนมีจุดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 44 ล้านจุด ซึ่งยากจะควบคุม ในขณะที่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ณ สิ้นปี 2565 ทั่วประเทศไทยมีทั้งสิ้น 4,290 โรง [3] โดยเป็นโรงงานไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) 162 โรง และขนาดเล็กมาก (VSSP) 4,044 โรง [3]
.
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ความยากง่ายในการติดตามและควบคุมการปล่อยคาร์บอนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก



สำหรับอัตราการปล่อยคาร์บอนต่อระยะทางในรถ EV นั้น ในปัจจุบันยังไม่อาจบ่งชี้ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากว่าอัตราการปล่อยคาร์บอนต่อระยะทางนั้น ขึ้นอยู่กับที่มาของแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อการจ่ายไฟให้กับรถ EV เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งถ้าหากจุดจ่ายไฟดังกล่าวรับไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนมาก ก็จะมีความสะอาดมากกว่า

.

อย่างไรก็ดี จากรายงานของ Union of Concerned Scientists ระบุว่า ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉลี่ยแล้ว [4]
– รถยนต์แบบดั้งเดิม ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 1 แกนลอน ทุก ๆ 25 ไมล์

– รถยนต์แบบไฮบริด ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 1 แกนลอน ทุก ๆ 51 ไมล์
– รถยนต์ EV ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 1 แกนลอน ทุก ๆ 96 ไมล์
.
ซึ่งนี่เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ถึงแม้ว่า EV จะไม่ถึงกับสะอาดบริสุทธิ์ แต่ก็ดีที่สุดในเวลานี้ และดีกว่ารถยนต์แบบดั้งเดิมเกือบ 4 เท่าตัว
.
การพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในเวลานี้ ตัวรถยนต์และระบบขับเคลื่อนถือได้ว่าอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อเชิงพาณิชย์แล้ว โดยระบบขับเคลื่อนนั้น เป็นการต่อยอดมาจากเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ (Invertor) ที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปมาหลายสิบปีแล้ว อีกทั้งเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ ยังถูกนำมาใช้งานในสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ตามบ้าน อาทิเช่นเครื่องปรับอากาศ จึงไม่ถือว่าใหม่เลย

.

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ EV ที่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญคือเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันในการวิจัยและพัฒนาให้มีศักยภาพสูงขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังมีการลงทุนเพื่อการพัฒนาทั้งรูปแบบและวิธีการชาร์จ/เก็บพลังงานไฟฟ้าในรถ EV ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งจากภาครัฐและเอกชน
.
ผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายเองก็เริ่มประกาศเป้าหมายที่จะลดการผลิตยานยนต์รูปแบบดั้งเดิมให้เป็นศูนย์ อาทิเช่น วอลโว่ที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2023 [5] หรือ มิตซูบิชิ ในปี 2035 [6] ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ว่า รถยนต์ EV จะเป็นที่ยอมรับในฐานะยานยนต์แห่งอนาคต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน

.

ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

อ้างอิง
[1] Energy Institution (2023), “Statistical Review of World Energy”, https://www.energyinst.org/statistical-review/resources-and-data-downloads 
[2] กรมการขนส่งทางบก (พ.ศ. 2566), “จำนวนรถจดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2566”, https://web.dlt.go.th/statistics/ 

[3] กระทรวงพลังงาน, “สรุปข้อมูลพลังงาน ทั่วประเทศ ปี 2565”, https://data.energy.go.th/factsheet/country/0/2022
[4] Union of Concerned Scientists, “How Clean is Your Electric Vehicle?”, https://evtool.ucsusa.org/

[5] New York Times (2023), “How Green Are Electric Vehicles?”, https://www.nytimes.com/2021/03/02/climate/electric-vehicles-environment.html 
[6] The Structure, “มิตซูบิชิเล็งตั้งฐานผลิตรถไฮบริดในไทย”, https://www.facebook.com/thestructure.live/posts/pfbid0w2f63kjKkACAxhsjfgbdSezRnnpNURN3238u6aQc5UXWLPEQv8VGWLpJZgsgZzLHl  

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า