Newsธปท. เปิดเกณฑ์ตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ใช้เกณฑ์เดียวกับการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เล็งให้ใบอนุญาตนำร่อง 3 ราย

ธปท. เปิดเกณฑ์ตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ใช้เกณฑ์เดียวกับการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เล็งให้ใบอนุญาตนำร่อง 3 ราย

ธปท.เปิดเกณฑ์จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ใช้เกณฑ์เดียวกับการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5 พันล้านบาท มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 8 .5 % จดทะเบียนจัดตั้งที่ไทย ให้บริการเต็มรูปแบบ ใช้เทคโนโลยีให้บริการทางการเงิน เน้นกลุ่มเอสเอ็มอี 

 

ธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน และคุณวิภาวิน พรหมบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท. ) เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน (แนวนโยบาย Financial Landscape) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังให้ภาคการเงินมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

ธปท. ได้จัดทำเอกสารรับฟังความคิดเห็น (consultation paper) เรื่องการเปิดให้มีผู้ให้บริการประเภทใหม่ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การให้บริการดิจิทัล และการใช้ข้อมูลที่หลากหลายมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เข้ามาให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ผ่านช่องทางดิจิทัล ด้วยต้นทุนด้านพนักงาน อาคารและสถานที่ที่ลดลง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดและครบวงจรขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินในราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้บริการรายย่อย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินอย่างเพียงพอหรือตรงความต้องการ

 

ทั้งนี้ เพื่อให้ Virtual Bank ที่จะเปิดให้บริการสามารถพัฒนานวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (responsible innovation) และประกอบธุรกิจในรูปแบบที่ยั่งยืน โดยไม่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันปล่อยสินเชื่อที่ส่งเสริมการก่อหนี้เกินตัว และไม่เอื้อประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องหรือใช้อำนาจตลาดเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง จนกระทบเสถียรภาพระบบการเงิน ผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคในวงกว้างนั้น ธปท. ได้กำหนดแนวทางสำหรับการอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ดังนี้

 

(1) ให้ Virtual Bank สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบ จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5 ล้านบาท เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปได้ 


(2) ผู้ขอจัดตั้ง Virtual Bank จะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม อาทิ มีรูปแบบธุรกิจที่ตอบโจทย์เป้าหมายข้างต้นได้อย่างยั่งยืน มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การให้บริการดิจิทัล และการใช้ข้อมูลที่หลากหลาย

(3) ให้ Virtual Bank ปฏิบัติตามเกณฑ์การกำกับดูแลเช่นเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน โดย ธปท. จะกำกับ Virtual Bank ตามระดับความเสี่ยง โดยต้องดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ขั้นต่ำ 8.5 % ให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมด้านความเสี่ยง (risk culture) รวมถึงความต่อเนื่องในการให้บริการของระบบ IT ประสิทธิภาพในการดูแลลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล และความเหมาะสมของการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก

(4) ให้การดำเนินกิจการในช่วงแรกเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด (phasing) เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างมั่นคงและไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการเงิน

 

โดยขณะนี้มีผู้สนใจขอเข้ามาหารือและขอคำปรึกษาเพื่อสมัครทำธุรกิจแล้วกว่า 10 ราย ซึ่งธปท.จะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ตามเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น โดยจะเปิดรับสมัครในไตรมาสแรกของปีนี้ และจะใช้เวลาในการพิจารณาและเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดบริการ 1 ปี 

 

เบื้องต้นจะให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประมาณ 3 ราย โดยในระยะ 3 ปี ธปท.จะเข้าไปดูแลตรวจสอบอย่างใกล้ชิด  หากพบว่ายังคงประกอบธุรกิจ หรือให้บริการไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ธปท.จะให้ปรับปรุงแก้ไข และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้เต็มรูปแบบภายในไตรมาส 2 ของปี 2568

ทั้งนี้ เพื่อให้ Virtual Bank ในประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น และตอบโจทย์ความต้องการของภาคการเงินอย่างแท้จริง ธปท. จึงขอเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 โดยสามารถส่งความเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของ ธปท. หรือทางอีเมล virtualbank@bot.or.th โดย ธปท. จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับ มาประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ต่อไป

 

#TheStructureNews

#ธปท #VirtualBank

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า