Newsปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้ประชาชน ‘พระปัญญาฯ’ แย้งนโยบายปลดล็อกโซลาร์รูฟมากกว่า 1 เมกะวัตต์ ชี้ไม่มีบ้านใดใช้ไฟฟ้าเกิน 1 เมกะวัตต์อยู่แล้ว

ปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้ประชาชน ‘พระปัญญาฯ’ แย้งนโยบายปลดล็อกโซลาร์รูฟมากกว่า 1 เมกะวัตต์ ชี้ไม่มีบ้านใดใช้ไฟฟ้าเกิน 1 เมกะวัตต์อยู่แล้ว

สืบเนื่องจากการที่พรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งนำโดยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค, รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พลังงาน ออกแถลงการยื่นร่างกฎหมายส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงแดด หรือ “โซลาร์รูฟท็อป” เข้าสู่สภาฯ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 67 ที่ผ่านมา

 

โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้นั้น จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถติดตั้ง ใช้งานโซลาร์รูฟได้เองผ่านการแจ้งให้ทราบเพียงครั้งเดียวกับวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย ต่างจากเดิมที่ต้องรอการขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ 5 แห่ง ที่ต้องใช้เวลาร่วม 1 ปีจึงจะติดตั้งได้ 

 

ซึ่งตามระเบียบเดิมนั้น หากจะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ที่มีขนาดมากกว่า 1,000 กิโลวัตต์ ก็จะถือว่าเป็นการประกอบกิจการโรงงานประเภทที่ 3 และต้องขอใบ รง.4

 

นอกจากนี้การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟหรือพลังงานแสงอาทิตย์จะยังช่วยลดค่าไฟฟ้าลงอีกมาก เพราะสามารถใช้ไฟฟ้าส่วนหนึ่งจากพลังงานดวงอาทิตย์ได้

 

อย่างไรก็ดี พระปัญญาวชิรโมลี (นพพร ธีรปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี พระนักพัฒนาพระนักพัฒนาที่ได้นำความรู้จากการศึกษาโซลาร์เซลล์มาต่อยอดเพื่อการพัฒนาชุมชน กลับโพสต์เฟสบุ๊กแสดงความคิดเห็นว่า ร่างกฎหมายของ รทสช. นั้น จะไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง 

 

โดยกล่าวถึงโครงการโรงพยาบาลโซลาร์เซลล์ ของจังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีกำลังผลิต 409 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการที่ประชาชนร่วมใจกันบริจาคเงินผ่านกิจกรรมทอดผ้าป่า เพื่อช่วยโรงพยาบาลประหยัดค่าไฟได้เดือนละ 240,000 บาท คาดว่าจะคุ้มทุนในเวลาเพียง 3 ปี

 

โซล่าร์เซลล์ที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงคือหน่วยงานที่ใช้ไฟในเวลากลางวันเป็นจำนวนมากเช่นที่อำนาจเจริญค่าไฟเดือนละ 2 ล้านบาท ผลิตไฟเข้าในระบบเท่าไหร่ก็ใช้หมดจึงเท่ากับตัดหน่วยค่าไฟฟ้าที่ 4 บาท และไปช่วยตัดภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งช่วงพีคไทม์ได้มากกว่าหน่วยค่าไฟเพียงอย่างเดียว พระปัญญาฯ กล่าว และกล่าวต่อว่า

 

ร่างกฎหมายโซลาร์รูฟท็อปของ รทสช. นั้นจะไม่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อะไรเพราะไม่มีบ้านหลังใดติดตั้งได้มากกว่า 1 เมกกะวัตต์ (1,000 กิโลวัตต์) อยู่แล้ว แม้แต่โครงการโซลาร์เซลล์โรงพยาบาลข้างต้น ก็มีกำลังผลิตเพียง 409 กิโลวัตต์ (0.4 เมกะวัตต์) เท่านั้น

 

ถ้าจะให้ชาวบ้านติดเยอะ ๆ แล้วขายไฟเข้าระบบแข่งกับโรงไฟฟ้าซึ่งมันแข่งไม่ได้ เพราะโรงไฟฟ้าเขาจ่ายชั่วโมงละ 1,000 กิโลวัตต์ได้เต็มตลอดชั่วโมง แต่โซล่าร์เซลล์ ตอนเช้าจ่ายได้ 100 ไปสาย เที่ยง จึงจ่ายได้เต็ม บ่ายมาก็ลดลงตามแสงแดด แต่ความต้องการใช้ 1,000 เต็มทุกชั่วโมง โซล่าร์เซลล์จึงทดแทนไม่ได้ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เขารังเกียจ มันเป็นเรื่องของเทคนิคการจัดการผลิต พระปัญญาฯกล่าว

อย่างไรก็ดี ได้มีผู้เข้ามาทักท้วงว่า มีประชาชนจำนวนมากที่ต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟ แต่ไม่ทำเพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันเยอะ ผ่านการใช้อุปกรณ์จำพวกเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ตู้เย็น อีกทั้งจุดคุ้มทุนนั้นอยู่ที่ 2 4 ปี 

 

นอกจากนี้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันน้อย ก็สามารถสำรองไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ก็ได้ ซึ่งนี่จะช่วยให้ประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าไฟแพง หรืออย่างน้อยลดค่าใช้จ่ายลงได้สักครึ่งหนึ่งก็ยังดี

ซึ่งทำให้พระปัญญาฯ ได้เข้ามาตอบว่า โดยปกติผู้ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟขนาดน้อยกว่า 1 เมกะวัตต์นั้น ก็ขออนุญาตกันตามปกติอยู่แล้ว ส่วนที่กำลังจะถูกปลดล็อกนั้น คือส่วนที่มีขนานมากกว่า 1 เมกะวัตต์ ซึ่งแต่เดิมนั้นจะต้องขออนุญาต






เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า