
สถานการณ์โรคไตในไทยที่น่าเป็นห่วง จากยอดผู้ป่วยโรคไตพุ่ง เพราะพฤติกรรมกินเค็ม
จากรายงานในฐานข้อมูลด้านโรคไตของสหรัฐอเมริกา (The United States Renal Data System ; USRDS) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องเข้ารับการล้างไตสูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา, สิงคโปร์, และ เกาหลีใต้ และจากตัวเลขล่าสุดในปี 2565 คนไทยที่เป็นโรคไตนั้นมีอยู่ถึง 11.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจจาก 8 ล้านคนในปี 2563
โดยหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคไตนั้น เกิดมาจากพฤติกรรมการกินที่มีการบริโภคสารก่อความเค็ม นั่นคือ โซเดียม ในปริมาณที่มาก จากเครื่องปรุงรสต่าง ๆ รวมทั้งขนมขบเคี้ยว อีกทั้งคนไทยจำนวนมากนั้นได้ชื่อว่ามีความชื่นชอบในอาหารรสจัด การบริโภคอย่างไม่ระมัดระวังและสะสมเป็นเวลาจึงนำไปสู่การก่อโรคได้
จากตัวเลขดังกล่าว สถานการณ์โรคไตของคนไทยถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญ และจำเป็นที่ทุก ๆ ฝ่ายในสังคมควรให้ความร่วมมือในการสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา-วิจัย หรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยนั้นได้เข้าถึงและได้รับการรักษาที่จำเป็น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน รวมถึงควรจะต้องมีการสนับสนุนให้คนไทยมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมด้วย ลดอาหารรสเค็ม หรือรสจัด และรณรงค์ให้มีความตระหนักรู้ในพฤติกรรมการกินของตัวเอง
ซึ่งในปัจจุบันก็มีช่องทางมากมายที่จะช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ทั้งการร่วมรณรงค์โดย NGO ด้านสุขภาพ เช่น กลุ่ม World Action On Salt and Health (WASH) ที่มีการจัด “สัปดาห์รณรงค์ลดการบริโภคเค็ม” ขึ้นทั่วโลก ก็เป็นหนึ่งในช่องทางในการช่วยให้สังคมมีความตระหนักรู้ (awareness) ในประเด็นสำคัญด้านสุขภาพนี้ได้
และแน่นอน อีกช่องทางหนึ่งที่ก็คงหนีไม่พ้นการบริจาคเงินสมทบทุนให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนร่วมต่อสู้กับโรคไต อย่างล่าสุด ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นเงินจำนวน 5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของภาคเอกชน ที่สนับสนุนให้ประชาชนได้รับโอกาสในการรักษาโรคไต
ในส่วนของภาคประชาชนทั่วไป การบริจาคก็เป็นช่องทางหนึ่ง แต่เพียงการช่วยกันเผยแพร่ความตระหนักรู้และความเข้าใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตในหมู่ประชาชน ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการร่วมกันต่อสู้กับโรคไตไปด้วยกัน
ในขณะบางคนมุ่งแต่จะตั้งคำถามถึง “ความเป็นไทย” แล้วใยไม่มีใครตั้งคำถามต่อ “ความเป็นสากล”
“ปลดล็อคผลิตสุรา” เปรียบเทียบกฎกระทรวงเดิม กับ ร่างแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา ต่างกันอย่างไร
“สงครามนอกแบบ” ของสหรัฐอเมริกา ยุทธวิธีปั่นหัวประเทศเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของตนโดยไม่จำกัดวิธีการ ทั้งใช้ทหารหรือไม่ใช้ทหารก็ได้
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม