
ความผิดปกติใหม่ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ เผย 3 ปัจจัยความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงกล่าวว่า ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้นมีปัจจัยอยู่ 3 ปัจจัย
ปัจจัยแรกปัจจัยแรก ในภาพรวมตั้งแต่ปี 2566 ได้เกิดความผิดปกติใหม่ เป็นวงจรใหม่ เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการฝึกจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ เมื่อเดือนมีนา 2567 อดีตแม่ทัพภาพที่ 4 ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ และระบุอย่างชัดเจนว่า
มีกองกำลังคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของคนรุ่นเก่าทั้งหมด เป็นเรื่องราวของวงจรใหม่ คนรุ่นใหม่ และความผิดปกติใหม่
นอกจากนี้ สถานการณ์ระหว่างปี 2566 – 2568 นั้นถือว่าน่ากังวล อีกทั้งการจัดชุดกำลังเข้าโจมตีที่ว่าการอำเภอสุไหง-โกลก จ. นราธิวาสนั้น ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนในภาพรวม ทั้งในเชิงการเมือง และเชิงความมั่นคง เนื่องจากว่าที่ว่าการอำเภอนั้น ถือเป็นแกนในการสั่งการของรัฐไทย อีกทั้งในเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตมากถึง 6 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนไม่น้อย
ทั้งหมดนี้นำไปสู่ประเด็นที่ 2 คือกลุ่มผู้ก่อการร้ายนั้นมีขีดความสามารถใหม่ เป็นวงจรใหม่ของคนรุ่นใหม่ ที่แตกต่างไปจากวงจรเดิม โดยจะเป็นการพุ่งเป้าไปยังแกนนำของรัฐ อย่างกลุ่มอาสารักษาดินแดน (อส.) ทหารพราน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ซึ่งที่ผ่านมา รัฐประสบความสำเร็จในการลดความสูญเสียและความรุนแรงของเหตุการณ์ลงได้ถึง 70% แต่ในขณะนี้สถานการณ์มีความผกผันมากขึ้น มีการใช้ระเบิดที่ได้รับการปรับปรุงระบบการควบคุมระเบิดจนสามารถหลบหลีกการรบกวนสัญญาณของเจ้าหน้าที่ได้
และในประเด็นที่ 2 คือกลุ่มคนเหล่านี้ ต้องถือว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธ เนื่องจากว่ามากันเป็นชุด และเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติการจนสามารถเล็ดลอดการตรวจจับของเครือข่ายข่าวกรอง ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และศูนย์ประสานงานกองกำลังภาคที่ 4 ส่วนหน้า
เข้ามาจนถึงแกนศูนย์กลางอำนาจของรัฐ อย่างที่ว่าการอำเภอ ซึ่งแต่เดิมที่พวกเขาเข้าโจมตีเพียงค่ายทหาร/ตำรวจขนาดเล็ก หรือโจมตีตัวบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของเรา โดยหลีกเลี่ยงเป้าหมายที่อ่อนแออย่าง ครู หมอ และพยาบาล
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีแรงจูงใจทางการเมืองที่ชัดเจน ผิดไปจากอดีตที่เพียงต้องการประกาศการมีอยู่ของพวกเขา แต่เป็นการสร้างแรงกดดันบางอย่าง ซึ่งในส่วนนี้ เราต้องมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการกดดันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการเจรจา หรือเป็นความขัดแย้งกันภายในหมู่แกนนำของพวกเขา หรือเป็นการกดดันมาเลเซีย เพื่อไม่ให้มาเลเซียส่งตัวบุคคลกลับ อย่างที่หลายฝ่ายต้องการ
ทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นปัจจัยใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมถึงขบวนการผิดกฎหมายในนราธิวาส ที่มีท่อน้ำเลี้ยงให้การสนับสนุนขบวนการเหล่านี้ โดยมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น ที่มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กันหลายกลุ่ม
ประเด็นที่ 3 คือการบิดเบือนหลักทางศาสนา ซึ่งเห็นได้จากการออกปฏิบัติการของคนกลุ่มนี้ ในช่วงเดือน รอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมกำลังปฎิบัติศาสนกิจ และมีข้อตกลงเรื่องรอมฎอนสันติสุข อยู่บนโต๊ะเจรจาระหว่างกลุ่มที่เข้ามาเจรจากับทางการไทยอยู่แล้ว
แต่การก่อการในครั้งนี้ ถือเป็นการด้อยค่ากลุ่มที่อยู่บนโต๊ะเจรจา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดความขัดแย้งกันระหว่างปีกทหาร กับปีกการเมืองในกลุ่มของพวกเขา
ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ฝ่ายไทย มีความจำเป็นที่จะต้องหันกลับมาจัดระเบียบโครงสร้าง และวิธีการดำเนินการใหม่ เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อย ในขณะที่ยังคงรักษาการเจรจาสันติสุข ที่ยังคงต้องดำเนินต่อไป แต่คงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหลายประการ
สำหรับการก่อเหตุร้ายในครั้งนี้นั้น ตัวผู้สั่งการ และเตรียมการ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา (มาเลเซีย) โดยอาศัยรอยต่อระหว่างประเทศที่ยังมีพื้นที่ที่เป็นปัญหาอยู่ ซึ่งการลาดตระเวนร่วมกัน การสร้างรั้วชั่วคราว และการเฝ้าระวังจะช่วยได้เยอะ
แต่ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีสำนักข่าวหลายสำนัก พยายามติดต่อผู้นำทางจิตวิญญาณ หรือผู้นำทางศาสนาของพวกเขา แต่ผู้นำเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ผู้สั่งการโดยตรงทั้งหมด แต่ว่าเขาอยู่ด้วยกันกับผู้นำฝ่ายกองกำลัง เพราะฉะนั้นเขาจะมีการสื่อสารระหว่างกัน
ในขณะเดียวกับ ฝ่ายความมั่นคงของมาเลเซียเอง ก็มีการจับตาเฝ้าระวังอยู่ตลอด มีการใช้เครื่องมือดักฟัง จับสัญญาณและความเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ และมีการสื่อสารแจ้งเตือนมายังฝ่ายไทย
แต่ทั้งนี้เชื่อว่าคนเหล่านี้นั้น ยังมีการสื่อสารระหว่างกันอยู่ โดยมีเป้าหมายระยะไกลที่มีความสอดคล้องกัน คือการแบ่งแยกดินแดน แบ่งปัน รื้อถอนอำนาจของรัฐ ไทย เพื่อให้เกิดการจัดตั้งเขตการปกครองพิเศษ หรือว่าเขตปกครองตนเอง
ส่วนในระยะสั้น คนเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อการยกระดับการเจรจา เช่นการทำแผนทางเทคนิก ให้ทางการไทยถอนกำลังออกไป หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลัง ซึ่งนี่เป็นความซับซ้อน และความผิดปกติใหม่ของกลุ่มขบวนการกลุ่มใหม่
ซึ่งนี่นั้น เคยมีนักวิชาการชาวเยอรมันที่เคยเข้ามาศึกษาปัญหาในสามจังหวัดชายแดนใต้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว และได้ให้ข้อสรุปว่าเป็นฝีมือขบวนการสุดโต่งรุ่นใหม่ ที่อาศัยจังหว่ะในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หรือการเปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์ที่อาจจะไม่ได้ใกล้ชิดกับรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อการยกระดับปรับองค์กรขึ้นมา
นอกจากนี้ เขายังได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่ากระบวนการฝึกของกองกำลังของไทยเองก็มีปัญหา ไม่สามารถที่จะทำให้เจ้าหน้าที่อาสา (อส.) หรือทหารพราน มีความเข้มแข็งได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา จนทำให้เกิดความอ่อนแอสะสม
นอกจากนี้ การวางกำลังเอาไว้ในสถานที่ราชการนั้น ก็ไม่ได้รัดกุมมากนัก ซึ่งเรื่องเหล่านี้นั้น ประชาชนในพื้นที่นั้นรู้ดี แต่หวาดกลัวจนไม่กล้าพูดอะไรออกมา ไม่ว่าจะเป็นผู้นำศาสนา ครูบาอาจารย์ หรือแม้แต่นักการเมืองท้องถิ่นเองก็ไม่กล้าพูด มีประชาชนจำนวนมากย้ายออกนอกพื้นที่ โดยเฉพาะไทยพุทธ จะยกเว้นก็เพียงบางกลุ่มที่มีหลักประกันความปลอดภัย
อย่างไรก็ดี ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่กระทรวงมหาดไทยเข้ามาจัดการกองกำลังอาสาป้องกันตนเองในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า อีกทั้งยังยอมรับด้วยว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่การแสดงศักยภาพนิดหน่อย