
เปรียบเทียบนโยบาย ศึกชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024
เปรียบเทียบนโยบายศึกชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024
วันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งวันในหน้าประวัติศาสตร์ที่จะกำหนดทิศทางของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 โดยมีผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ 2 ท่านได้แก่
1 กมลา แฮรีส รองประธานาธิบดีสหรัฐ จากพรรคเดโมแครต ซึ่งมีแนวอุดมการณ์แบบขวา-กลาง, เสรีนิยมหัวก้าวหน้า (Liberalism and Progressivism)
2 โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งมีอุดมการณ์แบบซ้าย-กลาง ค่อนไปทางซ้าย, อนุรักษนิยม (Conservativism) และมีความเสรีนิยมในแบบอเมริกัน (เสรีนิยมแบบรีพับลิกัน – Libertarian Republican)
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้ท้าชิงตำแหน่งทั้ง 2 ท่าน ต่างก็แสดงวิสัยทัศน์ นำเสนอนโยบายที่แตกต่างกัน ซึ่ง The Structure นำมาเปรียบเทียบ 6 ด้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกและประเทศไทยดังนี้
1 การค้าและภาษีนำเข้า
ทรัมป์: เสนอว่าควรที่จะปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ จากการเข้ามาของสินค้าจีน ด้วยการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 60% และตั้งภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น ๆ 10 – 20% และเพื่อการปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจากยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จากจีน ทรัมป์เสนอให้ขึ้นภาษีนำยานยนต์ที่ผลิตนอกสหรัฐ 100%
แฮรีส: เองก็เสนอนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศเช่นกัน ด้วยการใช้นโยบายทางภาษีเพื่อการกีดกันสินค้าจากจีน และหันมาฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยการส่งเสริมให้มีการจ้างงานแรงงานภายในประเทศ
2 พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ทรัมป์: มีแนวนโยบายในการฟื้นฟูพลังงานฟอสซิลมาตลอดตั้งแต่เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยก่อนหน้า เนื่องจากสหรัฐนั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงรายใหญ่รายหนึ่งของโลก อีกทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลกอีกด้วย
นอกจากนี้ ทรัมป์ยังมีความชัดเจนในการปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐ จึงมีแนวนโยบายในการยกเลิกการสนับสนุนนโยบายพลังงานสะอาด และ EV อย่างชัดเจน
แฮรีส: มีแนวนโยบายที่ตรงกันข้ามกับทรัมป์ เดินหน้าสานต่อแนวนโยบายในด้านนี้ของประธานาธิบดีโจ ไบเดนต่อ ด้วยการให้เงินสนับสนุนธุรกิจเพื่อการส่งเสริมพลังงานสะอาด และ EV
3 แนวทางต่อชาติตะวันออกกลาง
ทรัมป์: สนับสนุนให้อิสราเอลในการแผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลาง ต่อต้านอิหร่านที่เป็นคู่ปฎิปักษ์ต่อทั้งสหรัฐ และอิสราเอลต่อ แต่ทั้งนี้ ทรัมป์เพียงสนใจในด้านการค้าขาย โดยไม่สนใจในอุดมการณ์ทางการเมือง
แฮรีส: เองก็ให้การสนับสนุนอิสราเอลเช่นกัน แต่แฮรีสให้ความสนใจต่ออุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย
4 แนวทางต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ทรัมป์: มีแนวนโยบายที่จะให้สหรัฐถอนตัวออกจากวงสงครามรัสเซีย-ยูเครน และต้องการให้สงครามยุติ โดยปล่อยให้สหภาพยุโรปรับผิดชอบต่อยูเครนเอาเอง ซึ่งนั่นหมายความว่าสหรัฐอาจจะมีการยกเลิกการให้การสนับสนุนยูเครนทั้งด้านการเงิน และยุทธปัจจัยนอนาคต
แฮรีส: มีแนวนโยบายที่จะดำเนินการให้การสนับสนุนยูเครนในการทำสงครามกับรัสเซียต่อเนื่องจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน
5 ภาษีธุรกิจ
ทรัมป์: มีแนวทางในการ “ลด” ภาษีธุรกิจลงจาก 21% เหลือเพียง 15%-20%
แฮรีส: มีแนวทางในการ “เพิ่ม” ภาษีธุรกิจขึ้นจาก 21% เหลือเพียง 28%
6 นโยบายต่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัย
ทรัมป์: สานต่อแนวทาง American First ปกป้องพลเมืองสหรัฐด้วยการเนรเทศผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย
แฮรีส: มีแนวทางแบบเสรีนิยมโลกาภิวัตน์ (Neoliberal Globalization) ที่จะเปิดกว้างการให้สัญชาติแก่ผู้อพยพ และมุ่งขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ และขบวนการค้าทาสยุคใหม่ (Modern Slavery)