Newsต่างประเทศแคนาดาเตรียมตอบโต้ มาตรการกำแพงภาษีทรัมป์ ‘พาณิชย์’ ชี้เป็นโอกาสดีของไทย ในการขยาย การค้า-การลงทุนร่วมกับแคนาดา

แคนาดาเตรียมตอบโต้ มาตรการกำแพงภาษีทรัมป์ ‘พาณิชย์’ ชี้เป็นโอกาสดีของไทย ในการขยาย การค้า-การลงทุนร่วมกับแคนาดา

ภายหลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไปเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางรัฐบาลแคนาดาต้องเฝ้าจับตาสถานการณ์การค้าอย่างใกล้ชิดว่า ผู้นำสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการขึ้นกำแพงภาษีนำเข้า (Tariff) สินค้าจากแคนาดาไปสหรัฐฯ ในรูปแบบใดบ้าง 

 

โดยหากอิงตามคำขู่ของทรัมป์ที่ว่า สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกทุกรายการร้อยละ 25 มีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป โดยให้เหตุผลมาจากเรื่องของการขาดดุลการค้า ปัญหาคนอพยพข้ามพรมแดน และยาเสพติดในสหรัฐฯ

 

ในการนี้ นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ออกมาแถลงย้ำเมื่อวันอังคาร (21 ม.ค.) ว่า รัฐบาลแคนาดาพร้อมตอบสนองทุกสถานการณ์หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดา 

 

โดยจะตอบโต้ภาษีทางการค้าแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน (tit-for-tat) คือ สหรัฐฯ ขึ้นภาษีกับสินค้าแคนาดามูลค่าเท่าไร แคนาดาก็จะขึ้นภาษีกับสินค้าสหรัฐฯ ในมูลค่าเท่ากัน ทำให้ภาคเอกชนหลายฝ่ายอยู่ในความหวาดหวั่นจากการตอบโต้ครั้งนี้

 

จากสถิติการค้าระหว่างประเทศแคนาดา เผยมูลค่าการค้าระหว่างกันกับสหรัฐฯ ในปี 2566 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/วัน โดยสินค้านำเข้าส่งออกหลักอยู่ในกลุ่มพลังงาน น้ำมัน เครื่องจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรและอาหาร 

 

โดยแคนาดาส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของการส่งออกทั้งหมด และนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 50 ของการนำเข้าทั้งหมด ทั้งนี้ แคนาดาได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ มาโดยตลอด ในปี 2566 แคนาดาได้ดุลการค้าราว 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าคำขู่การขึ้นภาษีของทรัมป์ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับภาคธุรกิจของแคนาดาอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มภาคพลังงานและรถยนต์ เนื่องจากการที่สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของแคนาดา รวมถึงการจ้างงานจำนวนมากในอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจได้รับผลกระทบ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดการจ้างงาน โดยลดขนาดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตออกไปจากแคนาดา

 

นอกจากความกังวลปัญหาการว่างงานแล้ว อีกหนึ่งผลกระทบต่อผู้บริโภคแคนาดาจะเผชิญคือ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนาย Matt Poirier รองประธานสมาคมค้าปลีกในแคนาดา กล่าวถึงการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จะทำให้ราคาจำหน่ายสินค้าในประเทศปรับขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

จนกลายเป็นภาระของผู้บริโภคแคนาดา ซึ่งกลุ่มสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันที่จะมีราคาแพงขึ้น 10 รายการต้นๆ ได้แก่

1 อาหารเช้าซีเรียล
2 เครื่องสำอาง
3 น้ำผลไม้
4 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5 รถยนต์
6 ผักและผลไม้สด 

7 อาหารทะเล 

8 เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายและรองเท้า 

9 ค่าสมัครบริการ Amazon Pime และ Netflix 

10 ดอกไม้และช็อกโกแลต



เนื่องจากแคนาดานำเข้าสินค้าเหล่านั้นจากสหรัฐฯ เป็นหลัก

 

เมื่อไม่นานมานี้ นายทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ประชุมหารือกับผู้ว่าการรัฐทั้ง 10 รัฐ เพื่อกำหนดท่าทีต่อการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และร่วมพิจารณาบัญชีรายชื่อสินค้าเป้าหมาย โดยอาจจะเริ่มขึ้นภาษีสินค้าเฉพาะเจาะจงบางรายการก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มรายการสินค้าต่อไป

 

แม้นายทรูโดและผู้ว่าการรัฐต่างๆ จะยืนยันว่า รัฐบาลกลางและรัฐบาลแต่ละรัฐจะร่วมทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่นางแดเนียล สมิธ ผู้ว่าการรัฐอัลเบอร์ตา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานสำคัญ กลับไม่ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วม 

 

เพราะคัดค้านแนวคิดที่แคนาดาจะจำกัดการส่งออกน้ำมันไปสหรัฐฯ และอาจทำให้ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น โดยนางแดเนียลฯ กล่าวถึงความจำเป็นที่ปกป้องอุตสาหกรรมและการจ้างงานในรัฐอัลเบอร์ตาเช่นกัน

 

ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการรัฐต่างๆ ได้ออกมารณรงค์ให้ประชากรในรัฐเลิกซื้อสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เช่น นายดักก์ ฟอร์ด ผู้นำรัฐออนทาริโอ และนายเดวิด อีบีย์ ผู้นำรัฐบริติชโคลัมเบีย ได้ออกมากล่าวรณรงค์ให้ประชากรในรัฐเลิกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากสหรัฐฯ และยกเลิกการจำหน่ายแอลกอฮอล์ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ

 

 

 

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) ระบุว่า แม้แคนาดาจะมีข้อตกลงการค้าเสรีร่วมกันกับสหรัฐฯ กล่าวคือ การค้าขายสินค้าระหว่างกันจะไม่เก็บภาษีสินค้ากัน ทว่า เมื่อทรัมป์ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว 

 

และขู่ว่าจะเพิ่มการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดา ก็ถือเป็นมาตรการที่ผู้นำสหรัฐฯ สามารถออกคำสั่งและพึงกระทำได้ทันที ซึ่งหากสหรัฐฯ ขึ้นกำแพงภาษีตามที่กล่าวไว้ จะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกของแคนาดาในวงกว้าง 

 

อย่างไรก็ดี จากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทางการค้าที่กำลังเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ ในวันนี้ ย่อมเปิดโอกาสให้แคนาดาจำเป็นต้องหาคู่ค้าจากประเทศอื่นๆ มากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ 

 

ดังนั้น ไทยจึงอาจใช้โอกาสนี้ในการหาความพร้อมในการทำงานร่วมกับแคนาดาอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันต่อไป





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า