News“คนไม่ได้เที่ยวอุทยานไม่ตาย แต่สัตว์ที่อยู่ในอุทยาน อาจตายจนถึงสูญพันธุ์ได้ ถ้านโยบายผู้มีอำนาจไม่เหมาะสม”

“คนไม่ได้เที่ยวอุทยานไม่ตาย แต่สัตว์ที่อยู่ในอุทยาน อาจตายจนถึงสูญพันธุ์ได้ ถ้านโยบายผู้มีอำนาจไม่เหมาะสม”

หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา อดีต รมช.ศึกษาธิการ และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือโครงการช้างไทยมาอย่างยาวนาน โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงสถานการณ์ของช้างไทยเพศผู้ว่ามีความน่าเป็นห่วง 

 

เนื่องจากปางช้างในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะรับเลี้ยงแต่ช้างเพศเมีย เพราะคิดว่าช้างเพศผู้นั้นเลี้ยงยาก และมีช้างตกมัน อีกทั้งยังมีบางองค์กรร่วมมือกับต่างชาติ สร้างกระแสต่อต้านไม่ให้นักท่องเที่ยวมาปางที่มีช้างเพศผู้ทำงาน ต่อต้านการผสมพันธุ์ในช้าง และขังเดี่ยวช้างเพศผู้ ซึ่งบางรายคิดถึงขั้นจะให้มีการทำหมันช้างเพศผู้

 

หากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้.. อนาคตช้างเพศผู้จะเป็นอย่างไร..เขาจะไปยืนอยู่ตรงจุดไหนบนโลกใบนี้…งานที่มีสำหรับช้างผู้ก็จะเป็นการลากซุง หรืองานแห่ ซึ่งงานแห่ก็มีไม่มาก หนูนาระบุ และระบุว่า เป็นไปได้ว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า เราอาจจะไม่เหลือช้างบ้านเลย เพราะไม่มีช้างเพศผู้ให้ผสมพันธุ์ หนูนาระบุ

 

และเรียกร้องให้สังคมตระหนักถึงปัญหาของช้างเพศผู้ เพราะเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของทุก ๆ ภาคส่วน เบื้องต้น ก็ช่วยกันรักช้างเพศผู้ให้มากๆด้วยนะคะ..เขาไม่ผิดเลยที่เกิดมาเป็นช้างผู้…ให้พวกเขาได้มีโอกาสทำงาน (ที่ไม่ใช่แค่ลากซุง…ย้ำนะคะ ลากซุงได้เฉพาะอายุ 25-50 เท่านั้น)…และให้เขามีที่ยืนอยู่บนโลกใบนี้ด้วยค่ะ

 

และโพสต์เกี่ยวกับปัญหาของช้างป่าไทยโดยมีข้อความว่า

 

ใดๆ..คืออุทยานคือพื้นที่ป่า ที่เป็นบ้านของสัตว์ป่าทั้งหลาย …

เป็นที่หากิน อาศัยหลับนอน สืบต่อเผ่าพันธุ์ของเขา… เป็นทุกอย่างของพวกเขา….

นโยบายใดๆของอุทยาน ต้องยึดเอาเจ้าของบ้านคือสัตว์ป่าเป็นหลัก ไม่ใช่เอาคนเป็นหลัก …

คนนั้นมีที่อยู่ ที่เที่ยวให้เลือกได้..

แต่สัตว์ป่าได้แต่อยู่ป่า สัตว์ป่าอยู่เมืองไม่ได้ …

โลกใบนี้ทุกเผ่าพันธุ์มีสิทธิ์อาศัยอยู่เท่าเทียมกัน ไม่ใช่คนเท่านั้น …

แต่คน…เป็นพันธุ์ที่เอาเปรียบสัตว์อื่นมากที่สุด …

คนไม่ได้เที่ยวอุทยานไม่ตาย…แต่สัตว์ที่อยู่ในอุทยาน อาจตายจนถึงสูญพันธุ์ได้ ถ้านโยบายผู้มีอำนาจไม่เหมาะสม…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า