ตั้งครรภ์ในวัยเรียนไม่ต้องย้ายโรงเรียน สั่งห้ามสถานศึกษา บังคับคุณแม่วัยใสย้ายที่เรียนโดยไม่สมัครใจ ให้สามารถเรียนที่เดิมได้ต่อเนื่อง ตามความต้องการ
จากปัญหาในปัจจุบันที่พบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษาตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และถูกสถานศึกษาบังคับให้ย้ายสถานศึกษาโดยไม่ได้สมัครใจนั้น กระทรวงศึกษาธิการเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดําเนินการของสถานศึกษา เพื่อเป็นการคุ้มครองวัยรุ่นซึ่งตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ให้มีสิทธิได้รับการศึกษาในสถานศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ตามความประสงค์ของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น
โดยราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดําเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังนี้ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกําหนดประเภทของสถานศึกษา และการดําเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 สถานศึกษาตามข้อ 2 ที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษา ต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษา ตามความประสงค์ของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น”
สำหรับสถานศึกษาตามข้อ 2 ของกฎกระทรวง กําหนดประเภทของสถานศึกษาฯ พ.ศ.2561 ประกอบด้วย (1) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับ ดังต่อไปนี้ (ก) ระดับประถมศึกษา (ข) ระดับมัธยมศึกษา(2) สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตร ดังนี้ (ก) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ข) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ค) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (3) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
#TheStructureNews
#ตั้งครรภ์ในวัยเรียน #สถานศึกษา #ราชกิจจานุเบกษา
แก้ รธน. ยังไง ‘ก้าวไกล’ ก็ชนะ ปิยบุตร ชี้ ส.ส.ร. เป็นเพียงข้ออ้างถ่วงเวลา ต้องแก้ไของค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ
วิวาทะ ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส. กทม. พรรคประชาชน 27 พ.ย. 2567 VS รัดเกล้า สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ 29 พ.ย. 2567
เตือน สินค้าไทย 7 กลุ่ม น้ำมันปาล์ม, ปศุสัตว์, ถั่วเหลือง, กาแฟ, โกโก้, ไม้ และ ยางพารา เสี่ยงโดน อียู แบนนำเข้ากลางปีนี้ หากเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม