NewsWind Farm กับการผลิตพลังงาน ทำไมยังไม่เป็นที่นิยมในไทย

Wind Farm กับการผลิตพลังงาน ทำไมยังไม่เป็นที่นิยมในไทย

ภาพกังหันลมขนาดใหญ่กลางพื้นที่ธรรมชาติห่างไกลตัวเมือง เรียงตัวกันอยู่บนภูเขาสูงหรือกลางน้ำทะเลอันกว้างใหญ่ คงเป็นสิ่งที่เราเห็นผ่านตากันอยู่หลายครั้ง แน่นอน ทุกคนคงทราบดีว่ากังหันลมเหล่านั้นถูกติดตั้งขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงภาพรวมของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม ว่าทำงานอย่างไรและมีประโยชน์ต่อโลกอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจกัน

 

ในโลกของเราที่กำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งหนึ่งที่เป็นหนทางในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาได้ นั่นก็คือการพยายามหันออกจากการพึ่งพาพลังงานที่มีผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศได้ เช่น น้ำมัน หรือ ถ่านหิน  

 

นี่จึงทำให้มนุษย์คิดค้นวิธีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) โดนทุ่งกังหันลม หรือ ไร่ลม ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Wind Farm นั้นถือเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ และใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก

 

แน่นอนว่าในปัจจุบันโลกเรานั้นยังคงใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หากนับเฉพาะพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก ข้อมูลในปีค.ศ. 2020 พลังงานลมนั้นเป็นที่สองในสัดส่วนการผลิตไฟฟ้ารองจากพลังงานน้ำ

 

ประเทศที่มีการใช้พลังงานลมเป็นพลังงานทดแทนเยอะที่สุดเป็นอันดับแรกนั่นก็คือประเทศจีน อันดับสองคือสหรัฐอเมริกา หรือถ้านับร่วมด้วย ประเทศทั้งหมดในสหภาพยุโรปก็อยู่ร่วมอันดับสอง ต่อมาคือเยอรมัน, อินเดีย, สเปน, สหราชอาณาจักร ตามลำดับ เป็นต้น

 

ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานลมมากที่สุดคือประเทศเดนมาร์ก คือราวครึ่งหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อมาคืออุรุกวัยที่ราว 40%, ไอร์แลนด์ ราว 35%, โปรตุเกส ราว 27% เป็นต้น

 

ในส่วนประเทศไทยนั้น แม้ว่าจะมีการสร้าง Wind Farm ในหลายพื้นที่มากขึ้น เช่น ทุ่งกังหันลมเขาค้อ ทุ่งกังหันลมห้วยบง และทุ่งกังหันลมแหลมฉบัง เป็นต้น และแม้จะมีการบรรจุให้มีเป้าหมายปรับใช้พลังงานลมไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี พ.ศ. 2561-2580 แต่ก็ยังไม่ได้รับความสำคัญเท่าใดนัก เพราะยังมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่อาจจะเป็นอุปสรรค ทั้งจากภาครัฐที่ไร้แรงผลักดันจากภาคประชาสังคม และจากความไม่เชื่อมั่นจากภาคเอกชนในความคุ้มค่าที่จะลงทุน

 

แต่หากประชาชนอย่างเรา ๆ ทุกคนเริ่มหันมาให้ความสนใจมากพอและมีการผลักดันให้เกิดความจริงจังในการปรับใช้พลังงานสะอาดในประเทศได้จริง พลังงานลมก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกเรา

 

#TheStructureArticle

#พลังงานลม #WindPower #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า