ArticlesTogether to Net Zero: Together We Can

Together to Net Zero: Together We Can

ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก, ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นที่รับรู้ในสังคมนานาชาติเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษแล้ว

แต่ถึงจะรู้ และตระหนักถึงอย่างไรก็ตาม

ปัญหาที่มนุษยชาติต้องหาคำตอบก็คือ เราจะเลือกอะไร ระหว่าง การพัฒนาทางวัตถุ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความผาสุกของคนทั้งโลก

หรือหันหลังให้กับการพัฒนาและความเจริญทั้งมวล เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น

เนื่องจาก ความจริงในการใช้ชีวิตประจำวัน คือ เราต้องการความก้าวหน้าจากการพัฒนาทุกสิ่งรอบตัว หมายถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการดูแลโลกเพื่อคนรุ่นต่อไป

เรื่องใหญ่ที่ควรได้รับการขับเคลื่อนคือ การลดโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างสมดุลให้กับสภาพภูมิอากาศ

 

จากข้อมูลของ Our World in Data พบว่า ในปี ค.ศ. 2016 โลกของเราปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง  49.4 พันล้านตันคาร์บอน โดย 73.2% มาจากการใช้พลังงาน และอีก 18.4% มาจากภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมป่าไม้ และการใช้ที่ดิน

และที่น่าตกใจคือ ในการปล่อยก๊าซจากการใช้พลังงานทั้ง 73.2% นั้น 16.2% มาจากการใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง และอีก 17.5% มาจากการใช้พลังงานในอาคารและบ้านเรือน

 

และเมื่อเจาะลึกลงไปในตัวเลขของภาคการขนส่ง จะเห็นว่า อัตราการปล่อยก๊าซจากการจนส่งทางบกมีสูงถึง 11.9%

เมื่อนำตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับภาคประชาชนมารวมกัน จะพบว่ามีถึง 29.4% ซึ่งมากกว่าอัตราการปล่อยในภาคเกษตรกรรม และคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของภาคการผลิตพลังงาน

นี่ฟ้องว่า ปัญหานี้ ไม่ใช่เพียงปัญหาของนายทุน หรือผู้มีอำนาจเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่ทุกคนบนโลกใบนี้จะต้องร่วมมือกัน



ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการเรียกร้องโดยองค์กรสหประชาชาติ   ผ่านแคมเปญ “Race to Zero” เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนของโลกร่วมมือกัน ไม่ว่าจะในภาครัฐบาล, นักธุรกิจ, นักลงทุน และสถาบันการศึกษา ในเข้ามาร่วมมือกันแก้ปัญหาโลกร้อนร่วมกัน

โดยมีการตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 25%  ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (World’s GDP) จะต้องเพิ่มขึ้น 50%

ความร่วมมือในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนนี้ กลายเป็นกระแสที่ก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เท่าที่มนุษยชาติเคยมีมา

120 ประเทศ, 1,049 เมือง, 67 ภูมิภาค, 5,235 ธุรกิจ, 441 นักลงทุนรายใหญ่ และ 1,039 สถาบันอุดมศึกษา ประกาศความร่วมมือร่วมใน เพื่อพิชิตเป้าหมายในการต่อสู้โลกร้อน ด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน  (Sustainable Development Goals: SDGs)



วิธีการต่อสู้กับโลกร้อนนั้น ในส่วนนักวิจัย มีการพัฒนาวิธีการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ในหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะด้วยวิธีการพัฒนาการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นตัวการใหญ่ของปัญหาโลกร้อน

หรือการพัฒนาวิธีการในการดักจับ, ใช้ประโยชน์ และจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซต์ (Carbon Capture, Utilization and Storage; CCUS) เพื่อต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน

รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย




สำหรับประเทศไทย ภาครัฐ ได้ประกาศถ้อยแถลงแสดงเจตนารมณ์ของไทย ในการยกระดับการแก้ปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมระดับผู้นำ ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศอังกฤษ

 

โดยประเทศไทย เป็นกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีส และไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง แข็งขัน

ไทยเคยตั้งเป้าหมายว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานและขนส่งอย่างน้อย 7% ภายในปี พ.ศ. 2564 แต่ไทยกลับทำได้ดีกว่าเป้าหมายถึง 2 เท่าก่อนกำหนด โยใน พ.ศ. 2563 ไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้มากถึง 17%

 นอกจากนี้ ไทยประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับการแก้ไขปัญหา เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065

ภายใต้ธงแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy)

 

และจาก”รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563” โดย สภาพัฒน์ ยังระบุถึง เป้าหมายที่ 7 “สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน” ว่า

 

ไทยมีการลงทุน ในโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก, ผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม และพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังพัฒนาระบบสมาร์ทกริด เพื่อให้สมดุลระหว่างการจัดหาและการใช้ไฟฟ้า มีพวกเพียงพอและยั่งยืน

และจากผลการประเมินโดยภาพรวมแล้ว เป้าหมายที่ 7 ด้านพลังงานนั้น เป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุผลได้ดีที่สุดในทั้ง 16 เป้า โดย 60% ของแผนงานบรรลุเป้าหมาย และอีก 40% ของแผนงาน อยู่ในช่วง 70% – 99% ของเป้าหมาย

 



นอกจากนี้ ภาคเอกชนชั้นนำของประเทศต่างร่วมกันแสดงความกระตือรือร้นในการขับเคลื่อนร่วมมือเพื่อแก้ไขกับปัญหาโลกร้อน และการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในหลายวิธี

หนึ่งในภาคเอกชนของไทย อย่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC สร้างสรรค์เคมีที่เข้าถึงทุกความสุข (Chemistry for Better Living) ได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการพิชิตเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปี พ.ศ. 2573 และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี พ.ศ. 2593

 

ด้วยการนำนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กับเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ซึ่งสิ่งรับประกันในความมุ่งมั่นของ GC คือการถูกจัดอันดับ ให้เป็นอันดับ 1 ของโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) 3 ปีซ้อนในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์นั่นเอง

 



อย่างไรก็ตาม การต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน ลดการเกิดภาวะเรือนกระจกนั้น เป็นปัญหาที่คนทั้งประเทศ จะต้องช่วยกัน

 

เนื่องจากพวกเราทุกคน คือผู้ใช้งาน และต้นเหตุของการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงและทางอ้อม

ดังนั้น พวกเราทุกคน จึงควรร่วมมือกันในการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานที่ไม่จำเป็น ใช้อย่างรู้คุณค่า

ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ต่อสู้กับภาวะโลกร้อนไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

————-


สำหรับผู้ที่สนใจร่วมขับเคลื่อน Net Zero in Action และ “เพราะศูนย์ไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่คือเส้นชัยของเราทุกคน”

ขอเชิญท่านเข้ามามีส่วนร่วมในงาน

“GC Circular Living Symposium 2022: Together to Net Zero” ณ รอยัล ฮอลล์ ชั้น  สยามพารากอน

วันที่ 25 สิงหาคม ธุรกิจ Net Zero แรงบันดาลใจ และโอกาสคนรุ่นใหม่ เข้าชมฟรี !!

เพียงแสดงผล ATK

26 สิงหาคม เฉพาะแขกลงทะเบียน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.gccircularlivingsymposium2022.com/

 

หรือ Subscribe เพื่อ ชม LIVE ที่นี่

https://youtube.com/shorts/qesSGSWlIqw ได้ครับ

 

#GCCircularLiving

#TogetherToNetZero

#ยิ่งใกล้คุณยิ่งต้องดี

 

มาร่วมมือแก้ไขวิกฤตภาวะโลกร้อนไปด้วยกันนะครับ

 

โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

อ้างอิง :

[1] GC Together To Net Zero, GC 
[2] Hero To Zero เผ่าพันธุ์มนุษย์จะอยู่รอดอย่างไรในวิกฤตโลกรวน [ GC Together To Net Zero ], GC 

[3] เกี่ยวกับ GC 

[4] ไทยประกาศภารกิจ Net zeto emissions ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี 2065, The Structure 

[5] CO2 emissions 

[6] Emissions by sector 

[7] I AM AN ENGINEER Ep.11 : Net Zero Emission 

[8] What is net zero?, The Economist 

[9] Race To Zero Campaign, United Nation Climate Change 
[10] Race to Zero: Meet the World’s Race to Zero Heroes for Climate Action,

Global Compact Network Thailand 
[11] The race to a zero-emission world starts now | António Guterres, TED 

[12] The Climate Crisis: Towards Zero Carbon, Cambridge University 

[13] Carbon Capture – Humanity’s Last Hope?, Real Engineering 

[14] Carbon capture: the hopes, challenges and controversies | FT Film 
[15] นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง, รัฐบาลไทย 
[16] รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563, สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า