NewsการเมืองMOU 2544 ไม่มี ความเสี่ยงให้ไทยเสียเกาะกูด ‘คกก. รักษาผลประโยชน์ทางทะเล’ ชี้ ‘MOU 2544’ ไทย-กัมพูชา ต่างอ้างสิทธิเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อรองระหว่างกัน

MOU 2544 ไม่มี ความเสี่ยงให้ไทยเสียเกาะกูด ‘คกก. รักษาผลประโยชน์ทางทะเล’ ชี้ ‘MOU 2544’ ไทย-กัมพูชา ต่างอ้างสิทธิเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อรองระหว่างกัน

พล.ร.อ.จุมพล ลุมพิกานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) และอดีตโฆษกกองทัพเรือ กล่าวถึงกรณีที่มีข้อถกเถียงกันว่า MOU 2544 นั้นจะทำให้ไทยสูญเสียดินแดนเกาะกูดไปหรือไม่

ว่ากรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดนั้นเป็นของไทยอย่างชัดเจนด้วยสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 ซึ่งไทยลงนามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2499 (ค.ศ. 1907) แล้ว

(ในสมัยนั้น ประเทศไทยนับว่าวันที่ 1 เม.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ การเทียบปี พ.ศ. และ ค.ศ. ในยุคนั้นจึงไม่สอดคล้องกับในปัจจุบัน) 

 

อีกทั้งกัมพูชาเองก็ไม่เคยอ้างอย่างเป็นทางการว่าเกาะกูดเป็นของกัมพูชา ก็จะมีแต่คำอ้างในระดับชาวบ้าน และนักการเมืองกัมพูชาที่ต้องการสร้างกระแส ซึ่งในส่วนนี้เราไม่ควรจะนำมาเป็นภาระ

 

นอกจากนี้ กองทัพเรือยังได้มีการตั้งค่ายทหาร, ท่าเรือ, หน่วยปฎิบัติการเกาะกูด โดยหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) และกระโจมไฟ 

 

ซึ่งกระโจมไฟนั้น มีการลงทะเบียนใน List of Lights (บัญชีระบุตำแหน่งของประภาคาร และอุปกรณ์ช่วยนำร่องการเดินเรือ) ซึ่งบัญชีดังกล่าวมีการระบุชื่อประเทศผู้เป็นเจ้าของเอาไว้อย่างชัดเจน สามารถนาใช้อ้างอิงได้

 

ดังนั้นเรื่องนี้จบไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อนแล้ว และไม่มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียดินแดนอย่างแน่นอน

 

สำหรับการลากเส้นแบ่งของกัมพูชาที่เป็นข้อถกเถียงกันนั้น พล.ร.อ.จุมพลกล่าวว่า เส้นดังกล่าวนั้นเกิดจากการอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ปี  ค.ศ. 1907 โดยในสมัยนั้น เส้นดังกล่าวถูกใช้เพื่อการแบ่งทะเล ตามกฎหมายทะเลในยุคนั้น ตามข้อที่ 15

ซึ่งกรณีลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นกับกรณีหมู่เกาะพาราเซล ในทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนอ้างว่าในเจิ้งเหอ (ขันทีและแม่ทัพเรือคนสำคัญในช่วงต้นราชวงศ์หมิง) เคยมาดูเกาะนี้ ในขณะที่เวียดนามอ้างว่ากษัตริย์ของเขาเคยครอบครองเอาไว้เมื่อ 300 500 ปีที่แล้วเช่นกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็ใช้สิทธิในการอ้างอิงตามข้อ 15 นี้เช่นกัน

 

สำหรับเส้นลากแบ่งของกัมพูชานั้น มีการลากโดยเล็งมาที่ยอดสูงของเกาะกูด ตามสิทธิเดิมที่เขาอ้าง แต่มีการแบ่งเว้นแตะขอบฝั่งของเกาะกูด ก่อนที่จะลากเส้นตรงต่อที่อีกฝั่งของเกาะไปทางอ่าวไทย โดยใช้หลัก Equidistant (ระยะทางที่เท่ากันระหว่างจุดแต่ละจุด) ในทางกฎหมาย ที่จะทำให้เกิดการแบ่งกันอย่างเท่าเทียมในอ่าวไทย เหมือนกับการแบ่งกันคนละครึ่งระหว่าง 2 ฝั่ง

 

ซึ่งการอ้างของกัมพูชาดังกล่าวนั้น ใช้หลักที่แตกต่างกับของไทย โดยฝ่ายกัมพูชานั้นอ้างประวัติศาสตร์ ในขณะที่ฝ่ายไทยใช้หลักสิทธิเท่าเทียม

ทั้งนี้ทุกฝ่ายต่างก็มีสิทธิที่จะอ้าง ภายใต้หลักการพื้นฐานทางกฎหมาย ไม่ว่าจะด้วยหลักการอะไรก็ตาม ตัวอย่างเช่นกรณีที่จีนอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรดลีนั้น เป็นการอ้างประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิสูงสุด เพื่อการใช้ในการต่อรอง ส่วนจะได้รับการแบ่งมาเท่าไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหลักการในการอ้างเช่นนี้ เป็นหักปฏิบัติที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ใช้

 

สำหรับการทำ MOU 2544 นั้น เป็นการให้การยอมรับว่าต่างฝ่ายต่างก็มีการอ้างสิทธิทางทะเลระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการเจรจาระหว่างกัน โดยพลเรือเอกชุมพลย้ำว่า ขอใช้คำว่า อ้างสิทธิทับซ้อน มิใช้การ ให้สิทธิทับซ้อน เพื่อที่จะให้เกิดการเจรจาระหว่างกันเพื่อที่จะให้เกิดการแบ่ง และไม่ใช่การยอมรับเส้นแบ่งของทางกัมพูชา 

 

สำหรับข้อกังวลที่ว่าทางฝ่ายกัมพูชา ลากเส้นอ้อมเกาะกูด ซึ่งจะทำให้ไทยได้ไปเพียงตัวเกาะ แต่เสียสิทธิทางทะเลในพื้นที่ส่วนขยายจากเกาะ เช่นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone – EEZ) นั้น พลเรือเอกจุมพลกล่าวว่า ทางกัมพูชาขีดเส้นเพื่อการเจรจาต่อรองเท่านั้น

 

ซึ่งทางไทยเองก็อ้างสิทธิโดยไม่ให้สิทธิเหนือหินและเกาะย่อย ๆ ของกัมพูชาเช่นกัน เหลือเอาไว้เฉพาะเกาะใหญ่ ๆ ของกัมพูชา ซึ่งไทยเราเองก็ทำเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการต่อรองเช่นกัน มิใช่การยกสิทธิให้

 

กระบวนการต่อรองเช่นนั้น ไทยกับเวียดนามก็เคยกระทำระหว่างกัน และมีการเจรจาต่อรองจนทั้ง 2 ฝ่ายต่างสมผลประโยชน์แบบ Win-Win ทั้งคู่ หรืออย่างกรณีระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ทราบถึงผลประโยชน์ทางทะเลบนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน และสร้างข้อตกลงในการพัฒนาร่วมกัน จนกลายเป็นกรณีศึกษาที่คลาสสิกของโลก

 

แต่ทั้งนี้ การเจรจานั้นจะต้องใช้เวลา และคุยกันด้วยเหตุและผล โดยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีใครผิด ใครถูก 100%





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า