
‘TPMAP’ การประยุกต์ใช้ ‘Big Data’ เพื่อการต่อสู้กับปัญหาความยากจน ของรัฐบาล
วันที่ 14-15 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน โดยอาศัยระบบบริหารจัดการข้อมูลแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ซึ่งระบุจำนวนผู้ยากไร้ ตามภูมิศาสตร์และกลุ่มประชากร เพื่อเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและแม่นยำ [1]
แต่เดิมทีแล้ว การแก้ไขปัญหาของประเทศนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาแบบเดาสุ่ม และ/หรือตามความรู้สึกของบุคคล เนื่องจากไม่มีข้อมูลเชิงสถิติมาสนับสนุน ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ในยุคสมัยนั้น
ซึ่งนี่ไม่เพียงการบริหารประเทศเท่านั้น การบริหารธุรกิจในยุคก่อน หากผู้บริหารกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุน การใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการตัดสินใจได้เช่นกัน แต่ในทางกลับกัน การตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณ ก็ไม่ต่างอะไรกับการทุ่มแทงเล่นการพนัน
การเข้ามาของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกิดขึ้นมาของ Big Data ทำให้การนำข้อมูลจำนวนมหาศาล ที่มาจากการรวบรวมข้อมูลของส่วนราชการ มาสู่การแสดงผลเป็นรูปภาพ (Visualization) ทำให้การบริหารนโยบายของประเทศบนพื้นฐานของข้อมูลเป็นไปได้ และเป็นจริงในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานี่เอง
โดยใน พ.ศ. 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการทราบว่าใครคือคนจน คนจนอยู่ที่ไหน จึงได้ประสานกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ให้ดำเนินการสร้าง TPMAP ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือเชิงนโยบาย[2]
TPMAP คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) [3]
TPMAP สามารถระบุข้อมูลจำนวนคนจนและสัดส่วนคนจนเชิงพื้นที่ ได้จนถึงระดับตำบล ซึ่งเป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุดของประเทศ สามารถระบุจำนวน และลำดับความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว [3]
ซึ่งนิยามของ “ความยากจน” ของระบบนั้น มิได้มีแต่เพียงมิติรายได้ หรือมิติเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมองครอบคลุมลงไปถึงมิติ “สุขภาพ”, “ความเป็นอยู่”, “ การศึกษา” และ “การเข้าถึงบริการภาครัฐ” อีกด้วย [3]
ซึ่งในตัวอย่างล่าสุด ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร วันที่ 14-15 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบผลสำเร็จในด้านการศึกษา และสุขภาพของคนจน แต่ยังไม่สำเร็จในด้านรายได้ [4]
ด้วยเหตุนี้ การลงพื้นที่ของนายก ฯ จึงมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เพื่อการเพิ่มรายได้ให้แก่คนจน 3 เรื่องคือ สมุนไพร, โคเนื้อราคาสูง และผ้าพื้นถิ่น [1] นั่นเอง
ไม่เพียงนายก ฯ เท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงเครื่องมือ Big Data สุดล้ำนี้เท่านั้น ประชาชนคนทั่วไป ก็สามารถเข้าถึง และดาวน์โหลดข้อมูล หรือดู Dash Board จาก TPMAP นี้ได้
ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเปิดเข้าไปเยี่ยมชม ผ่านลิงก์ https://www.tpmap.in.th
โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
“พาโลกป่าเถื่อนสู่อารยะ” แนวคิด ‘พันธกิจคนขาว’ ข้ออ้างการล่าอาณานิคมที่สืบทอดผ่าน NGOs
ก้าวสู่ความเป็นมหาอำนาจในแบบจีนไม่ ‘ยึดติดกับทฤษฎี’ แต่ปรับใช้ให้เข้ากับ ‘อัตลักษณ์ในแบบของตัวเอง’
ที่มา จุดยืน และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2566 :
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม