Newsปอดปลอดภัย ‘ห้องปลอดฝุ่น’ พร้อมแล้ว ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 แห่ง กรมอนามัย-สสส. เล็งขยายต่อเพิ่มเติมอีกในพื้นที่อื่นๆ ที่มีฝุ่นหนา

ปอดปลอดภัย ‘ห้องปลอดฝุ่น’ พร้อมแล้ว ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 แห่ง กรมอนามัย-สสส. เล็งขยายต่อเพิ่มเติมอีกในพื้นที่อื่นๆ ที่มีฝุ่นหนา

เริ่มแล้ว “ห้องปลอดฝุ่น” ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 แห่ง กรมอนามัยจับมือ สสส. เล็งขยายต่อเพิ่มเติมในพื้นที่ฝุ่นหนา 


นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยนายชาติวุฒิ วังวล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองที่มีค่าเกินมาตรฐานจนอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นวัตกรรมห้องปลอดฝุ่นและขับเคลื่อนชุมชนเพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างยั่งยืน ว่าจากฐานข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ตั้งแต่ ม.ค. 2566 การเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 

 

โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจในประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ซึ่งจริงๆ แล้ว สามารถหลีกเลี่ยงได้ สำคัญคือทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้ สธ.ได้ยกระดับปฏิบัติการ คือ ผลักดันให้มีการจัดทำ “ห้องปลอดฝุ่น” ในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีอากาศสะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพในช่วงที่มี PM2.5 สูง หลักการคือ “กันฝุ่นเข้า กรองฝุ่นภายในห้อง และดันฝุ่นออก” ซึ่งสามารถทำได้ทั้งที่บ้านและสถานที่สาธารณะ โดยเฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กมีอัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อสมรรถนะของปอดและคุณภาพชีวิตในระยะยาว

 

ปัจจุบันพบว่า มีเด็กอายุ 0 – 6 ปี กว่า 2.6 ล้านคน อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจาก PM 2.5 กรมอนามัยจึงร่วมกับ สสส. จัดทำโครงการขับเคลื่อนห้องปลอดฝุ่นฯ โดยพัฒนาแนวทางและต้นแบบห้องปลอดฝุ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 30 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลสู่สถานที่ต่างๆ ในพื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ ได้แก่ กทม. กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และภาคใต้บางพื้นที่ ที่อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นประเทศเพื่อนบ้าน 

 

นอกจากนี้ ยังได้จัดทำแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลห้องปลอดฝุ่นให้ประชาชนสามารถค้นหาห้องปลอดฝุ่นในพื้นที่ใกล้เคียง และสืบค้นองค์ความรู้ต่างๆ ได้ ร่วมกับกับภาคีเครือข่าย ทั้งรัฐ สถาบันการศึกษา ชุมชน สมาคม และเอกชน แลกเปลี่ยน เรียนรู้นวัตกรรมจัดทำห้องปลอดฝุ่น ขับเคลื่อนชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและร่วมจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน และพร้อมนำข้อมูลให้กับพรรคการเมืองที่สนใจเพื่อกำหนด และขับเคลื่อนเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับภาพรวมของประเทศอีกด้วย

ด้าน ดร.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในการรับมือกับมลพิษทางอากาศ เพื่อลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าวตามเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งในปีนี้ WHO ร่วมกับกรมอนามัยรวบรวมและเผยแพร่ Best Practice ทั้งนวัตกรรมห้องปลอดฝุ่น และแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนที่มีการจัดการและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นแนวทางให้แก่พื้นที่และประเทศอื่นๆ ต่อไป

 

#TheStructureNews

#ห้องปลอดฝุ่น #กรมอนามัย #สสส

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า