สถานการณ์ ปลาหมอคางดำคลี่คลาย CPF ร่วมมือกับทุกภาคส่วน กำจัดปลาหมอคางดำ ในสมุทรสาครได้แล้ว 769,231 กิโลกรัม
No posts were found for provided query parameters.
Read Side Posts
Image Gallery
No posts were found for provided query parameters.
No posts were found for provided query parameters.
Sign up:
นายปรีชา ศิริแสงอารำพี เจ้าของบริษัท ศิริแสงอารำพี จำกัด ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูป อาทิปลาป่น, น้ำมันปลา, ไขมันปลา และหัวกุ้งป่น เปิดเผยว่าปลาหมอคางดำในจังหวัดสมุทรสาครลดน้อยลงแล้ว จากความร่วมมือของกรมประมง และทุกภาคส่วน ซึ่งทำให้ในวันนี้สามารถกำจัดปลาได้แล้ว 769,231 กิโลกรัม
และจากความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ในการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะนี้ได้มีการส่งปลาหมอคางดำจากสมุทรปราการเข้ามาแล้วเป้นจังหวัดแรก จำนวน 8,860 กิโลกรัม และยังรับซื้อปลาหมอคางดำจากจังหวัดอื่นต่อ
“นับตั้งแต่ประกาศรับซื้อปลาหมอคางดำภายใต้ความร่วมมือกับCPF เรายินดีรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัด เพื่อให้ทุกจังหวัดสามารถจัดการกับปลาได้เหมือนกับสมุทรสาครที่ทุกวันนี้จับได้ลดลงอย่างชัดเจน เพราะทุกฝ่ายร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างแข็งขันและจริงจัง” นายปรีชากล่าว
ทั้งนี้เกษตรกร หรือชาวประมงสามารถนำปลาหมอคางดำมาขายให้กับโรงงานได้โดยตรง โดยต้องขอรับการรับรองจากกรมประมงจังหวัดนั้น ๆ ก่อน เพื่อให้สามารถตรวจย้อนกลับไปหาแหล่งจับปลา และช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถติดตามสถานการณ์ข้อมูลของจำนวนปลาคางดำในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิจและเอกชนสัมพันธ์ CPF กล่าวว่า ความร่วมมือกับโรงงานปลาป่นในการรับซื้อปลาหมอคางดำ 2 ล้านกิโลกรัมนั้น เป็น 1 ใน 5 โครงการเชิงรุกของบริษัทฯ ภายใต้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำทั่วประเทศให้ได้เร็วที่สุด
นอกจากนี้ CPF ยังดำเนินโครงการสนับสนุนปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำตามแนวทางของกรมประมง จำนวน 200,000 ตัว โดยได้สนับสนุนการปล่อยปลานักล่าแก่ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม จันทบุรี และสมุทรสาครไปแล้วรวม 54,000 ตัว
อีกทั้งยังมี โครงการสนับสนุนกิจกรรมการจับปลา โดยร่วมสนับสนุน อุปกรณ์จับปลา อาหาร และกำลังคน และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ ร่วมกับ 3 สถาบันการศึกษา 3 แห่งคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
และโครงการวิจัยหาแนวทางในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำร่วมกับ มก. และ สจล. ซึ่งล่าสุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้แสดงความสนใจเข้าร่วมศึกษาหาแนวทางจัดการปลาหมอคางดำด้วย