Newsจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไทยนำก๊าซจากอ่าวไทยทั้งหมดไปผลิตไฟฟ้า

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไทยนำก๊าซจากอ่าวไทยทั้งหมดไปผลิตไฟฟ้า

ในช่วงหน้าร้อนที่คนไทย ทำให้บิลค่าไฟของพวกเรานั้นแพงขึ้น หลายคนที่เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าของไทย และอาจจะทราบได้ว่านอกจากก๊าซธรรมชาติจะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้า แต่ก็ยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น ๆ โดยเฉพาะพลาสติก

.

บางคนจึงอาจมีข้อสงสัยว่า ทำไมเราจึงไม่นำก๊าซทั้งหมดที่ขุดมาได้ในอ่าวไทย มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อเอื้อให้ค่าไฟถูกลงในที่สุด และไม่เอื้อต่อธุรกิจปิโตรเคมี?

.

อย่างแรกอาจจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าปิโตรเลียมที่ขุดได้นั้นคือสารเคมีที่เรียกว่า “ไฮโดรคาร์บอน” โดยจะเรียกชื่อต่างกันคือ มีเทน (methane), อีเทน (ethane), โพรเพน (propane), บิวเทน (butane), และ เพนเทน (pentane) ฯลฯ ไล่ไปลำดับตามจำนวนอะตอมคาร์บอน ซึ่งเหล่านี้ก็คือก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่เมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนและไฮโดรเจนที่มีพันธะยาวขึ้น ก็จะอยู่ในรูปของของเหลว นั่นก็คือ น้ำมัน นั่นเอง

.

โดยสารไฮโดรคาร์บอนแต่ละรูปแบบที่ถูกขุดขึ้นมาได้นั้น ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีที่แตกต่างกันไป แต่ละประเภทจึงเหมาะสมกับการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน

.

มีคำบอกเล่าถึงคำพูดของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยกำลังพัฒนาว่า “อย่าได้โง่เอาไม้สักไปเผาเป็นฟืน” โดยคำพูดนี้เป็นการสะท้อนว่าคุณสมบัติที่เฉพาะตัวของก๊าซธรรมชาติแต่ละแบบที่ขุดได้ในไทยนั้น ควรเอาไปทำเป็นผลผลิตอื่น ๆ ตามความเหมาะสมมากกว่าจะเอามาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพียงอย่างเดียว

.

แม้เช่นนั้น ในปัจจุบัน สัดส่วนการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ก็ยังมีการใช้ผลิตไฟฟ้ามากกว่าการใช้งานอื่น ๆ กล่าวคือ

– 59% ใช้ผลิตไฟฟ้า

– 19% ใช้ในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม

– 19% ถูกนำไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในกระบวนการผลิตของภาคปิโตรเคมี

– 3% ใช้ในภาคการขนส่ง (NGV)

.

โดยในส่วนของการใช้ผลิตไฟฟ้านั้น ด้วยความที่ประเทศไทยมีการบริโภคไฟฟ้าที่มาก จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติต่างประเทศเข้ามาด้วย

.

ในขณะเดียวกันส่วนที่นำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีนั้น ก็ไม่เพียงแต่จะเป็นการจัดสรรเพื่อใช้ตามความเหมาะสม แต่ยังนำไปสู่การเพิ่มมูลค่า เช่น ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยและวัสดุทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งจะสร้าง productivity ให้ประเทศ สร้างเม็ดเงิน ในเศรษฐกิจ และสร้างงานให้ประชาชนอีกด้วย

.

การจัดสรรเช่นนี้ จึงมีความเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มากกว่าการนำก๊าซทั้งหมดไปผลิตไฟฟ้าอย่างเดียวโดยไม่สนใจประโยชน์อื่น ๆ ของมัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า