Newsต่างประเทศNGO ไทย อาการหนักมาก!! หลังถูกตัดเงินสนับสนุนแผนส่งเสริมประชาธิปไตยจาก NED เผยกลุ่มให้ที่ลี้ภัยนักเคลื่อนไหวชาวลาว-กัมพูชาต้องปิดบ้านหนี

NGO ไทย อาการหนักมาก!! หลังถูกตัดเงินสนับสนุนแผนส่งเสริมประชาธิปไตยจาก NED เผยกลุ่มให้ที่ลี้ภัยนักเคลื่อนไหวชาวลาว-กัมพูชาต้องปิดบ้านหนี

Joshua Kurlantzick ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันได้เขียนบทความลงใน Council on Foreign Relations บรรยายถึงสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของกลุ่ม NGO ที่ขาดเงินทุนสนับสนุนโดยเฉพาะจาก NED ภายหลังจากรัฐบาลทรัมป์สั่งระงับเงินทุนให้กับองค์กรเหล่านี้จนกระทบกับ NGO ทั่วโลก 

 

โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กลุ่ม NGO ที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชน, ส่งเสริมประชาธิปไตย, ผลักดันแก้ไขกฎหมาย ม.112 รวมถึงบางองค์กรอย่าง  “มูลนิธิมานุษยะ” ที่คอยให้ที่หลบภัยกับกลุ่มนักกิจกรรมทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลลาวและกัมพูชา กำลังตกอยู่สภาวะย่ำแย่เพราะขาดเงินทุนสนับสนุนดังเช่นที่ผ่านมา

 

ทรัมป์และทีมงาน โดยเฉพาะที่ปรึกษาอย่าง อีลอน มัสก์ มีท่าทีไปในเชิงตั้งข้อรังเกียจ กลุ่มแผนงานหรือองค์กรซึ่งสนับสนุนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน นิติรัฐ และประชาสังคมอย่างเห็นได้ชัด 

 

จากทัศนคติในการมองโลกของทรัมป์ ที่ต้องการจะดีลกับทั้งฝ่ายเผด็จการและฝ่ายประชาธิปไตย รวมไปถึงการขาดความสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนของเขา ได้ทำให้เกิดสภาวะที่รัฐสภาสหรัฐฯ ลดแรงสนับสนุนและเงินทุนที่มีให้กับ “แผนงานสนับสนุนประชาธิปไตย” ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

 

โดยหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลทรัมป์มุ่งโจมตีก็คือ หน่วยงาน National Endowment for Democracy (NED) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ทุนทรัพย์กับองค์กรต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนในเรื่องของนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปที่นำไปสู่ประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และสื่อออนไลน์

 

NED ได้ให้เงินสนับสนุนจำนวนมหาศาลกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เพื่อที่จะรักษาระดับเสรีภาพในการใช้ชีวิตในหลายพื้นที่ เช่น กัมพูชาและเมียนมาซึ่งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงอีกหลายภูมิภาคกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยเงินสนับสนุนที่ให้กับองค์กรเหล่านี้มีมูลค่าถึงราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 10,107 บาท)

 

ซึ่งที่ผ่านมามีการโจมตีว่า NED เป็นแขนขาให้กับหน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA ทั้งที่ NED ไม่ได้เชื่อมโยงกับ CIA ดังที่พวกเขากล่าวอ้าง

 

แน่นอนว่าอาจจะมีบางคนยกประเด็นขึ้นมาว่า NED ทำหน้าที่ในการสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ในรูปแบบเดียวกับที่ CIA เคยพยายามทำแบบลับๆ ในอดีต 

 

อย่างไรก็ดี NED ได้ปฏิบัติการอย่างโปร่งใสมาโดยตลอด และทุกปีก็มีกระบวนตรวจสอบด้านบัญชีเพื่อเปิดเผยการใช้จ่ายเงินทุนทั้งหมด ต่างกับ CIA ที่ปฏิบัติในลักษณะปกปิด

 

หรือการที่บางกลุ่มบอกว่า NED ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายนิยมสหรัฐฯ ก็ดูจะเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริง เพราะ NED ได้สนับสนุนองค์กรกว่า 2,000 แห่ง ซึ่งทำงานด้านสิทธิ เสรีภาพของสื่อ นิติรัฐ และประชาธิปไตยทั่วโลก ซึ่งบางกลุ่มเองก็ไม่ได้หลงไหลกับสหรัฐอเมริกามากเท่าไรนัก

 

เช่น บางองค์กรในประเทศไทย ที่พยายามผลักดันเรื่องการแก้ไขกฎหมาย ม.112 เสรีภาพสื่อในโลกออนไลน์ และการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม โดยในกลุ่มเหล่านี้ก็มีบรรดานักกิจกรรมการเมืองฝ่ายซ้ายที่ตั้งคำถามกับสหรัฐฯ รวมไปถึงมีท่าทีรังเกียจสหรัฐอเมริกาเสียด้วยซ้ำ

 

ขณะที่ในเมียนมา ซึ่งกำลังใกล้จะเป็นรัฐที่ล้มเหลว จากการต่อสู้ผ่านสงครามตัวแทนของทั้งจีนและอินเดีย รวมถึงสหรัฐฯ ในบางส่วน NED ก็ได้ให้การสนับสนุนสื่อ “The Irrawaddy” ซึ่งคอยเป็นกระบอกเสียงให้เพื่อให้ผู้คนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ก็กำลังจะถูกตัดการสนับสนุน ซึ่งจะทำให้เป็นการยากต่อการติดตามข่าวสารที่แท้จริงในเมียนมา

 

รวมถึงอีกหลายสื่อที่เป็นกระบอกเสียงในกลุ่มประเทศเผด็จการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังจะถูกปิดตัวลง จากการขาดเงินทุนเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย

 

ตัวอย่างเช่นที่ National Public Radio (NPR) ได้ออกมาระบุว่า การขาดเงินทุนสนับสนุน กำลังทำลายกลุ่ม NGO ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นรัฐกึ่งประชาธิปไตย ที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลี้ภัยของผู้เห็นต่างจากประเทศเผด็จการที่อยู่ข้างเคียง

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายมาเป็นจุดศูนย์รวมสำคัญของกระบวนการกดขี่ระหว่างชาติ ที่ซึ่งผู้เห็นต่างจากประเทศในระบอบเผด็จการเดินทางไปมาหาสู่กัน (ลี้ภัย) และบ่อยครั้งที่พวกเขาถูกอุ้มหายหรือพบว่าเสียชีวิต

 

โดย NPR ได้ระบุว่า หนึ่งในองค์กรที่ได้รับผลกระทบจากการตัดเงินทุนมากที่สุดคือ “Manushya Foundation” หรือ “มูลนิธิมานุษยะ” ในประเทศไทย ซึ่งคอยสนับสนุนที่หลบภัย (Safe House) 9 แห่ง ให้กับกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในลาวและกัมพูชา

 

ภายหลังจากทรัมป์ตัดเงินทุน มูลนิธิมานุษยะได้ทำการปิดที่หลบภัยหลายแห่ง ซึ่งเคยเป็นบ้านพักของนักกิจกรรมทางการเมืองกว่า 35 ราย รวมถึงครอบครัวของพวกเขา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า