Newsชัยชนะของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชนร่วมฟ้องศาลปกครอง บีบภาครัฐให้เร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ศาลปกครองตัดสินให้ประชาชนชนะคดี

ชัยชนะของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชนร่วมฟ้องศาลปกครอง บีบภาครัฐให้เร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ศาลปกครองตัดสินให้ประชาชนชนะคดี

 

สืบเนื่องจากคดีปกครองหมายเลขดำที่ ส.6/2565 ซึ่งมีมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ ประเทศไทย, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, สภาลมหายใจเชียงใหม่, สภาลมหายใจ-ภาคเหนือ, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และนางสาวนันทิชา โอเจริญชัย ผู้ร่วมก่อตั้ง Climate Strike Thailand เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องต่อศาลปกครอง โดยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นจำเลย

ขอใช้อำนาจศาลปกครอง ให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM2.5 และคุ้มครองสิทธิการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน โดยประเด็นในคำฟ้องมีดังนี้

1 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแก้ไขประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (WHO-IT3) คือให้มีค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

2 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดและเทียบเท่ามาตรฐานสากล

3 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกหรือแก้ไขประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดและเทียบเท่ามาตรฐานสากล

4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register) และมีการกำหนดให้ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน อยู่ในบัญชีมลพิษและสารเคมีเป้าหมาย

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 66 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1 ให้หน่วยงานรัฐดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM 2.5 โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register: PRTR) ภายใน 60 วันนับแต่คดีถึงที่สุด

 

2 ประเด็นการปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) สืบเนื่องจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีการประกาศปรับค่ามาตรฐานแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 หลังจากภาคประชาชนฟ้องเร่งรัดคดีนี้เพียง 3 เดือน จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดคำบังคับในประเด็นนี้


3 ยกฟ้องในประเด็นการออกหรือแก้ไขประกาศกำหนดค่ามาตรฐานสารเจือปน ฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นอำนาจของฝ่ายปกครองในการพิจารณา ที่ศาลไม่อาจก้าวล่วง

ภายหลังการอ่านคำพิพากษา นายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำตัดสินของศาลปกครอง ถือเป็นการวางมาตรฐานคดีด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยในวงกว้าง ซึ่งจะติดตามตรวจสอบให้รัฐมีมาตรการที่ชัดเจนในการลดฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป 

 

และจัดทำกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษหรือ PRTR ให้เป็นไปตามคำพิพากษา สำหรับบางประเด็นที่ศาลยกฟ้อง สามารถยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน โดยจะทำการปรึกษากับภาคประชาสังคมในการอุทธรณ์ต่อไป

 

ดร.เดชรัต กล่าวว่า นี่เป็นการสร้างบรรทัดฐานให้กับหน่วยงานรัฐ ว่าไม่สามารถละเลยผลกระทบหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นที่กระทบต่อประชาชนได้อีกต่อไป ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะมองว่าตนเองได้ใช้หน้าที่ตามขอบเขตที่มีอยู่แล้ว ผลการตัดสินจะส่งผลให้หน่วยงานรัฐทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้น อาจจะถูกภาคประชาชนฟ้องร้องดำเนินคดีอีกได้



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า