Newsไทยมีขีดความสามารถที่จะ ควบคุมเทคโนโลยีใหม่ของโลก ‘กสทช.’ ชี้การพัฒนาธุรกิจดิจิทัลต้องพัฒนาซอฟต์แวร์-ฮาร์ดแวร์คู่กัน ‘อาชีวะ’ เร่งผลิตทรัพยากรบุคคลให้เพียงพอต่อความต้องการ

ไทยมีขีดความสามารถที่จะ ควบคุมเทคโนโลยีใหม่ของโลก ‘กสทช.’ ชี้การพัฒนาธุรกิจดิจิทัลต้องพัฒนาซอฟต์แวร์-ฮาร์ดแวร์คู่กัน ‘อาชีวะ’ เร่งผลิตทรัพยากรบุคคลให้เพียงพอต่อความต้องการ

ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า PCB (แผ่นวงจรพิมพ์ – Printed Circuit Board หรือวงจรรวม) ถือเป็นพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทตั้งแต่ไฟฉายไปจนถึงหุ่นยนต์อัจฉริยะ เปรียบได้กับจุดประสานประสาทของมนุษย์ ที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าจากสมองไปสั่งการอวัยวะต่าง ๆ

PCB มีความสำคัญในกิจการสื่อสารโทรคมนาคม จากการเป็นอุปกรณ์สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากฮาร์ดแวร์ในการประมวลผลซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ได้

 

อย่างไรก็ดีในการส่งเสริมธุรกิจดิจิทัล คนส่วนมากซึ่งรวมไปถึงภาครัฐมักจะนึกถึงเพียงซอฟต์แวร์ แต่ลืมไปว่าฮาร์ดแวร์คือพื้นฐานของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ประเทศไทยเพิ่งจะซื้อซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อ ลันตา มูลค่ากว่า 600 ล้านบาท และ PCB ก็เป็นองค์ประกอบของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เช่นกัน

ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า สมาร์ทโฟนในตลาดจะมีความเร็วเท่า ๆ กับลันตา และการเข้าถึงการประมวลผลในระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จะง่ายขึ้น ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กัน การพัฒนาซอฟต์แวร์ดี ๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีฮาร์ดแวร์ที่ดีเพียงพอในการประมวลผล

 

หากประเทศไทยสามารถควบคุมอุตสาหกรรม PCB ได้ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของการผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ จะช่วยสร้างความสำคัญให้กับประเทศไทยได้ จากการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นล้วนต้องการ PCB และเทคโนโลยี 5G จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ทั้งหมด 

 

โลกต้องพึ่งพาเทคโนโลยี PCB มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการ PCB คุณภาพสูงเกิดขึ้นตาม ไม่ว่าจะโดรน หรือยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ล้วนแต่ต้องการ PCB คุณภาพสูงเป็นส่วนประกอบ ประเทศใดคุมการผลิต PCB ได้ย่อมทำให้ประเทศนั้นมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก

ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสมากจากความเป็นกลางทางภูมิรัฐศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาไทยจะมีอุปสรรคบ้างในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ก็ยังมีขีดความสามารถเพียงพอในการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้

 

ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่สามารถพึ่งพาแต่เพียงซอฟต์แวร์ได้ แต่ต้องพัฒนาฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย และการพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่มีความเป็นเลิศ จะทำให้คนไทยได้เข้าถึงอุปกรณ์คุณภาพดี ราคาถูก หรือมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะมีบทบาทในการควบคุมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของโลกได้ 

 

ด้านนายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำลังวางแผนร่วมกับหลายหน่วยงานและภาคอุตสาหกรรม ในการผลักดันการเรียนการสอนระบบทวิภาคีอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างหลักสูตรให้นักศึกษามีองค์ความรู้และฝึกการทำงานได้จริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้สามารถผลิตกำลังคนตรงกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมนี้ได้เร็ว

อย่างไรก็ดี สถานศึกษาในสังกัด สอศ. มีเพียง 100 กว่าแห่งเท่านั้นที่เปิดสอนสาขาวิชาด้านอิเล็กทรอนิกส์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมที่ต้องการทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งผู้ประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมด้านนี้เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอด 

 

ทำให้เกิดปัญหาการผลิตกำลังคนไม่เพียงพอ เนื่องจากสถานศึกษา และองค์ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องผลิตครูผู้สอนและสื่อการเรียนรู้ให้ตามทันความเปลี่ยนแปลง ซึ่งที่ผ่านมา สอศ. มีวิธีเร่งผลิตกำลังคน โดยนอกจากการให้ความรู้กับผู้ที่เข้ามาเรียนในสายอาชีวะแล้ว ยังมีการนำบุคลากรในอุตสาหกรรมมาเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ (Up Skill and Re-Skill) ให้ตรงกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอีกด้วย

 

ทั้งนี้สายวิชาอิเล็กทรอนิกส์หรือไฟฟ้า เป็นสาขาที่มีความต้องการเรียนมากที่สุด 5 อันดับแรก เรื่องจากนักศึกษารู้ว่าจบมาแล้วได้งานทำ 100% หากแก้ไขข้อจำกัดเรื่องสถานศึกษาและสื่อการเรียนการสอนได้ กำลังคนทางด้านนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น 

 

แต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. 190,000 คน และ ปวส. 100,000 คน แต่ตลาดมีความต้องการมากกว่านี้ 3-4 เท่า สอศ. จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตคนและคุณมากให้มากขึ้นตามความต้องการของตลาด

 

สำหรับผู้จบการศึกษาระดับ ปวส. ในด้านนี้หากทำงานในภาคเอกชนจะมีเงินเดือนประมาณ 2 3 หมื่นบาท ในขณะที่ระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนประมาณ 1 2 หมื่นบาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า