Articlesกฎหมายควบคุม NGOs เป็นกฎหมายที่ “ประเทศประชาธิปไตย” ทั่วโลกประกาศใช้

กฎหมายควบคุม NGOs เป็นกฎหมายที่ “ประเทศประชาธิปไตย” ทั่วโลกประกาศใช้

นับตั้งแต่มีร่าง “พระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์การไม่แสวงหากำไร” ออกมา โดยมีจุดประสงค์คือการให้องค์กรไม่แสวงหากำไร ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรนั้น เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ แหล่งที่มาของเงินทุน และรายชื่อผู้รับผิดชอบ รวมทั้งกำหนดข้อห้ามบางอย่างเช่น ห้ามไม่ให้ดำเนินงานที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ฯลฯ โดยเหตุผลที่สำคัญคือการทำให้องค์กรเหล่านี้มีความโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานสากลว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ป้องกันการสนับสนุนด้านการเงินในการต่อต้านการก่อการร้าย [1]

เป็นที่แน่นอนว่าทางองค์กรไม่แสวงหากำไรเช่นเอ็นจีโอ (NGOs) ก็ออกมาคัดค้านเต็มไปหมด โดยข้อกล่าวหาหนึ่งที่เขาอ้างคือทำให้ประเทศไทยเป็นเผด็จการ [2]

นอกจากนี้ จอห์น อึ้งภากรณ์ ผู้อำนวยการของ ไอ-ลอว์ ซึ่งก็เป็นเอ็นจีโอที่รับเงินจากต่างชาติเป็นหลัก เช่น รัฐบาลอเมริกา ยืนยันว่าต่างชาตินั้นแทรกแซงไม่ได้เพราะเขาออกแบบกิจกรรมเอง แต่ ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติก็กล่าวว่าถ้าทางผู้ให้เงินเขาขอมา เอ็นจีโอก็กล้าทำได้ถ้าไม่ฝืนเกิน ดังนั้นการรับเงินจากต่างชาติขององค์กรไม่แสวงหากำไรจึงมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงเสมอ [3]

ไม่ว่าใครจะอ้างยังไงก็ตาม และดูเหมือนต่างประเทศก็คิดไม่ต่างกันแม้ในประเทศประชาธิปไตย แต่มีกี่ประเทศและประเทศไหนบ้างที่มีกฎหมายลักษณะนี้

จากการค้นคว้าพบว่านับตั้งแต่ปี 1998-2015 มีประเทศที่ออกกฎหมายควบคุม NGOs รับเงินต่างชาติโดยตรงถึง 60 ประเทศ ซึ่งมีทั้งประเทศที่เป็นและไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น จีน รัสเซีย แคนาดา อิสราเอล นอกจากนี้ก็ยังมีประเทศที่ควบคุมทางอ้อมใช้กฎหมายการเงินควบคุม เช่น อเมริกา อินเดีย [4] [5]

สงสัยไหมว่า แล้วประเทศประชาธิปไตยเหล่านี้เขาคุมเหล่าเอ็นจีโอกันยังไง เราจะลองยกตัวอย่างบางประเทศให้ดู

สหรัฐอเมริกา

มีกฎหมายที่ชื่อว่า Foreign Agents Registration Act of 1938 หรือย่อ ๆ ว่า FARA ซึ่งใช้กับทั้งคนและองค์กร ที่รับเงินต่างชาติไม่ว่าจากพรรคการเมือง บุคคลส่วนตัวหรือองค์กรใด ๆ ที่เป็นของต่างชาติ โดยกฎหมายบังคับให้ตัวผู้รับเงินต้องแสดงถึงสัญญา รายละเอียดต่าง ๆระหว่างผู้รับและผู้ให้เงินให้แก่สถาบันอัยการของรัฐ และเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย นอกจากนี้เอกสารและข้อมูลทุกอย่างต้องมีการแจ้งว่ารับเงินจากต่างชาติแก่สาธารณะ และตัวผู้รับเงินเองต้องเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้อัยการรัฐตรวจสอบย้อนหลังได้ ฝ่าฝืนอาจติดคุกสูงถึง 5 ปี หรือ ปรับสูงถึง $250,000 (ประมาณแปดล้านบาท) หรือทั้งจำและปรับ [6]

อินเดีย

คล้ายกับอเมริกาคือไม่มีกฎหมายคุมเฉพาะแต่ใช้การควบคุมการรับเงินจากต่างชาติ โดยกฎหมายที่ชื่อว่า The Foreign Contribution (Regulation) Act 2010 โดยบังคับให้บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่มีโครงการทางศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และรับเงินต่างชาติต้องจดทะเบียนขอใบอนุญาตกับกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้อินเดียเห็นว่าเอ็นจีโอเหล่านี้สร้างความแตกแยกในชาติจึงมีการเพิกถอนใบอนุญาตไปครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 หลายหมื่นราย [7] [8]

ฮังการี

ฮังการีมีกฎหมายที่ใช้ควบคุมองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรโดยตรงคือ Law No LXXVI of 2017 on the Transparency of Organisations which receive Support from Abroad (สั้นๆคือ Lex CEU) ซึ่งมีการแก้ไขใหม่เมื่อปีที่แล้ว โดยหลัก ๆ คือเอ็นจีโอทางด้านสังคมจะต้องยอมให้สำนักตรวจเงินแผ่นดินตรวจเงินที่ได้รับบริจาคมาได้หากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด [9]

อิสราเอล

NGOs transparency Law ของอิสราเอลนั้น อนุญาตให้เอ็นจีโอรับเงินจากต่างชาติได้ แต่บังคับให้เอ็นจีโอต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินที่มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรแบบไหนก็ตาม ฝ่าฝืนที่โทษทั้งจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ [10]

แคนาดา

แคนดานาไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง แต่จะถูกควบคุมเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยจากการแก้กฎหมายโดย Election Modernization Act ในปี 2561 กฎหมายบังคับทั้งองค์กรและรายบุคคล แม้จะอยู่ต่างประเทศ ไม่ให้รับเงินไปใช้ในกิจกรรมทางการเมือง และที่อาจส่งผลต่อการเลือกตั้งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การโฆษณาหาเสียง การทำโพล การโจมตีคู่แข่ง การขายพื้นที่โฆษณาให้ โดยหากฝ่าฝืนอาจจำคุกสูงสุดถึง5 ปี หรือปรับสูงถึง $50000 (ประมาณ 1,200,000 บาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ [11]

นอกจากนี้ตอนนี้ประเทศโปร์แลนด์ก็กำลังออกกฎหมายที่ใช้ควบคุมเอ็นจีโอเช่นกัน โดยจะมีเนื้อหาคล้าย ๆ กับกฎหมายของฮังการี [9]

จะเห็นได้ว่าแม้ประเทศประชาธิปไตยที่เจริญหลาย ๆ ประเทศนั้น ก็ต่างมีกฎหมายที่ควบคุมเอ็นจีโอของตัวเองทั้งนั้น มันเป็นเรื่องปกติที่กิจกรรมใดๆหากไม่มีการควบคุมก็จะกลายเป็นช่องโหว่ให้ทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการเปิดเผยรายรับ ถือเป็นธรรมาภิบาลของทุกองค์กรที่ควรต้องทำเพราะความโปร่งใสนั้นถือเป็นหลักสำคัญตามระบอบประชาธิปไตย หากเอ็นจีโอที่อ้างว่าสู้เพื่อประชาธิปไตยแต่ปฏิเสธหลักการของประชาธิปไตยเสียเอง มันก็คงจะเป็นองค์กรที่ไม่น่าเชื่อถือ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า