Newsครม. เห็นชอบ “ร่างถ้อยแถลงไทย-จีน” เพื่อการมีอนาคตร่วมกันอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ครม. เห็นชอบ “ร่างถ้อยแถลงไทย-จีน” เพื่อการมีอนาคตร่วมกันอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ที่ประชุมครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมไทย-จีน สู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น

 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย – จีน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมซึ่งเป็นข้อหารือราชการระหว่างกันโดยไม่มีการลงนาม ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นายสี จิ้นผิง ช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 17 – 19 พ.ย. 2565

 

ร่างถ้อยแถลงร่วมมีประเด็นข้อราชการที่สำคัญ อาทิ

1.การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ะหว่างไทยกับจีน ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านในปี 2565 นี้ และการเตรียมการสู่การครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ในปี 2568

 

2.การย้ำท่าทีทางการเมืองในการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน

 

3.การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง รวมถึงการขับเคลื่อนแนวคิดการสร้างระเบียงการพัฒนาความเชื่อมโยงไทย – ลาว – จีน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของไทยกับกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีของจีน โดยเฉพาะสาขาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า

 

4.การส่งเสริมความร่วมมือในด้านอื่น ๆ อาทิ สาธารณสุข การลดความยากจนและการพัฒนาชนบท และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะยาเสพติด การพนันออนไลน์ และขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์

 

5.การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน การกลับมาทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศไทยกับจีน ร่วมมือกันฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง และเพิ่มความร่วมมือด้านการศึกษาวัฒนธรรม สื่อ และข้อมูลข่าวสาร

 

“ร่างถ้อยแถลงระบุถึงการดำเนินการร่วมกันตามแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย – จีน พ.ศ.2565 – 2569 และแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งวันนี้ ครม.มีมติเห็นชอบเอกสารทั้ง 2 ฉบับเช่นกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ฉบับแรก คือ แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย – จีน พ.ศ.2565 – 2569 นี้ เป็นแผนฉบับที่ 4 ที่ทั้งสองฝ่ายร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินความสัมพันธ์และกรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในระยะ 5 ปี” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

 

สำหรับกรอบความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกันใน 18 สาขา อาทิ 1.การเมือง เช่น ฝ่ายจีนเคารพเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย 2.การทหารและความมั่นคง เช่น แลกเปลี่ยนการเยือนและการหารือในทุกระดับระหว่างกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย  3.เศรษฐกิจการค้าและการลงทุน  เช่น ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการค้า อำนวย ความสะดวกทางการค้า ประสานและวางแผนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเชียน – จีน เสริมสร้างการประสานระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย กับกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า (GBA) ของจีน 4.เกษตรกรรม เช่น เพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการเกษตร อำนวยความสะดวกการนำเข้าผลไม้ กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในประเด็นเกษตรอัจฉริยะ เกษตรสีเขียว เทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรมทางการเกษตร ความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร

 

ฉบับที่สอง คือ แผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ อาทิ เพื่อให้การพัฒนามีมาตรฐานสูง มีความยั่งยืน และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือสายแถบและเส้นทางที่มีคุณภาพสูง ส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละฝ่าย เพิ่มพูนความร่วมมือด้านรถไฟ ทางหลวง การขนส่งทางทะเล ท่าอากาศยาน พลังงาน การสื่อสาร อวกาศ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มการอำนวยความสะดวกในการลงทุน การค้า และพิธีการทางศุลกากร โดยขับเคลื่อนความร่วมมือใน 5 สาขา ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ได้แก่ การประสานนโยบาย การเชื่อมโยงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การค้าอย่างไร้อุปสรรค การบูรณาการทางการเงิน และตความสัมพันธ์ในระดับประชาชน

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า