
กลาโหมเปิดบ้าน ต้อนรับภาคเอกชนฝรั่งเศส หารือด้านความร่วมมือในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ
No posts were found for provided query parameters.
Read Side Posts
Image Gallery
No posts were found for provided query parameters.
No posts were found for provided query parameters.
Sign up:
No posts were found for provided query parameters.
Read Side Posts
Image Gallery
No posts were found for provided query parameters.
No posts were found for provided query parameters.
Sign up:
นายสุทิน คลังแสง รมว. กระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายฌ็อง-โกลด ปวงเบิฟ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานเปิดการหารือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่าง ไทย – ฝรั่งเศส ณ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) กรุงเทพ ระหว่างวันที 8 – 9 กรกฎาคม 2567
โดยมี รองปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เสนาธิการทหารเรือ รองผู้บัญการทหารอากาศ ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอพท.) ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รองอธิบดีกรมการปกครอง สภาอุตสาหกรรม สมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ และผู้ประกอบการกว่า 100 บริษัททั้งไทยและฝรั่งเศสเข้าร่วม
การหารือนี้เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องจากการเดินทางเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปพบกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 14-18 พฤษภาคม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพร้อมปลัดกระทรวงกลาโหมได้เดินทางเข้าร่วมงานนิทรรศการยูโรซาทอรี่ 2024 ณ กรุงปารีส ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยการหารือนี้เป็นการดำเนินการภายใต้การลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระหว่าง ศอพท. และสำนักงานจัดการยุทโธปกรณ์ กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส (Direction Générale de l’Armement: DGA) ที่ได้มีการลงนามร่วมกัน เมื่อ 17 พฤษภาคม 2567
วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวทาง แลกเปลี่ยนแนวความคิดในการขับเคลื่อนการลงทุนและสร้างเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างไทยและฝรั่งเศส ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย
ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของประเทศไทยด้านความมั่นคงและการรักษาความปลอดภัยให้พึ่งพาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม ลดการนำเข้า เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการส่งออกอุปกรณ์ทางทหารที่ผลิตภายได้ในประเทศ
โดยมีผู้ประกอบการฝรั่งเศสจำนวน 32 บริษัท และ 2 สมาคมอุตสาหกรรมเดินทางมาร่วมหารือ และฝ่ายไทยมีจำนวน 2 สมาคม 48 บริษัท และ 3 สมาคมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรม
นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญในงานประกอบไปด้วย การปาฐกถาพิเศษโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด “มุมมองผู้ใช้งาน : ประสบการณ์ใช้ผลิตภัณฑ์ของฝรั่งเศสและแนวทางการจัดหา”, การชักชวนนักลงทุน โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, การจัดนิทรรศการของผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพ การจับคู่ธุรกิจ และการเยี่ยมชมโรงงานเอกชน 6 บริษัท ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2567