Newsเลี่ยงภาษีหรือไม่ ? ชูวิทย์ หอบเอกสารร้องเรียนอธิบดีสรรพากร ‘แสนสิริ’ ซื้อที่ดินแปลงเดียวผู้ขาย 12 คน เชื่อ มีเจตนาช่วยผู้ขายเลี่ยงภาษี 512 ล้าน

เลี่ยงภาษีหรือไม่ ? ชูวิทย์ หอบเอกสารร้องเรียนอธิบดีสรรพากร ‘แสนสิริ’ ซื้อที่ดินแปลงเดียวผู้ขาย 12 คน เชื่อ มีเจตนาช่วยผู้ขายเลี่ยงภาษี 512 ล้าน

วันนี้ (4 ส.ค. 66) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เดินทางมายังกรมสรรพากร สำนักงานใหญ่ เพื่อยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมสรรพากร ขอให้ตรวจสอบการเสียภาษีอากรกรณีการซื้อขายที่ดินระหว่าง บริษัท แสนสิริ จํากัด (มหาชน) ผู้ซื้อ และนางประไพ ชินพิลาศ กับพวกซึ่งเป็นผู้ขาย 

 

พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน เช่น สําเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 16515 ขนาด 0-3-99.7 ไร่ ถ.สารสิน, สําเนาคัดย่อรายงานการประชุมอนุมัติการซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 16515 จํานวน 12 ฉบับ ลงลายมือชื่อรับรองโดยนายเศรษฐา ทวีสิน และเอกสารหลักฐานการโอนที่ดิน การซื้อขายอีกหลายรายการ

 

นายชูวิทย์กล่าวว่า  ตนได้พบหลักฐานการชําระภาษีที่ดินที่ผิดปกติในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับดังกล่าว โดยเมื่อปี 62 บริษัท แสนสิริ จํากัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดินตามโฉนดหมายเลข 16515 ขนาดพื้นที่ 0-3-99.7 ไร่ บนถนนสารสิน จากบุคคลจํานวน 12 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,570,821,000 บาท

 

กลุ่มผู้ขาย ได้รับที่ดินมาจากการจดเลิกกิจการของบริษัทประไพทรัพย์ เมื่อเดือน พ.ย. 61 และแบ่งคืนที่ดินกันตามสัดส่วนหุ้น โดยมิได้ระบุการแบ่งผืนที่ดินกันอย่างชัดเจน อีกทั้งที่ดินผืนดังกล่าวยังติดภาระเช่า จึงถือได้ว่าที่ดินผืนนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์รวม และรับผลประโยชน์รวมกัน ย่อมต้องทำธุรกรรมซื้อขายที่ดินเป็นคณะบุคคล หรือห้างหุ้น ส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตามแนววินิจฉัยกรมสรรพากร อ้างอิงถึงหนังสือตอบข้อหารือ เลขที่ กค 0811/02985 ลงวันที่ 31 มี.ค.2542 

 

ซึ่งกลุ่มผู้ขายทั้ง 12 ราย จะมีภาระต้องชําระ ภาษีและที่ค่าธรรมเนียมที่สํานักงานที่ดิน รวมทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) จากส่วนแบ่งกําไรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 เป็นจํานวนเงินรวมทั้งสิ้น 580,378,106.05 บาท แต่กลุ่มผู้ขายได้ร่วมมือกับ บริษัท แสนสิริฯ ทํานิติกรรมอําพรางเพื่อหลบเลี่ยงภาษีที่พึงชําระอย่างเป็น กระบวนการ

 

จากเอกสารการประชุมคณะกรรมการบริษัท แสนสิริ ครั้งที่ 9/2562 วันที่ 14 ส.ค. 62 วาระ 10.5 เพื่อพิจารณาอนุมัติการซื้อที่ดิน (ระหว่างเช่า) บริเวณถนนสารสิน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อนํามาพัฒนาเป็นโครงการอาคารชุดอยู่อาศัย พบชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมกรรมการรายอื่น ลงมติเอกฉันท์ อนุมัติการซื้อที่ดินดังกล่าว รับรองให้แบ่งการซื้อและการโอนจากผู้ครอบครองที่ดินทั้ง 12 ราย เป็นรายคนตามสัดส่วนหุ้น

 

จากนั้นได้มีการจัดเตรียมสําเนาคัดย่อเฉพาะวาระฯ แยกตามผู้ขายทั้ง 12 ราย เป็นรายคน แล้ว นัดหมายผู้ขายแต่ละรายเพื่อชําระเงินและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดัวกล่าวที่ สํานักงานที่ดินเขตพระนคร โดยนัดหมายผู้ขายรายละ 1 คน ใน 1 วัน ต่อเนื่องตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 22 – วันศุกร์ที่ 23 ส.ค., วันจันทร์ที่ 26 – วันศุกร์ที่ 30 ส.ค. และวันจันทร์ที่ 2 – วันศุกร์ที่ 6 ก.ย.62

 

การกระทำดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อให้เข้าใจว่าผู้ขายทั้ง 12 ราย ต่างคนต่างขายที่ดิน เพื่อหลบเลี่ยงการขายที่ดินเป็นหมู่คณะ ทําให้ผู้ขายทั้ง 12 ราย ต่างคนต่างชําระภาษีและค่าธรรมเนียมเฉพาะที่สํานักงานที่ดินฯ เป็นเงินรวมกันเพียง 59,247,317 บาท ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วการขายที่ดินดังกล่าวเข้าลักษณะการขายในรูปแบบคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งผู้ขายทั้ง 12 ราย จะมีภาระค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจากการแบ่งกําไรตามอัตราก้าวหน้าสูงสุดร้อยละ 35

 

จากนั้น วันที่ 24 ก.ย. 62 แสนสิริมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2562 มีมติให้นำที่ดินืนดังกล่าวไปจำนองกับธนาคารกสิกรไทย เพื่อเป็นประกันหนี้สินของ บริษัท แสนสิริฯ อันจะพึงมีต่อบริษัท ธนาคารกสิกรไทยฯ เป็นจํานวนเงิน 1,103,000,000.00 บาท  ซึ่งผิดวิสัยของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่โดยปกติจะชําระเงินมัดจําแก่ผู้ขายเพื่อนําโฉนดที่ดินทั้งแปลงเข้าจดจํานองเป็นหลักประกันเงินกู้กับสถาบันการเงิน และนําเงินกู้จํานวนดังกล่าวมาชําระเป็นค่าที่ดินบางส่วน

 

เนื่องจากการกระทำของผู้ซื้อและผู้ขายจะทําให้สถาบันการเงินทั่วไปไม่สามารถออกแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายแยกเป็นรายคนได้เนื่องจากเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน จึงทําให้ บริษัท แสนสิริฯ จําเป็นต้องสั่งจ่ายเช็ค และเงินสดบางส่วนให้แก่ผู้ขายไปก่อน อันแสดงให้เห็นถึงเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของบริษัท แสนสิริฯ ที่ร่วมกันกับผู้ซื้อในการหลบเลี่ยงค่า ภาษีอากรอันพึงชําระ ส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีที่พึงชําระเป็นเงินทั้งสิ้น 521,130,789.05 บาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า