Newsวิวาทะ ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย VS ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธาน กมธ. แก้ไขกฎหมายประมง VS สมชาติ เตชถาวรเจริญ สส. ภูเก็ต พรรคประชาชน 25 ธ.ค. 2567

วิวาทะ ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย VS ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธาน กมธ. แก้ไขกฎหมายประมง VS สมชาติ เตชถาวรเจริญ สส. ภูเก็ต พรรคประชาชน 25 ธ.ค. 2567

สืบเนื่องจากในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปีที่ 2 ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เมื่อวันที่25 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา มีการ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. … หรือ ร่างกฎหมายประมงฉบับใหม่ 

 

โดยที่ประชุมฯ ลงมติเห็นชอบมาตรา 23 ในร่างกฎหมายประมงฉบับใหม่ซึ่งเป็นการแก้ไขมาตรา 69 ในพ.ร.ก. ประมง 2558 ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 239 ไม่เห็นด้วย 28 งดออกเสียง 114 ไม่ลงคะแนนเสียง 2 จากจำนวนผู้ลงมติ 383 คน

 

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้นั้น ปลอดประสพ สุรัสวดี ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขกฎหมาย ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการแก้ไขกฎหมายนี้ว่า

 

“กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถูกร่างโดยการกดดันจากต่างประเทศ และรัฐบาลในสมัยคสช. ก็ต้องทำตามแรงกดดันนั้นจนต้องใช้มาตรา 44. แต่สิ่งที่เราพบคือกฎหมายเดิมรุนแรงเกินกว่าเหตุ กระทบกับทั้งเศรษฐกิจ และสร้างความทุกข์ยากให้กับชาวประมง

 

พอเราเห็นว่าเรื่องนี้ต้องรีบแก้ไขก็เห็นว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่ต้องเป็นกฎหมายของประเทศไทย บริบทต้องสะท้อนประมงแบบไทย ๆ บทลงโทษต้องเหมาะสมกับความเสียหาย ไม่มองชาวประมงเป็นอาชญากร เปิดโอกาสให้ชาวประมงขนาดเล็กได้เจริญเติบใหญ่ขึ้นไป และปกป้องคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลให้มีอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน”

 

อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับนี้นั้น ถือว่ามีประเด็นที่ได้รับเสียงคัดค้านจากชาวประมงพื้นบ้านอย่างรุนแรง โดยมีตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านจากทั่วประเทศราว 50 คน เดินทางคัดค้านที่บริเวณประตูทางเข้าอาคารรัฐสภา 

 

เพื่อคัดค้านการยกเลิกข้อห้ามการใช้อวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตรในเวลากลางคืน โดยกังวลว่าจะเป็นเหตุให้เกิดการสัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน ตัดตอนการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อนก่อนวัยอันควร และทำลายห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศอย่างร้ายแรง

 

“หากมีการประกาศใช้จะกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพี่น้องประมงพื้นบ้าน อาจล้มหายตายจาก ล้มเลิกประกอบอาชีพ ความมั่นคงของอาหารก็อาจจะหายไป 3-5 ปีต่อจากนี้การทำอาชีพประมงอาจจะหายไป สัตว์น้ำอาจจะถึงขั้นสูญพันธุ์ 

 

ส่งผลต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงอยากจะขอฝากไว้ว่าหากสมาชิกกดโหวตเห็นด้วยอาจจะไม่เหลือความมั่นคงอาหารให้กับลูกหลานของเรา” สมชาติ เตชถาวรเจริญ กรรมาธิการฯ และ สส. พรรคประชาชน กล่าว

 

“ที่บอกว่าหากแก้กฎหมายนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับประมงพื้นบ้าน ผมบอกเลยว่าไม่จริง ผมไม่เห็นข้อดีของการนำอวนชนิดนี้มาจับปลาเลย เอาไปใช้กันยุงดีกว่า อย่างไปจับสัตว์น้ำเลย” ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และกรรมาธิการเสียงข้างน้อยกล่าว

 

ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมสภาฯ ปิยะได้โพสต์เฟบุ๊กเพิ่มเติมด้วยว่า “การใช้แสงไฟล่อสัตว์น้ำ แล้วใช้อวนตาถี่เท่ามุ้งล้อม ถ้าทะเลไม่วิบัติ  ก็ต้องเหลือแต่น้ำ และกล่าวด้วยว่าการลงมติในครั้งนี้นั้น ถือได้ว่าเป็นข่าวที่น่าตกใจที่สุดในรอบปีนี้

 

และระบุว่าการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิชาการเพื่อการปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนมาก ไม่ใช่การใช้เล่เหลี่ยมในสภาฯ 

 

ผมขอยืนยัน ด้วยประสบการณ์ ที่อยู่กับทะเล มาทั้งชีวิต การปั่นไฟแล้วล้อม ด้วยอวนถี่เท่ามุ้ง ทะเลจะเหลือแต่น้ำเปล่าๆ ปิยะระบุ





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า