Newsปิยบุตรชี้ไทยต้องการ ‘ส.ส.นักปฏิวัติ’ ในช่วงเปลี่ยนผ่านระบอบ (interregnum) โดยต้องกล้าแตะสถาบันกษัตริย์-แก้ ม.112 ไม่ใช่ ส.ส.แบบราชการที่สนแต่ตำแหน่งในสภา

ปิยบุตรชี้ไทยต้องการ ‘ส.ส.นักปฏิวัติ’ ในช่วงเปลี่ยนผ่านระบอบ (interregnum) โดยต้องกล้าแตะสถาบันกษัตริย์-แก้ ม.112 ไม่ใช่ ส.ส.แบบราชการที่สนแต่ตำแหน่งในสภา

นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ และปัจจุบันเป็นเลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้ออกมาโพสต์เฟสบุ๊กเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 โดยระบุว่า ในช่วงการเปลี่ยนผ่านระบอบ (Interregnum) จำเป็นที่ไทยจะต้องมี [ส.ส.แบบปฏิวัติ] ให้มากกว่า [ส.ส.แบบราชการ]

 

โดยนายปิยุบตรอธิบายว่า ส.ส.แบบราชการต้องรักษาตำแหน่ง ส.ส.ของตนเอง ไม่อยากถูกเตะออกจากสภา โดยต้องสยบยอมอำนาจรัฐเพื่อเข้าถึงงบประมาณและทรัพยากร จะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการหาเสียงและได้คะแนนนิยม

 

ซึ่งหากสภาผู้แทนราษฎรไทย มีแต่ ส.ส.แบบราชการ ความเปลี่ยนแปลงไม่มีทางเกิดได้

 

แต่ไทยต้องการ ส.ส.แบบปฏิวัติ ที่กล้าชนกับข้อกำหนด กล้าพูดในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้า แม้มีกรงขังที่ครอบไว้แน่นหนา ก็ต้องเพียรพยายามหาเหลี่ยมมุมเพื่อไต่เส้น ไต่เพดาน ไปให้ได้

 

ไม่ว่าจะเป็น รธน.หมวดสถาบันกษัตริย์, งบประมาณสถาบันกษัตริย์ รวมถึงการยกเลิก มาตรา 112

 

————-

 

[ต้องมี “ส.ส.แบบปฏิวัติ” ให้มากกว่า “ส.ส.แบบราชการ”]

 

ในช่วงยามหัวต่อหัวเลี้ยวทางการเมืองเช่นเวลานี้

 

ในช่วง interregnum ที่สิ่งเก่ากำลังจะตาย แต่ยังไม่ตาย สิ่งใหม่กำลังจะเกิด แต่ยังเกิดไม่ได้

 

สภาผู้แทนราษฎรต้องมี ส.ส.แบบปฏิวัติ ให้มากกว่า ส.ส.แบบราชการ

 

ส.ส.แบบราชการ (Bureaucrat MP) คือ คนที่ได้เป็น ส.ส.แล้ว ก็อยากเป็นอีก ราวกับตำแหน่ง ส.ส. เป็นอาชีพ หรือสมบัติของตระกูลตนเอง คนแบบนี้ จะเฉื่อยชา เสมือนถูกหลอมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลไกรัฐ ทำเท่าที่ทำ ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง

 

อะไรก็ตามที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการพ้นจากตำแหน่งของเขา เขาจะไม่ทำ

อะไรก็ตามที่ทำให้เขารักษาตำแหน่งได้ ต่อยอดไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ เขาจะกระโจนเข้าใส่

 

ส.ส.แบบราชการต้องรักษาตำแหน่ง ส.ส.ของตนเอง ไม่อยากถูกเตะออกจากสภา สยบยอมอำนาจรัฐเพื่อเข้าถึงงบประมาณและทรัพยากร จะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการหาเสียงและได้คะแนนนิยม

 

หากสภาผู้แทนราษฎรไทย มีแต่ ส.ส.แบบราชการ ความเปลี่ยนแปลงไม่มีทางเกิด พวกเขาทำหน้าที่เหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง และถูกหลอมรวมเข้าไปอยู่กับอำนาจรัฐ

 

ส.ส.แบบราชการ เปลี่ยน “ประชาชน” ที่เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุด กลายเป็นเพียง “สะพาน” ที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งได้เป็น “ทั่น ส.ส.”

 

ตรงกันข้าม หากต้องการการเปลี่ยนแปลง เราต้องมี ส.ส.แบบปฏิวัติ (Revolutionary MP)

 

คือ ส.ส.ที่ตระหนักดีว่า เมื่อโอกาสมาถึง ต้องทำ เมื่อโอกาสยังมาไม่ถึง ต้องเตรียมพร้อมและเร่งให้โอกาสมาถึง

 

คือ ส.ส.ที่กล้าพูดในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้า แม้มีกรงขังที่ครอบไว้แน่นหนา ก็ต้องเพียรพยายามหาเหลี่ยมมุมเพื่อไต่เส้น ไต่เพดาน ไปให้ได้

 

คือ “ผู้แทน” ของราษฎรที่กล้าหาญ กล้าอภิปราย เพื่อยกระดับเพดานการอภิปราย ปักหมุดวาระสำคัญสู่สภา ขยับฐานความคิดในสภา สร้างความหวังให้กับประชาชน

 

คือ ส.ส.ที่พร้อมลงมติและตัดสินใจในเรื่องสำคัญในห้วงเวลาชี้ขาด

ส.ส.แบบราชการ ไม่กล้าเสนอและไม่กล้าลงมติยกเลิก 112

แต่ส.ส.แบบปฏิวัติ ผลักดันการยกเลิก 112

 

ส.ส.แบบราชการ ไม่กล้าอภิปรายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ และลงมติให้ความเห็นชอบโดยไม่ปริปากแม้แต่คำเดียว

แต่ส.ส.แบบปฏิวัติ อภิปราย ตรวจสอบ ตัดลดงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

 

ส.ส.แบบราชการ ลงมติกฎหมายที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจหรือวงงานของสถาบันกษัตริย์อย่างศิโรราบ เข้าประชุม แสดงตน กดลงคะแนนอย่างพร้อมเพรียง หากมาไม่ทัน ก็ต้องรีบวิ่งตาลีตาเหลือกมาลงคะแนนทีหล้ง หากกดผิด ก็ต้องรีบแถลงชี้แจง

 

แต่ส.ส.แบบปฏิวัติ ต้องพิจารณาตรวจสอบ อภิปราย กฎหมายเหล่านี้

 

ส.ส.แบบราชการ พร้อมใจกันประกาศว่าไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ขนาดรัฐธรรมนูญให้แก้ได้ ก็ยังไปร่วมมือกันกำหนดว่าห้ามแก้หมวด 1 หมวด 2 เสียอย่างนั้น

แต่ ส.ส.แบบปฏิวัติต้องแก้ไขหมวด 1 หมวด 2 ให้สอดคล้องกับประชาธิปไตย

 

ส.ส.แบบราชการ ไม่กล้าชนกับศาล ศาลรัฐธรรมนูญ คำก็ “อย่าก้าวล่วงศาล” สองคำก็ “ศาลตัดสินแล้วเป็นที่สุด ต้องเคารพ”

 

แต่ ส.ส.แบบปฏิวัติ ต้องอภิปราย ตรวจสอบ ศาล เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพื่อปรับปรุงให้ศาลอยู่ในร่องในรอยของประชาธิปไตย

 

ส.ส.แบบราชการ เมื่อโดนยุบพรรค ตัดสิทธิ ก็พับเพียบหมอบกราบผงกหัว “ยอมรับ” แล้วก็แยกย้ายไปพักผ่อน หรือซ่อนตัวอยู่ข้างหลัง แล้วส่งคนในครอบครัวมาเป็น ส.ส.แทน เพื่อรอวันกลับมาใหม่

 

แต่ ส.ส.แบบปฏิวัติ ต้องกล้าโต้แย้งการยุบพรรค การตัดสิทธิ และต้องกล้าหาญพูด แสดงออกให้มากกว่าเดิมด้วย โดยไม่หมกมุ่นอยู่กับการนับวันเวลากลับมาเป็น ส.ส.ใหม่

 

ส.ส.แบบราชการ เมื่อเกิดรัฐประหาร จะแยกย้ายกลับบ้าน ไปพักผ่อน ไปทำธุรกิจ ปล่อยให้ประชาชนสู้กับคณะรัฐประหาร จนเมื่อกลับสู่การเลือกตั้ง พวกเขาก็จะกลับมาใหม่ บางคนก็ย้ายไปร่วมกับพรรคทหารสืบทอดอำนาจ

 

แต่ ส.ส.แบบปฏิวัติ เมื่อเกิดรัฐประหาร ต้องออกมาต่อต้านเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน แล้วรวมตัวกันเปิดประชุมสภากันเองเพื่อยืนยันว่ายังคงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ถืออำนาจอธิปไตยกับประชาชน แย่งชิงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแข่งกับคณะรัฐประหาร

Bureaucrat MP เหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยต้องการ Revolutionary MP !!!

 

#TheStructureNews

#ปิยบุตรแสงกนกกุล #ปฏิวัติ #คณะก้าวหน้า #พรรคก้าวไกล

อ้างอิง :

https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/pfbid0fYMThW4Go33f8KQJcirCrCvgSDS6kTjx8SMUh3DPEdjQf34Gs1GkXfmdqVAvjYJul

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า