นายกจะสั่งเบรค กกพ. ซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนหรือไม่ ? ‘กพช.’ จ่อพิจารณาประกาศรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะเข้าร่วมการประชุม กพช. โดยจะมีการพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการชะลอผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 เพิ่มเติม ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
ซึ่งกรณีนี้นั้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่ กกพ. ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกไปเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 โดยมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น 72 ราย เสนอขายไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 2,145.4 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็น
1 พลังงานลม 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2571-2573
2 พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ พ.ศ.2569-2573
ซึ่งกรณีนี้นั้น ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากการยื่นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร์ โดย เท้ง-ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาชน และเรียกร้องให้นายกฯ ใช้อำนาจในฐานะประธาน กพช. ในการหยุดยั้งการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในโครงการดังกล่าว
อักทั้งก่อนหน้านี้ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และ รมว. พลังงาน ได้ออกมาตอบกระทู้ถามในประเด็นนี้ ตามที่ได้รับการมอบหมายจากนายกฯ โดยกล่าวว่าการรับซื้อมีปัญหาและไม่ถูกต้องจริงๆ ไม่เห็นด้วยกับการกระทำแบบนี้ จึงได้ส่งหนังสือให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อพิจารณายกเลิกการรับซื้อ แต่ กกพ. ไม่รับ
แต่ทั้งนี้ พูลพัฒน์ ลีละสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนี้เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกว่า ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศออกมานั้น ได้มีการสอบถามไปยัง รมว. พลังงานแล้ว และรับคำคัดค้านของ รมว. พลังงานไว้พิจารณา
แต่ทั้งนี้ กกพ. ได้สอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และได้รับแจ้งว่า รมว. ไม่ได้ทำการสอบถามอย่างเป็นทางการ และอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเพียงเพื่อรักษาการตาม พ.ร.บ.เท่านั้น และ กกพ. เป็นองค์กรอิสระ กระทรวงพลังงานไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
แต่ทั้งนี้ ยังมีเวลา 60 วันนับจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก ซึ่งประกาศอาจจะไม่เป็นโมฆะ หากตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดพลาดจะต้องดูว่า ระหว่างนี้จะมีคำสั่งจากรัฐมนตรีออกมาหรือไม่
เนื่องจากว่า กพช. นั้นมีอำนาจสูงกว่า กกพ. และถ้าหากว่า กพช. มีมติให้ชะลอออกไปก่อน กกพ. ก็ต้องปฎิบัติตาม