Newsสภาล่ม-ไต้หวัน-น้ำท่วม

สภาล่ม-ไต้หวัน-น้ำท่วม

ในที่สุดที่เดาไว้เมื่ออาทิตย์ที่แล้วน่าจะผิดเสียแล้ว กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ที่เดาว่าจะได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นอันว่าไม่น่าจะใช่ แนวโน้มไปในทางที่จะตายตกไปเพราะ รัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน ในวันที่ 15 สิงหาคมที่จะถึงนี้

 

และไอ้ที่พิจารณาไม่แล้วเสร็จทันเวลาเนี่ย ไม่ใช่เพราะทำงานหนักอย่างเต็มที่ แต่กฎหมายยาวและยากเลยทำไม่ทันนะ กลายเป็นว่ากฎหมายไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา เพราะ ส.ส. และ ส.ว. บางพรรค บางกลุ่ม ตั้งใจทำให้องค์ประชุมไม่ครบ พิจารณาวาระ 2 ในสภาไม่ได้

 

กฎหมายไม่เสร็จเพราะสภาล่มประชุมไม่ได้ ประชาชนไม่รู้ว่าจะหัวเราะหรือร้องไห้ดี ที่มีผู้แทนปวงชนทำหน้าที่กันแบบนี้ มีคำถามว่าทำเช่นนี้ไปทำไม อุตส่าห์เสียเวลา เสียงบประมาณ แล้วก็กลับไปกลับมา เปลี่ยนใจไปสามรอบ เริ่มด้วย 100 กลับไป 500 แล้วก็กลับมา 100 อีกครั้ง

 

เราคงให้คำตอบแทน ส.ส.ไม่ได้ ประชาชนได้แต่คาดเดาไปต่างๆ นาๆ ถ้าประมวลดูก็จะพบว่า พรรคเพื่อไทยอยากได้ระบบบัตรเลือกตั้งสองใบคนละเบอร์ และคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อด้วยการหาร 100 แต่จะไม่ได้รูปแบบนี้ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านวาระสองและสามในรัฐสภา

 

จึงไม่แปลกใจที่พรรคเพื่อไทยออกมายอมรับจุดยืนที่ตั้งใจทำสภาล่ม ส่วนพรรคพลังประชารัฐและ พรรคร่วมรัฐบาลเดิมก็อยากได้คล้ายๆ เพื่อไทย ต่างกันตรงอยากได้บัตรเลือกตั้งใบเดียว

 

ซึ่งทำไม่ได้แล้วเพราะไปเสียท่าตอนแก้รัฐธรรมนูญ และอยากได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบสูตรหารด้วย 100 แต่ก็เปลี่ยนใจกลางทางกลับไปเอาแบบหารด้วย 500 เพราะอยากได้พรรคเล็กๆ มาช่วยสนับสนุนการเมือง

 

ไม่น่าเชื่อว่าในที่สุดกลับมาเปลี่ยนใจอีก เพราะกลัวบางพรรคจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากจนทำให้เป็นคู่แข่งจัดตั้งรัฐบาล คิดไปคิดมาแล้วขอกลับไปที่หารด้วย 100 จะดีกว่า แต่จะเดินหน้าไปตามปกติตามหลักปฏิบัติของสภา ก็ดูเหมือนว่าสายเกินไปเสียแล้ว ก็เลยไปเป็นพันธมิตรกับเพื่อไทย ร่วมกันทำสภาล่ม

 

เพื่อให้กฎหมายตกไปและกลับไปใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีที่รัฐสภาเห็นชอบในวาระรับหลักการ ซึ่งใช้บัตรสองใบคนละเบอร์และหารด้วย 100 สมประโยชน์ด้วยกันทุกพรรค แบบได้บ้างเสียบ้าง

 

เราผู้เป็นประชาชนรอดูวันที่ 10 สิงหาคมนี้ กฎหมายฉบับนี้จะจบแบบใด แต่พอคาดเดาได้ เพราะเดิมรับรู้กันว่าจะประชุมรัฐสภา 2 วัน วันที่ 9 และวันที่ 10 สิงหาคม แต่การหารือขั้นสุดท้ายก็เหลือประชุมวันเดียว แบบนี้ก็น่าจะหมายความว่าก็รู้ๆ กันอยู่แล้วว่า สภาจะล่มอีก

 

แล้วจะนัดประชุม 2 วันไปทำไม เสียเวลาเล่นละคร เสียเวลาถ่วงเวลานับองค์ประชุม ประชุมพิจารณา กฎหมายที่ค้างอยู่ฉบับหนึ่งให้จบ พอถึงวาระกฎหมายเลือกตั้งก็ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ประธานก็จะสั่งปิดประชุม วิธีการเลือกตั้งสมัยหน้าก็จะเป็นไปตามที่พรรคใหญ่ๆ ต้องการ มันน่าจะออกมาแบบนี้

 

ขออนุญาตแวะไปดูเรื่องไกลตัวนอกบ้านสักหน่อย ไม่พูดถึงก็ดูไม่ทันสมัย ก้าวไม่ทันโลกที่หมุนไปรวดเร็ว คุณเพโลซี่ประธานสภาผู้แทนของสหรัฐฯ ไปเยือนไต้หวันทั้งๆ ที่จีนมีคำเตือน คัดค้านอย่างแข็งกร้าว

 

แต่เธอก็หาได้หวั่นไหว วางแผนบินเข้าไปลงจอดและบินออกจากไต้หวันแบบแยบยล รอดพ้นการโจมตีด้วยอาวุธจากจีนไปได้ บางคนบอกไม่ได้รอดพ้น แต่จีนไม่ได้ทำตามที่ขู่ไว้ เรื่องนี้มองได้หลายมิติด้วยกัน

 

นักวิจารณ์ทั้งในบ้านเราหรือเมืองนอก มีมุมมองที่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง มากบ้างน้อยบ้างตามแต่จะเลือกมองในมุมใด การเมือง การทูต การทหาร เศรษฐกิจ ความชอบธรรม อุดมการณ์ทางการเมือง จึงอยากขอแลกเปลี่ยนความเห็นไว้บ้าง

 

เดิมทีคิดว่าเธอจะไม่ไป มาเยือนมาเลเซีย สิงคโปร์ แวะไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ก็น่าจะพอแล้ว ไบเดนเองก็ไม่ค่อยอยากให้มา เพราะแกเป็นคนที่ต้องคอยแก้ปัญหาเมื่อเพโลซี่กลับมาแล้ว ไบเดนแอบโน้มน้าวหลายรอบแต่ไม่สำเร็จ คนที่รู้ข้อมูลดีบอกว่าเพโลซี่ เธอเกลียดระบบจีน แบบเข้ากระดูกดำ

 

เมื่อ 30 ปีที่แล้วเพโลซี่เคยไปจีน ไปชื่นชมการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตย ไปชูป้ายยกย่องการต่อสู้ของนักศึกษาและประนามรัฐบาลจีนที่จตุรัสเทียนอันเหมินมาแล้ว

 

การได้ไปแสดงบทท้าทายรัฐบาลจีนด้วยตัวเองอีกครั้งถึงหน้าประตูบ้าน เป็นการสนองความต้องการส่วนตัวที่อยู่ลึกในใจมาตลอด สหรัฐฯ เองคงอยากใช้กรณีนี้ ประเมินศักยภาพและกระบวนการตัดสินใจของจีน ในภาวะวิกฤตสูงสุดว่า สีจิ้นผิงจะเอาอย่างไร ดีแต่ขู่หรือลงมือจริง

 

สหรัฐฯ คงได้เห็นแล้วว่า สีจิ้นผิงไม่อยากเสี่ยงทำสงครามโดยตรงกับสหรัฐฯ จีนอาจยังไม่พร้อมด้านแสนยานุภาพทางทหาร จึงไม่ปฏิบัติการรุนแรงใดต่อตัวเพโลซี่ แต่ไม่ได้หมายความว่าจีนจะไม่โจมตีไต้หวัน

 

การซ้อมรบแสดงให้เห็นแล้วว่า ความคิดและแผนโจมตีไต้หวันมีอยู่แน่นอน จะทำหรือไม่ทำเท่านั้น มีคนวิเคราะห์ว่า ถ้าจีนจะโจมตีไต้หวัน จีนจะไม่กระทำกับไต้หวันเหมือนรัสเซียทำกับยูเครน คือต้องไม่ยืดเยื้อ ทำแล้วไต้หวันต้องพินาศ สลายและถูกยึดครองในทันที สหรัฐฯ จะมาช่วยก็ไม่ทันการ เพราะไม่เหลืออะไรให้ช่วย

 

 สหรัฐฯ ก็รู้สัญญาณที่ส่งไปถึงจีน คือการเอาคืนกับจีนจะรุนแรงไม่แพ้กัน วันนี้สองฝ่ายคิดคำนวนกันแล้ว กำไร-ขาดทุนอยู่ตรงไหน แต่จีนเร่งจัดการก่อน คือตัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของไต้หวันและสหรัฐฯ เป็นเรื่องแรก บดขยี้ให้อ่อนแอ ซึ่งจีนทำไปแล้วในด้านการค้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี และจะทำอีกหลายมาตรการ

 

ไทยจะยืนอย่างไรกับมิตรอย่างสหรัฐฯ ญาติอย่างจีน เพื่อนอย่างรัสเซีย สมดุลอย่างมีศักดิ์ศรี ยืนอย่างมีเกียรติ ประเทศชาติและประชาชนไม่เดือดร้อน ต้องฝากคุณประยุทธ์และคุณดอน หมากการทูตที่ฉลาดเท่าทันทั้งสองคุ้นเคยเป็นอย่างดี และไม่มีวาระทางการเมืองซ่อนเร้น จะช่วยชาติบ้านเมืองได้

 

อีกเรื่องที่ดูอึมครึมไม่แพ้กันคือสภาพอากาศของประเทศไทย ตั้งแต่เข้าฤดูฝนเป็นต้นมา น่ากังวลเพิ่มขึ้นทุกขณะ จากการคาดการณ์ของหน่วยพยากรณ์อากาศที่ว่า ปริมาณน้ำฝนปีนี้จะไม่น้อยไปกว่าปี 64 และจนถึงเดือนตุลาคมอาจจะมีพายุพัดผ่านไทย 2-3 ลูก

 

หากเป็นไปตามการคาดหมายนี้ทั่วประเทศจะพ้นจากสภาพปัญหาภัยแล้ง การแย่งชิงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติระหว่างประชาชนในพื้นที่จะไม่มีให้เห็น แต่อาจจะพบกับสภาวะน้ำท่วมขังในวงกว้างหลายพื้นที่ และจะได้เห็นความขัดแย้งของประชาชนต่อการรื้อทำลายพนังกั้นน้ำ เพื่อแบ่งรับความเดือดร้อนให้เท่าๆ กันแทน

 

ยิ่งได้ฟังพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนฝนจะตกหนักต่อเนื่องจนถึงช่วงกลางสิงหาคม 65 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ทำให้ยิ่งหวั่นใจ

 

ถ้าไปดูสถิติเกี่ยวกับน้ำของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน จะเห็นว่าปริมาณน้ำฝนสะสมของทั้งประเทศขณะนี้มากกว่าทั้งปี 64 แล้ว ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลางมีปริมาณที่สูงกว่าปี 64 เหมือนกัน และคาดว่าช่วงปลายสิงหาคมจนถึงต้นตุลาคม 65 จะมีฝนตกมากที่สุด ก่อนจะค่อยๆ ลดลงเปลี่ยนเ