Newsทารุณกรรมต่อเด็ก ก.พัฒนาสังคมฯ ตอบกลับจดหมายทีม รทสช. ชี้การนำเด็ก 10 ขวบขึ้นเวทีปราศรัยการเมือง เข้าข่ายการทารุณกรรมต่อเด็กและเยาวชน

ทารุณกรรมต่อเด็ก ก.พัฒนาสังคมฯ ตอบกลับจดหมายทีม รทสช. ชี้การนำเด็ก 10 ขวบขึ้นเวทีปราศรัยการเมือง เข้าข่ายการทารุณกรรมต่อเด็กและเยาวชน

 กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมฯ ได้มีหนังสือตอบกลับต่อหนังสือของ นาย ณัฐนันท์ กัลยาศิริ, นาย พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ และนางรัดเกล้า สุวรรณคีรี กรณีเข้ายื่นหนังสือต่อกระทรวงฯ ในวันที่ 11 ส.ค. 2566 เพื่อให้พิจารณาประเด็นที่มีพรรคการเมืองหนึ่ง นำเด็กอายุ 10 ไปขึ้นเวทีปราศรัยทางการเมืองเมื่อวันที่ 9 ก.ค.2566

 

โดยทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ได้ทำหนังสือตอบกลับ ว่าทางกระทรวงพิจารณาแล้วว่าการนำเด็กอายุ 10 ขวบ มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ แต่ต้องปราศจากการชักจูง ครอบงำ หรือการถูกแสวงประโยชน์จากฝ่ายการเมือง 

 

ขณะที่การใช้เด็กเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปราศรัยทางการเมือง ถือว่าเป็น “การกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก” ในรูปแบบหนึ่ง 

 

ส่วนข้อเสนอของทั้งสามบุคคลที่ขอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อเพิ่มข้อความในการปกป้องเด็กจากการถูกแสวงประโยชน์จากพรรคการเมือง หรือกลุ่มบุคคลที่มุ่งใช้เด็กเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองนั้น ทางกระทรวงจะได้นำข้อเสนอดังกล่าวไปเสนอให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กในการประชุมครั้งต่อไป

 

โดยเนื้อหาของหนังสือตอบกลับมีดังนี้

 

(1) ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้วางหลักการว่าเด็กมีสิทธิแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ต้องกระทำโดยอิสระเป็นตัวของตนเอง ไม่ใช่ถูกชักจูงมาร่วมกิจกรรมทางการเมือง เพื่อสนับสนุนนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดในเวทีกิจกรรมทางการเมือง ดังนั้น จึงเห็นว่าการชักจูงเด็กมามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองในลักษณะของการครอบงำหรือถูกแสวงหาผลประโยชน์อาจเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ดังนั้น เด็กที่แสดงความเห็นทางการเมือง จึงไม่เข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 26(3) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

 

(2) กรณีการกระทำของเด็กที่ไม่สามารถมีวิจารณญาณและไม่สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้ไปพูดปราศรัยบนเวทีเกี่ยวกับความคิดเห็นด้านการเมืองของพรรคการเมืองด้วยการครอบงำของกลุ่มบุคคลโดยในลักษณะดังกล่าวเห็นได้ว่าเด็กอาจเป็นผู้ได้รับความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทางด้านจิตใจ ด้านความวิตกกังวลและความเครียด หรืออาจถูกปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรุนแรง ซึ่งถือได้ว่าการนำเด็กเข้ามาร่วมกิจกรรมทางการเมืองขึ้นเวทีปราศรัย เป็นการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่ในการสืบเสาะและแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและให้คำแนะนำเพื่อชี้แนะแนวทางกับผู้ปกครองของเด็กเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูและสั่งสอนเด็กที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. 2549

 

(3) กรณีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ. 2549 ด้วยการเพิ่มข้อความในข้อ 4 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ดังนี้ “เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจตกเป็นเครื่องมือจากการแสวงผลประโยชน์ทางการเมือง” กรณีดังกล่าว กรมกิจการเด็กและเยาวชน ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะอนุกรรมการ ฯ จะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวเสนอให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบ นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า