Newsเปิด 3 โครงการใหม่ ‘การท่าเรือ’ จับมือภาคเอกชนยกระดับโลจิสติกส์ไทย เชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ-บก-รถไฟ

เปิด 3 โครงการใหม่ ‘การท่าเรือ’ จับมือภาคเอกชนยกระดับโลจิสติกส์ไทย เชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ-บก-รถไฟ

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2567 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ธุรกิจใหม่ท่าเรือกรุงเทพ : New Business Model of Bangkok Port” พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กับบริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อ “การส่งเสริมกิจกรรมการนำเข้าตู้สินค้าขาเข้าผ่านเรือลำเลียงและกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจ” 

 

และพิธีลงนาม MOU ระหว่าง กทท. กับบริษัท บ็อกซ์แมน จำกัด ผู้กระทำการแทนบริษัท Oknha Mong Port ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้ชื่อ “การส่งเสริมการนำเข้าและส่งออก และกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าถ่ายลำ (Transshipment) ผ่านท่าเรือกรุงเทพ” 

 

โดยมี นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายเกรียงไกร ไขยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้าร่วมในพิธีฯ ในวันที่ 10 มกราคม 2566 ณ อาคาร A1 เขตปลอดอากร ท่าเรือกรุงเทพ 

 

 นางมนพร เจริญศรี กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ภายใต้แนวทาง การดำเนิน “ธุรกิจใหม่ท่าเรือกรุงเทพ : New Business Model of Bangkok Port” ถือเป็นการยกระดับการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ และสนับสนุนการค้าการลงทุนกิจกรรมนำเข้า – ส่งออก และขนส่งตู้สินค้าถ่ายลำ (Transshipment) ผ่านท่าเรือกรุงเทพ 

 

รวมถึงโครงการเขตปลอดอากรท่าเรือกรุงเทพ Bangkok Port Free Zone ที่เป็นความร่วมมือในภาครัฐระหว่างท่าเรือกรุงเทพและสำนักงานศุลกากร เป็นธุรกิจใหม่ที่สามารถสร้างรายได้และช่วยให้ท่าเรือกรุงเทพพัฒนาเป็น Hub หรือศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่อำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศทุกมิติ

 

 กทท. มีนโยบายส่งเสริมการสร้างกิจกรรมใหม่ เพื่อยกระดับการให้บริการ สนับสนุนการค้าการลงทุน รวมทั้งตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้า – ส่งออกให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้น ด้วยการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจกับภาคเอกชน ดังนี้

 

  1. โครงการท่าเรือพันธมิตร (Chao Phraya Super Port Project) เป็นความร่วมมือระหว่าง กทท. และบริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการนำเข้าตู้สินค้า มาที่ท่าเรือกรุงเทพ โดยเรือชายฝั่ง (Barge) เข้าเทียบท่าที่ท่า 20G

    เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ลดปัญหาจราจรทางบก ลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งของผู้นำเข้าสินค้าให้ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อไป การดำเนินโครงการฯ คาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น 10,000 TEU ต่อปี คิดเป็นเงินประมาณ 35 – 40 ล้านบาท

  2. โครงการส่งเสริมการนำเข้า – ส่งออก และกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าถ่ายลำ (Transshipment) ผ่านท่าเรือกรุงเทพ เป็นความร่วมมือระหว่าง กทท. และบริษัท บ็อกซ์แมน จำกัด ซึ่งเป็นผู้กระทำแทนบริษัท Oknha Mong Port เพื่อส่งเสริมการนำเข้า – ส่งออก ไปยังประเทศที่สามทั้งทางเรือและรถไฟ

    ซึ่งจะส่งผลให้การขนส่งสินค้าเป็นไปด้วยความสะดวก เพิ่มรายได้ให้กับท่าเรือกรุงเทพ โดยเป็นการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางน้ำและทางราง ทดแทนการขนส่งทางถนน รวมทั้งช่วยส่งเสริมกิจกรรม Transshipment ให้มีความต่อเนื่องของเที่ยวเรือและเป็นเส้นทางเดินเรือที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืน

  3. โครงการเขตปลอดอากรท่าเรือกรุงเทพ Bangkok Port Free Zone เป็นความร่วมมือระหว่าง กทท. กรมศุลกากร หน่วยงานเอกชน (บริษัท สปีดิชั่น ซิกม่า จำกัด) ซึ่งเป็นการให้บริการใหม่ของท่าเรือกรุงเทพ บนพื้นที่ดำเนินการ  24,000 ตารางเมตร

    เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนในการนำเข้า – ส่งออก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 ท่าเรือกรุงเทพมีแผนงานที่สำคัญในอนาคต เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งตะวันตกของท่าเรือกรุงเทพเป็นท่าเรือกึ่งอัติโนมัติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ ซึ่งได้มีการนำระบบ Semi Automation มาใช้ให้บริการขนถ่ายตู้สินค้า

โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าอาคารสำนักงาน (Multimodal Transport & Distribution Center) และพื้นที่สนับสนุน เพื่อใช้พื้นที่ของท่าเรือกรุงเทพให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถสร้างกิจกรรมใหม่ในอนาคตเพิ่มมากขึ้นได้ เป็นการยกระดับ การให้บริการ

ตลอดจนมีโครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางนา – อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกของรถบรรทุกในการผ่านท่าเรือกรุงเทพ อีกทั้งยังเป็นการบรรเทาปัญหาจราจรให้กับ กรุงเทพมหานครในอนาคต

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า