Newsการเมืองศ.ไชยันต์ถามอานันท์ “ควรจะทำอย่างไร?” หากว่าพรรคการเมืองไม่เห็นว่า สมาชิกของตนทำผิด แต่มีคนอื่นๆเห็นว่าผิด

ศ.ไชยันต์ถามอานันท์ “ควรจะทำอย่างไร?” หากว่าพรรคการเมืองไม่เห็นว่า สมาชิกของตนทำผิด แต่มีคนอื่นๆเห็นว่าผิด

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟสบุ๊กถึง นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมีข้อความว่า

 

“กราบเรียนคุณอานันท์ ปันยารชุน ด้วยความเคารพอย่างสูง

 

ผมได้ชมคลิปที่ท่านให้สัมภาษณ์ล่าสุด (ที่มีการพูดถึงเรื่อง มาตรา 112)  และทราบถึงความเห็นของท่านเกี่ยวกับการให้พรรคการเมืองจัดการดูแลพฤติกรรมของ ส.ส. ในพรรค รวมถึงการให้สภาฯแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก ส.ส. หรือพรรคการเมือง โดยไม่จำเป็นต้อง “ใช้ศาล”  โดยท่านได้ยกตัวอย่าง อังกฤษ และอเมริกา 

 

ผมเห็นด้วยครับว่า โดยเบื้องต้น พรรคและสภาฯควรหารือและหาทางออกด้วยตัวพรรคการเมืองเอง หรือโดยสภาฯ เพราะกฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันได้กำหนดไว้อยู่แล้วด้วย ดังนี้ครับ

 

มาตรา ๒๒ คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่ควบคุมและกกับดูแลมิให้สมาชิกกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคสั่งของคณะกรรมการ

 

มาตรา ๔๕ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ดรงตแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการ หรือส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

 

คำถามหรือปัญหาคือ หากพรรคการเมืองไม่เห็นว่า สมาชิกของตนทำผิด มาตรา 22 และมาตรา 45   แต่มีคนอื่นๆเห็นว่าผิด  


ผมจึงอยากจะกราบเรียนขอคำชี้แนะจากท่านว่า เราควรหาทางออกหรือหาหน่วยงานองค์กรใดเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดในเรื่องสำคัญที่เห็นต่างนี้ครับ  ถ้า “ไม่ใช้” ศาลอย่างที่ท่านกล่าวในการให้สัมภาษณ์

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้คำชี้แนะด้วยครับ

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง


ไชยันต์ ไชยพร


ป.ล. อนึ่ง ผมดีใจมากที่ท่านกล่าวให้ความรู้แก่สังคมในเรื่อง ความเที่ยงธรรม (equity) นอกเหนือจาก ความยุติธรรม (justice) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต้องอาศัย ความซื่อสัตย์ ซื่อตรงในตัวคนเป็นสำคัญโดยภาษาอังกฤษมีคำว่า honesty และ integrity ที่แปลไทยเหมือนกัน แต่จริงๆมันไม่ได้เหมือนกันเป๊ะ


ผมจึงอยากขอความกรุณาให้ท่านช่วยให้ความรู้แก่สังคมถึงความหมายที่เหมือนและต่างกันของ honesty และ integrity ด้วยครับ”



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า