Newsประเทศไทยลงนามกับซาอุฯ สร้างโรงงานพลังงานสะอาด ผลิต “ไฮโดรเจนเขียว” ตอบสนองการแก้ไขปัญหาโลกร้อน

ประเทศไทยลงนามกับซาอุฯ สร้างโรงงานพลังงานสะอาด ผลิต “ไฮโดรเจนเขียว” ตอบสนองการแก้ไขปัญหาโลกร้อน

ไฮโดรเจนคือก๊าซที่มีความสำคัญในฐานะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกให้กับอุตสาหกรรมและการใช้งานประเภทต่าง ๆ ได้ โดยไฮโดรเจนสามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ไฮโดรเจนนั้นทำให้เกิดเพียงละอองน้ำเท่านั้น ไฮโดรเจนจึงถูกเสนอเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ ที่อาจช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนและวิกฤตการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (climate change) ด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทำงานด้านพลังงานของประเทศซาอุดีอาระเบีย นำโดยเจ้าชายอับดุลอาซีซ บิน ซัลมาน อัซ-ซาอูด (HRH Prince Abdulaziz bin Salman Al-Saud) ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุฯ ได้เข้าพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาและลงทุนโครงการไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง (derivatives) โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมลงนามในฝั่งไทย พร้อมกับสักขีพยานจากภาครัฐและเอกชน ณ บ้านปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ

ไฮโดรเจนสีเขียวนั้นคือ ไฮโดรเจนที่ผลิตได้จากกรรมวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ซึ่งไฮโดรเจนที่ผลิตด้วยกรรมวิธีอื่นนั้น จะถูกเรียกว่า ไฮโดนเจนสีเทา (Grey Hydrogen) ในขณะที่การผลิตไฮโดรเจนอีกแบบหนึ่งที่เฉพาะตัวไปอีก นั่นก็คือการผลิตด้วยเทคโนโลยี CCS (Carbon Capture & Storage) นั้นจะได้ไฮโดรเจนสีฟ้า (Blue Hydrogen) แต่เมื่อเทียบกันแล้ว ไฮโดรเจนสีเขียวนั้นจะมีความสะอาดที่สุดในทั้งสามชนิด 

โดยความร่วมมือของไทยและซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ นำโดยบริษัท แอควา พาวเวอร์ จำกัด (ACWA Power) สัญชาติซาอุฯ, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.), และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะนำไปสู่การจัดตั้งโรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศไทย สร้างแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ในอนาคตในกับประเทศ และเพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้

หลังพิธีลงนาม ผู้บริหารของบริษัท แอควา พาวเวอร์ จำกัด ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ความร่วมมือกับ ปตท. และ กฟผ. ในครั้งนี้จะเป็นการวางรากฐานที่จำเป็น รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม ตลอดจนทรัพยากรและความเชี่ยวชาญระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายต่อไป

ส่วนนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการแสวงหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยเน้นพลังงานสะอาดที่มีความเหมาะสม ซึ่งนอกจากช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนตํ่า ในระดับประเทศอีกด้วย

ขณะที่นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. มุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานแห่งอนาคตให้กับประเทศไทย ตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต” ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ ในการผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญระดับประเทศและระดับโลก ปตท. จึงตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15  ภายในปี ค.ศ. 2030  บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

ความร่วมมือครั้งนี้จึงนับว่าเป็นพัฒนาการของประเทศด้านการรักษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของภาครัฐและภาคเอกชน และระหว่างประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยค่อย ๆ เข้าใกล้การบรรลุเป้าหมายการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ได้ประกาศไว้ อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งทางออกของความต้องการพลังงานที่มากขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีพลังงานสะอาดใช้ และยังเป็นโอกาสในการส่งออกพลังงานสะอาดนี้สู่ภูมิภาคใกล้เคียงอีกด้วย

 

#TheStructureArticle

#ไฮโดรเจน #hydrogen #พลังงานสะอาด #PTT

อ้างอิง

[1] https://www.iberdrola.com/sustainability/green-hydrogen 

[2] https://www.mmthailand.com/colors-of-hydrogen/ 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า