Newsภาครัฐและเอกชนร่วมสนับสนุน ทัพนักกีฬาไทยยังมั่นใจ แม้เจ้าภาพซีเกมส์ส่อพฤติกรรมป่วน

ภาครัฐและเอกชนร่วมสนับสนุน ทัพนักกีฬาไทยยังมั่นใจ แม้เจ้าภาพซีเกมส์ส่อพฤติกรรมป่วน

ถือว่ามีประเด็นให้เป็นข่าวได้ตลอด กับการเป็นเจ้าภาพของประเทศกัมพูชา ในการจัดงานแข่งขันกีฬาของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEA Games ที่จะจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

 

ตั้งแต่กรณีการเปลี่ยนชื่อกีฬา “มวยไทย” มาเป็น “กุนขแมร์” ซึ่งคงกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ภายใต้ปรากฏการณ์ “เคลมโบเดีย” ที่ทั้งประชาชนในโลกออนไลน์และภาครัฐของกัมพูชาพยายาม “เคลม” หรือ “อ้างสิทธิ์” ในประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ของประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศไทย ว่า “เป็นของเขมร” หรือ “มาจากเขมร” ซึ่งก็มีการอ้างตั้งแต่สถาปัตยกรรม หรือประเพณี งานเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ จนถึงกีฬาที่ทั่วโลกรับรู้และเรียกว่าเป็นของคนไทย นั่นก็คือ “มวยไทย” ก็โดนไปด้วย

 

เมื่อกลับมาพูดถึงงาน SEA Games การเป็นเจ้าภาพของกัมพูชาในครั้งนี้ ยังมีความผิดปรกติให้เห็นอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนกฎในการแข่งขัน เช่น การแข่งขันฟุตบอลชาย ที่มีการเปลี่ยนกฎด้านอายุของผู้เล่น หรือการเปลี่ยนกฎในคู่มือ (technical handbook) ของกีฬาชนิดต่าง ๆ เช่น ซอฟท์เทนนิส ทำให้ประเทศไทย รวมถึง ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ก็ถูกห้ามส่งนักกีฬาลงแข่งขันตามเงื่อนไขที่มีการปรับเปลี่ยน (ห้ามส่งประเภทชายคู่ กับคู่ผสม)

 

หรือการตัดการแข่งขันชนิดกีฬาออกไป อย่างหมากรุก หรือ Esport ประเภทต่าง ๆ ในขณะที่กีฬาอื่น ๆ เช่น มวยสากล, เรือยาว, เซปักตะกร้อ ก็มีการปรับเปลี่ยนกฎและรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นการสร้างอุปสรรคให้กับทัพนักกีฬา อีกทั้งยังเป็นการตัดโอกาสของประเทศต่าง ๆ ที่จะเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาหลายประเภท

 

อีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับผลกระทบนั่นก็คือ แบดมินตัน ที่ทางกัมพูชามีการเพิ่มประเภทการแข่งขันขึ้น คือประเภททีมผสม แต่กลับกำหนดให้เฉพาะประเทศระดับ เทียร์ 2 คือ กัมพูชา, ลาว, เมียนมา, บรูไน และติมอร์เลสเต เข้าร่วมแข่งขันเท่านั้น ทำให้ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และสิงคโปร์ ไม่สามารถเข้าร่วมได้

 

โดยแบดมินตันนั้นถือเป็นหนึ่งในกีฬาสำคัญที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมแข่งขันและเคยคว้าแชมป์มาแล้วหลายรายการ นับตั้งแต่การคว้าชัยชนะของ เมย์ รัชนก อินทนนท์ ในรายการ India Open ปี 2556 และคว้าแชมป์ในการแข่งขันซูเปอร์ซีรีส์ 3 รายการติดต่อกันในปี 2559 จนมีคะแนนสะสมขึ้นนำเป็นนักแบตมินตันหญิงมือ 1 ของโลกประเภทหญิงเดี่ยวในครั้งนั้น 

 

เรื่อยมาจนถึงรุ่นต่อ ๆ มาคือ นำโดย บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ที่สร้างชื่อเสียงให้ไทยในการแข่งขันแบดมินตันระดับโลกหลายรายการ ตัวอย่างเหล่านี้ คือความสำเร็จที่ทำให้ไทยมีที่ยืนมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับแบดมินตันในเวทีโลก ซึ่งแม้ว่าในงานซีเกมส์นี้อาจจะมีอุปสรรค แต่ก็ยังมีรายการอื่นที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาของไทยเราสามารถแสดงฝีมือให้ชาวไทยและชาวโลกได้เห็น

 

แบดมินตันถือเป็นหนึ่งในหลากหลายกีฬาได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมทั้งจากภาครัฐและเอกชนเสมอ อย่างการแข่งขันแบดมินตันทีมผสมชิงแชมป์เอเชียที่ผ่านมา ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภาคเอกชนอย่าง ปตท. ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของภาคเอกชนที่ให้การต้อนรับและมอบกำลังใจแก่คณะนักกีฬา

 

#TheStructureArticle

#กัมพูชา #ซีเกมส์ #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า