Newsช่องทางใหม่ ในการตีตลาดทุเรียนจีน ไทยส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปจีนทางทะเลเป็นครั้งแรก ‘พาณิชย์’ ชี้เป็นวิธีการขนส่งที่ต้นทุนต่ำกว่าเดิม

ช่องทางใหม่ ในการตีตลาดทุเรียนจีน ไทยส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปจีนทางทะเลเป็นครั้งแรก ‘พาณิชย์’ ชี้เป็นวิธีการขนส่งที่ต้นทุนต่ำกว่าเดิม

ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการส่งออกเนื้อทุเรียนแช่แข็ง ด้วยวิธีการขนส่งทางทะเล (Sea freight logistics) ไปสู่ประเทศจีนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา 

 

ซึ่งการขนส่งในครั้งนี้ เป็นการทดลองธุรกิจแปรรูปสินค้านำเข้าจากประเทศที่สาม ในพื้นที่ชายแดนในรูปแบบการค้าระหว่างชาวชายแดนผ่านการขนส่งทางทะเลของจีน

 

เนื้อทุเรียนแช่แข็งล็อตนี้นั้น มีจำนวน 1 ตู้คอนเทนเนอร์ ขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ใช้เวลา 4 วันถึงท่าเรือชินโจว หลังจากผ่านขั้นตอนการยื่นขอเปลี่ยนด่านพิธีการศุลกากรที่ศุลกากรท่าเรือชินโจวแล้ว ถูกขนส่งพิธีการศุลกากรที่ด่านผู่จ้ายผ่านทางถนน เสร็จแล้วขนส่งไปต่อที่เขตการค้าตลาดร่วมกันของชาวชายแดนที่กหนดไว้เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งกระบวนการดังกล่าวใช้เวลาทั้งสิ้น 7 วัน

 

และเนื้อทุเรียนล็อตนี้จะถูกนำไปแปรรูปต่อที่บริษัท Guangxi Zhongguo (Fruit) Industrial Co., Ltd. ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนจีน เวียดนาม โดยทางบริษัทฯ เปิดเผยว่า เมื่อก่อนบริษัทฯ มีการนำเข้าผลไม้จากประเทศเวียดนามเป็นหลัก โดยใช้วิธีขนส่งผ่านทางบกอย่างเดียว 

 

ปัจจุบันบริษัทมีการขยายการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทยผ่านการขนส่งทางทะเลที่มีความอย่างสะดวก ดังนั้น บริษัทจึงเลือกรูปแบบการนำเข้าเนื้อทุเรียนแช่แข็งมาแปรรูปในโมเดลการค้าระหว่างชาวชายแดนโดยผ่านการขนส่งทางทะเล ซึ่งรูปแบบการนำเข้านี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับบริษัทที่สามารถส่งเสริมการขยายนำเข้าสินค้าจากประเทศอาเซียนได้เพิ่มขึ้น

 

ด้านกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) ให้ความเห็นว่า โมเดลนำเข้าสินค้าจากไทยโดยผ่านการค้ารูปแบบชาวชายแดนผ่านการขนส่งทางทะเลถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับสินค้าไทย โดยเฉพาะเป็นสินค้าวัตถุดิบสำหรับการนำเข้ามาแปรรูป 

 

ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มช่องทางการส่งออกมายังตลาดจีน ที่ช่วยลดต้นทุนการส่งออก (ไม่ต้องเสียภาษี) และเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าในการจำหน่ายที่ตลาดจีน

 

ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกวัตถุดิบเพื่อแปรรูปต่อในตลาดจีน อาจพิจารณารูปแบบการขนส่งดังกล่าว และต้องศึกษาข้อมูลอย่างครบถ้วน อีกทั้งต้องร่วมมือกับผู้นำเข้าที่ดำเนินธุรกิจในเขตบริเวณชายแดนของเขตฯ กว่างซีจ้วง เพื่อโอกาสในนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปและขยายตลาดในจีนต่อไป




เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า