Newsจ่อยกศูนย์ศึกษาธรรมชาติ กองทัพบก เป็นมรดกอาเซียน เป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งศึกษา ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชน

จ่อยกศูนย์ศึกษาธรรมชาติ กองทัพบก เป็นมรดกอาเซียน เป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งศึกษา ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชน

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP)

 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กห. รายงานว่า ในการประชุม คกก. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 1/2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน 

 

และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำเสนอ (ร่าง) เอกสารการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเสนอต่อศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) เพื่อดำเนินการตามกระบวนการของอาเซียน 

 

โดยพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ประมาณ 411 ไร่ จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทัพบกกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย 

 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 72 พรรษา แห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิมและเพิ่มพื้นที่ป่า (ชายเลน) พื้นที่อ่าวไทยตอนใน ตลอดจนใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน โดยเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน

 

ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังคงความสมบูรณ์ทางนิเวศ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ตลอดจนสามารถให้ประโยชน์เชิงสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เครือข่ายนกน้ำอพยพและแนวกันชนที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ คลื่นลมและอิทธิพลจากน้ำทะเลควบคู่ไปด้วย

 

ทั้งนี้ ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งในมิติด้านความมั่นคงยุคสมัยใหม่ ซึ่งองค์การสหประชาชาติให้ความสำคัญ เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้นั้น ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับผลวัตรด้านสันติภาพ และความมั่นคงด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า