
“ไม่มีวันประสบความสำเร็จ” ณวัตน์สอนเฌอเอมหลังปฏิเสธกิจกรรมดูดวง ชี้คนฉลาดคือคนที่อยู่กับคนได้ทุกประเภท หากไม่ยอม จะได้มีวันประสบความสำเร็จ
กลายเป็นดราม่าเดือดในโลกโซเชียล จากเวทีประกวด Miss Grand Thailand 2023 ซึ่งมีจัดกิจกรรมกิจกรรมดูดวงไพ่ยิปซี แต่ผู้เข้าประกวดนางงามสาว เฌอเอม ชญาธนุส จากลำปาง ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากเธอเป็นคริสต์ จึงไม่สะดวกใจ
ด้านคุณณวัฒน์ อิสไกรศีล บอสเวทีมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ และมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลอ้างว่า “ขอสอน” ตนก็เป็นคริสต์ การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความหลากหลาย การยึดติดในบางสิ่งจะเป็นอุปสรรค ตนเป็นคนพูดตรง
คำพูดนี้ ทำเฌอเอมน้ำตาร่วง บอกว่าขอพูดก่อนจะไม่มีโอกาส แต่ณวัฒน์ตอบว่าตนเป็นเพียงผู้ใหญ่คนหนึ่งที่เคยสอนคน ไม่ว่าจะต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรมแล้วประสบความสำเร็จ ก็เลยเอามาสอนเฌอเอม
แม้เฌอเอมจะขอผ่อนผัน ขอให้เพื่อนขึ้นมาถามแทนจะได้หรือไม่ แต่ณวัตน์อ้างกติกาและไม่ยินยอม ทำให้สาวเอมขอวางไมค์เพื่อให้กิจกรรมดำเนินต่อไป
เหตุการณ์นี้สร้างประเด็นถกเถียงในโลกโซเชียล ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของทั้งสองคน
ตัวอย่างเช่น เพจ แซบศรี ให้เหตุผลสนับสนุนคุณณวัตน์ว่า “ศาสนาเป็นเพียงรสนิยม ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่จิตใจ” ไม่ควรจะยึดติดจนเป็นอุปสรรค “ศาสนาจะทำให้เราเจริญ หรือทำให้ถอยหลัง มันไม่ใช่มันอยู่ที่ตัวเรา ถ้าติดกับดักตัวเองแบบนี้ก็ช่วยไม่ได้”
ในขณะที่เพจ ประวัติศาสตร์คริสตศาสนา – ทั้งตะวันตกและตะวันออก ให้เหตุผลว่า “การบีบคนอื่นให้ปฏิบัติความเชื่อตนนี่มันสนับสนุนการอยู่ร่วมกันในสังคมยังไงครับ สังคมไทยถึงจะนับถือพุทธโดยส่วนใหญ่ แต่เราก็มีหลากความเชื่อ มีเสรีภาพรับรองในรัฐธรรมนูญ การเคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนาของคนไทยแต่ละคนต่างหาก คือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างแท้จริง ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ สมัครใจดูก็ดู แต่หากใครไม่สมัครใจดูก็ไม่ต้องดู และไม่ควรจะมาว่าอะไรแบบนี้ครับ”
“เวทีคุณณวัฒน์ถือกันว่าเป็นเวทีประชาธิปไตย คุณณวัฒน์เองก็สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย แต่แค่เสรีภาพทางศาสนาอันเป็นเสรีภาพพื้นฐานมาก ๆ ของยุคนี้เนี่ย ยังไม่เคารพเลย แล้วต่อไปจะมาเรียกร้องอะไรได้ครับ”
ประเด็นหลักของข้อพิพาทนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเด็นด้านเสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาตรา 31 ระบุเอาไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”