
วิวาทะ ดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ ฟู้ดสไตล์ลิสต์ 24 มิ.ย. 2566 VS Vee Chirasreshtha 31 มี.ค. 2568
สืบเนื่องจาก ดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ ฟู้ดสไตล์ลิสต์ ได้ร่วมงานเสวนา “เปิดภาพหายากและสื่อสิ่งพิมพ์ยุคฉลองรัฐธรรมนูญ” ในงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล “๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์” ที่มติชนอคาเดมี โดยเขากล่าวว่า
“เคยได้ยินคำว่า ‘กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่’ ไหมครับ คือความจริงคนไพร่ก็คือสามัญชนนี่แหละ ไพร่ฟ้าประชาชน คนที่จะกินน้ำตาลได้คือชนชั้นสูง แต่ชาวบ้านเราก็ไม่ได้กินหรอกน้ำตาล เราจะกินแค่ผลไม้ประจำบ้าน น้ำตาลโตนด น้ำตาลอ้อย น้ำตาลมะพร้าว แบบนี้มากกว่า”
และนิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ได้เผยแพร่คำพูดของเขาซึ่งกล่าวบนเวทีดังกล่าว ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในวันที่ 24 มิ.ย. 2566
เมื่อวานนี้ (31 มี.ค. 2568) ผู้ใช้บัญชีเฟสบุ๊ก Vee Chirasreshtha โพสต์แคปชั่นข้างต้น และตอบโต้ว่า
“วลีนี้ ไม่เคยมีปรากฎในประวัติศาสตร์ชาติสยาม แต่มีในสมัย คณะราษฎร
คนไทยโบราณแต่อยุธยา กินของหวานเป็น “ปกติ” บันทึกมีบอกหมดว่าคนสยามมีแม้แต่ ป่าเข้าหนม หรือก็คือ ตลาดขนม ถามว่า ถ้าถึงขนาดที่มีตลาดขายขนม คนสามัญทั่วไปไม่ทานอย่างนั้นหรือ ? แล้วขายใคร ? เพราะในวังเขาก็ทำเอง และไปดูได้เลยว่า ต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาเราส่งออก “น้ำตาล”
ความอยากเป็นชาววังของพวกคณะราษฎร ทำให้เกิด ค่านิยมปลอมนี้ขึ้นมา ในช่วงที่คณะราษฎรเข้ามา มีปัญหาเศรษฐกิจหลายด้าน อาทิ ข้าวยาก หมากแพง (ห้ามขายห้ามกินหมากอีกต่างหาก) เพราะแพ้สงคราม เลยต้องเอาข้าวให้อังกฤษ คณะราษฎรก็พยายามหาทางสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการผลักดัน ธุรกิจ น้ำตาล
พ่อค้าใหญ่รายหนึ่งที่ชลบุรี (จะเอาวันที่ ปี ด้วยไหม 31 ตุลาคม 2475) ขอให้คณะราษฎรสนับสนุนการทำโรงงานน้ำตาลและไร่อ้อย ขอการสนับสนุนจากรัฐด้วยการไม่เก็บภาษี และ ขอไม่ให้มีเจ้าอื่นมาทำแข่งเป็นเวลา 15 ปี (ง่อววววว)
เอาเป็นว่า โครงการนี้ไม่ได้ทำ อ้าว เพราะนานไป แต่เรื่องการผลักดันทำโรงงานน้ำตาลและไร่อ้อย ก็มีมาอย่างต่อเนื่อง (ควรเอ๊ะ นะว่า แล้วข้าวไทยไปไหน ไปถามป.จ้ะ แพ้สงครามเลยต้องส่งข้าวให้อังกฤษปีล่ะกี่ตัน)
เอาเป็นว่าสุดท้ายแล้วก็มีเรื่องล้มลุกคลุกคลานหลายด้าน แต่พวกคณะราษฎรเองนั่นล่ะ ที่ เห็นช่องทาง เลยทำโรงงานน้ำตาลและไร่อ้อยเองเลย (ง่อวววว) อาทิ พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) (ยังเป็นพระยาอีกเหรอแกร ยึดอำนาจมาขนาดนั้น งกฐานันดรนะเลาอ่ะ) ลาออกจากราชการ มาทำโรงงานเองขอรับการสนับสนุนจากรัฐ(คือเอาภาษีนั่นล่ะ)
สรุปความแล้วกันว่า แนวทาง นโยบาย ผลักดันให้คนไทย กินหวานมากขึ้น ก็มาเกิดขึ้นในรัฐบาลคณะราษฎรนี่ล่ะ เพราะตนเองลงทุนกับการผลิตน้ำตาล ประกอบกับภาวะสงครามต่างๆ และ เกรทดีเปรสชั่น คนเริ่มประหยัด ก็เลยต้อง สร้างค่านิยมขึ้น
เดิมนั้นเรื่องรสชาติ อาหารชาวบ้านกับในวัง ต่างกันอยู่แล้วคือ อาหารชาวบ้านที่ รสจัด อาหารแบบเดียวกันในวังก็จะมีรสที่ละมุนกว่า หรืออาจจะพูดได้ด้วยว่า อาหารชาววังนั้น หวานละมุนกว่า ซึ่งก็อาจเป็นที่มาของวลีค่านิยมใหม่ที่สร้างขึ้น
คือ กินคาวไม่กินหวาน อาจจะไม่ได้หมายถึงการกินอาหารคาวแล้วต้องตามด้วยของหวานไปเสียทีเดียวก็เป็นได้ หากแต่หมายรวมถึง อาหารคาว หากไม่มีรสหวานละมุนเสียเลย ก็จะเป็นอาหารอย่างสามัญไป เพราะอะไร เพราะ จะขายน้ำตาลไง สวัสดี
แถมให้แล้วกัน คณะราษฎรนี่ล่ะที่ ออกนโยบายชวนเชื่อให้คนกินน้ำตาล โดยบอกว่า การมีน้ำตาลในอาหารเช้าทำให้ร่างกายแข็งแรง ดวงฤทธิ์ ควรมีความรู้ ก่อนมีความเห็น”
ที่มา: