
อัตราเงินเฟ้อไทย ต่ำเป็นอันดับ 6 ของโลก และ 2 ของเอเชีย พาณิชย์ปรับเป้าเงินเฟ้อลดลงจากเดือนเมษา ไตรมาส 3 ยังลดลง ตามราคาอาหารที่ถูกลง
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูงนั้น ประเทศไทยของเรากลับเป็นประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนพฤษภาคม 66 ที่ระดับ 0.55% YoY ต่ำที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย เป็นรองเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 0.20% YoY และเป็นอันดับที่ 3 ของโลก
โดยในเดือนมิถุนายน 66 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีดัชนีราคาผู้บริโภค 107.83 ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 65 ซึ่งเท่ากับ 107.58 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยอยู่ที่ระดับ 0.23% YoY ชะลอตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร อีกทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยก็ลดลงอย่างชัดเจน
ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าลงเหลือประมาณ 1% – 2% โดยมีค่ากลางที่ 1.5% จากเดิมที่อยู่ระหว่าง 1.7% – 2.7% โดยมีค่ากลาง 2.2% ในเดือนเมษายน 66 และหากสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 3 (ก.ค. -ก.ย.) มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากกรอบราคาพลังงานอยู่ในช่วงขาลง ราคาอาหารบางชนิดโดยเฉพาะเนื้อสัตว์มีแนวโน้มถูกลงตามจำนวนผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับที่สูง จึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 3 น่าจะลดลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 66 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อนหน้า และยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สะท้อนจากภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น และมาตรการ
ภาครัฐที่ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดค่าไฟฟ้า และการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าและบริการ ที่อยู่ระดับสูง และช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และการลงทุนในภาครัฐชะลอตัว รวมทั้ง ภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยทอนให้ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมปรับลดลง
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
– กรุงเทพและปริมณฑล ที่ 56.6
– ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ 56.6
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ 57.7
– ภาคเหนือ ที่ 54.3
– ภาคใต้ ที่ 53.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคแบ่งตามอาชีพ
– พนักงานของรัฐ ที่ 59.6
– เกษตรกร ที่ 56.5
– ผู้ประกอบการ ที่ 57.3
– พนักงานเอกชน ที่ 54.4
– รับจ้างอิสระ ที่ 54.5
– นักศึกษา ที่ 56.8
– ไม่ได้ทำงาน ที่ 55.0
mattis, pulvinar dapibus leo.