Newsกรมการค้าต่างประเทศ กางแผนปี 66 เดินหน้าขาย “ข้าว-มันสำปะหลัง” พร้อมคุมเข้มมาตรฐานส่งออก-นำเข้า ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยขึ้น

กรมการค้าต่างประเทศ กางแผนปี 66 เดินหน้าขาย “ข้าว-มันสำปะหลัง” พร้อมคุมเข้มมาตรฐานส่งออก-นำเข้า ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยขึ้น

กรมการค้าต่างประเทศ กางแผนปี 66 เน้นผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญ เดินหน้าขาย “ข้าว-มันสำปะหลัง” 


นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยถึงแผนการทำงานในปี 2566 ว่า ภารกิจสำคัญที่กรมฯ จะเร่งขับเคลื่อน ก็คือ การผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะข้าว จะเร่งผลักดันและจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดข้าวไทยตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้ใช้นโยบายรัฐหนุน เอกชนนำ เพื่อรักษาและขยายตลาดในกลุ่มลูกค้าเดิมและแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ 

 

และมีแผนจัดงานประชุมข้าวนานาชาติ (Thailand Rice Convention 2023) ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการค้าข้าวโลกเดินทางมาประชุมสัมมนาวิชาการ และเจรจาธุรกิจ อีกทั้งยังมีแผนการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้าวไทย โดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ เช่น งาน BIOFACH ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี งาน GULFFOOD 2023 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งาน FOODEX 2023 ณ ประเทศญี่ปุ่น งาน China – ASEAN Expo ครั้งที่ 20 (CAEXPO) 2023 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และงาน Fine Food 2023 ณ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

สำหรับสินค้ามันสำปะหลัง มีแผนขยายตลาดเดิม คือ จีน ตลาดเก่า เน้นยุโรป และตลาดใหม่ เน้นตุรกี นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดีอาระเบีย ผ่านกิจกรรมในรูปแบบ Online และ Onsite รวมถึงการเชิญกลุ่มผู้นำเข้ามาเข้าร่วมงานมันสำปะหลังโลก ปี 2566 (World Tapioca Conference 2023) ณ จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนก.พ.2566 และยังมีแผนเร่งผลักดันการส่งออกพลาสติกชีวภาพ โดยตั้งเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากมันสำปะหลังไปยังต่างประเทศมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ในปี 2567 ซึ่งมีสินค้านำร่อง คือ เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช (Thermoplastic starch: TPS) และผลักดันการส่งออกแป้งฟลาวมันสำปะหลังปลอดกลูเตนไปยังตลาดที่มีศักยภาพ เช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังจะให้ความสำคัญกับการคุมเข้มมาตรฐานสินค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่ไทยส่งออก-นำเข้า เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า โดยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับดูแลมาตรฐานสินค้าส่งออกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลทั้ง 9 ชนิด (ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำ แป้งมันสำปะหลัง ปุยนุ่น ปลาป่น และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง) และกำกับดูแลมาตรฐานสินค้านำเข้า ซึ่งสินค้าสำคัญที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล คือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่นำเข้าตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา และไทย – สปป.ลาว 


ในด้านการค้าชายแดน จะผลักดันให้มีการเปิดด่านการค้าไทย-ประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงต้นปี 2566 จะจัดคณะเจรจาผลักดันเปิดด่านชายแดนไทย-สปป.ลาว ที่ยังไม่เปิดทำการ และอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าชายแดนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าอย่างเป็นรูปธรรม และยังมีแผนดำเนินงานโครงการขยายการค้าการลงทุนชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการจัดมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ช่วงม.ค.-มี.ค.2566 มหกรรมการค้าชายแดน ณ จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ด้านลาว (จังหวัดเชียงราย หรือตาก หรือหนองคาย หรือมุกดาหาร หรือนครพนม) และด้านเมียนมา/ด้านกัมพูชา (จังหวัดกาญจนบุรี หรือสระแก้ว หรือตราด)

ขณะเดียวกัน จะนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในงานบริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้าสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ การพัฒนาระบบการให้บริการการขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐาน การอนุญาตผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (บริษัท Survey) และผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (Surveyor) รวมถึงการต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถชำระเงินและพิมพ์ใบทะเบียนและใบอนุญาตในรูปแบบที่ผู้ขอรับบริการไม่ต้องเดินทางมาติดต่อเจ้าหน้าที่ และจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้า (มส. 24) และการรายงานการส่งออก (มส. 25) กับกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ 


นอกจากนี้ กรมฯ ยังจะปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยและให้มีความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น โดยจะทบทวนกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่น พ.ร.บ.การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.TCWMD) พ.ร.บ.ว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. AD-CVD) เป็นต้น

พร้อมทั้ง จะเร่งรัดการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงต่าง ๆ เช่น FTA และ RCEP เป็นต้น เพื่อสร้างแต้มต่อทางการค้า ลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า