Newsคาด APEC 2022-APEC CEO 2022 พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ภาคเอกชนเห็นพ้องนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คาดใน 3-5 ปี เกิดประโยชน์ 5-6 แสนล้านบาท

คาด APEC 2022-APEC CEO 2022 พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ภาคเอกชนเห็นพ้องนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คาดใน 3-5 ปี เกิดประโยชน์ 5-6 แสนล้านบาท

ภาคเอกชน สรุปผลเวที  APEC 2022 – APEC CEO Summit 2022 เห็นพ้องนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม เป็นโอกาสเศรษฐกิจไทยฟื้น

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวสรุปภาพรวมการจัดงาน ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29  เห็นพ้องกับการนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุมพร้อมรับมือความท้าทายในอนาคตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม 3 ข้อตามที่ไทยตั้งเป้าได้แก่ 

 

1.การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกในบริบทหลังโควิด-19 โดยมีแผนงานการขับเคลื่อนการหารือที่ต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ.2023-2026 เพื่อให้เอเปคสามารถเดินหน้าได้อย่างชัดเจน

 

2.การฟื้นฟูการเดินทางข้ามพรมแดนที่สะดวกปลอดภัย โดยคณะทำงานเฉพาะกิจที่ไทยเป็นประธานได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้เอเปคมีกลไกและแนวทางการรับมือกับความท้าทายในอนาคต 

 

3.การรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนฉบับแรกของเอเปค โดยเน้นเป้าหมายหลัก 4 ข้อ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยได้เปิดตัวเว็บไซต์www.bangkokgoals.apec.org รวบรวมแนวปฏิบัติที่และข้อริเริ่มของสมาชิกเอเปคเป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้สนใจ 

 

ส่วน เวที APEC CEO Summit 2022 ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนาน ได้บทสรุปสอดคล้องกับที่ประชุม APEC 2022 โดยผู้นำภาครัฐและภาคธุรกิจที่เข้าร่วม ต่างเห็นพ้องกันว่าสมาชิกเอเปคจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  ใน 3 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) การเติบโตอย่างครอบคลุม (Inclusive Growth) และความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาค (Regional Partnership) รวมถึงการแก้ปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจปี 2023-2024 (Economic Recession) โดยเน้นสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งทั้งในและนอกภูมิภาค 

 

การเป็นเจ้าภาพของไทยในการประชุมครั้งนี้ จะส่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า มูลค่ารวม 5-6 แสนล้านบาท โดยในระยะสั้น ภายใน 3-6 เดือน การสร้างภาพลักษณ์และ Soft Power ซึ่งเป็นการส่งสริมการท่องเที่ยวของไทย จะช่วยให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1-2 แสนคน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาท สร้างความเข้าใจที่มากขึ้นให้นักลงทุนต่างประเทศ ที่มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรม BCG พลังงาน  ยานยนต์ไฟฟ้าเศรษฐกิจดิจิทัล และอุตสาหกรรมบริการ เช่น ท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสุขภาพ เป็นตัน 

 

ส่วนประโยชน์ระยะยาว คาดว่าจะสร้างการลงทุน FDI มูลค่าประมาณ 6 แสนล้านบาท ภายใน 3-5 ปี จากการค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างไทยกับนานาประเทศ โดยเฉพาะจีนและซาอุดีอาระเบียและกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Corporation Council-GCC) 6 ประเทศ   

 

ขณะที่การเสวนาในหัวข้อ “มุมมองในอนาคตของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) : การต่อยอดและภาคเอกชนจะเดินหน้าอย่างไร”  โดยมี นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน และประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,  นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 (APEC Business Advisory Council-ABAC), นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และ ดร.พจน์ อร่าม วัฒนานนท์  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และ ประธานจัดงาน APEC CEO SUMMIT  เข้าร่วม ต่างเห็นพ้องว่า การจัดงาน APEC ในครั้งนี้สร้างโอกาสและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ถือเป็นโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย  

 

และเป็นโอกาสสำคัญกับหลาย ๆ Sector อาทิ ภาคการค้าและการลงทุน จะเกิดการจ้างงาน เกิดการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้กับคนไทย รวมถึงการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีขั้นสูง  การดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวก็ได้รับอานิสงส์เช่นกัน เชื่อว่าในปี 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มมากขึ้นกว่าปีนี้เป็นเท่าตัว และจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มเติมอีกในปีหน้า ซึ่งจะทำให้ภาคท่องเที่ยวและบริการของไทยฟื้นตัวขึ้นได้อย่างโดดเด่น  ดังนั้นเราจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน  ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  

 

นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องว่า แนวคิดเศรษฐกิจ BCG เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนกับทุกภาคส่วน  ไม่วาจะเป็นด้านเกษตร ท่องเที่ยว สินค้าออแกนิกส์ หรือสิ่งแวดล้ม ซึ่งเชื่อว่าคนไทยจะได้ประโยชน์  ขณะนี้ทั้งโลกพูดถึง ESG ถือเป็นกรอบ แต่ BCG เป็นสิ่งที่ทำได้จริง และจะเห็นในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า