Newsเศรษฐกิจเมียนมาฟื้น ประชาชนจับจ่ายอย่างคึกคัก ‘พาณิชย์’ ชี้โอกาสปักหมุด ‘สินค้าไทย’ ในเมียนมา

เศรษฐกิจเมียนมาฟื้น ประชาชนจับจ่ายอย่างคึกคัก ‘พาณิชย์’ ชี้โอกาสปักหมุด ‘สินค้าไทย’ ในเมียนมา

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) รายงานว่า ประชาชนชาวเมียนมาออกมาจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคัก ในหลายพื้นที่ในเมืองย่างกุ้ง ทั้งตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดโบจ๊ก ย่าน China Town, Hledan, Karba Aye รวมทั้งตลาดท้องถิ่น ร้านค้าริมทาง ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ร้านปิ้งย่าง รวมทั้งตลาดสมัยใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ

 

สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนใช้ชีวิตกันตามปกติ ทั้งกลางวันและยามค่ำคืน มีความต้องการบริโภค จับจ่ายใช้สอย สังสรรค์เข้าสังคม แสดงถึงโอกาสธุรกิจและความต้องการของผู้บริโภคในเมียนมา ซึ่งจะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นตลาดเมียนมา

 

สคต. วิเคราะห์ว่า เมียนมาเป็นตลาดมีโอกาสและศักยภาพ เพราะมีความต้องการตลาด นิยมสินค้าไทย  มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เป็นแหล่งทรัพยากรและฐานการผลิต เป็นเพื่อนบ้านสำคัญอยู่ติดประเทศไทย มีชายแดนระหว่างกันยาวที่สุด 2,401 กิโลเมตร มีหลายเส้นทาง ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เชียงรายถึงระนอง 

 

อย่างไรก็ตาม เมียนมาก็มีความท้าทายต่างๆ เช่น สถานการณ์ กฎระเบียบการค้า อัตราแลกเปลี่ยน การชำระเงิน โลจิสติกส์ ซึ่งหากผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ ได้ ก็จะปักหมุดในตลาดเมียนมาได้ ทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต 

 

โดยมีสินค้าและธุรกิจที่มีศักยภาพ เช่น ของกินของใช้ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส เครื่องสำอาง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและชิ้นส่วน วัตถุดิบเพื่อการผลิต ธุรกิจสุขภาพและความงาม ร้านอาหาร ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น และนอกจากเมืองย่างกุ้ง มีอีกหลายเมืองที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น มัณฑะเลย์ เนปยีดอ ตองจี พะโค มะริด เป็นต้น

 

ขอให้ผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และปรับแผนกลยุทธ์เพื่อก้าวข้ามความท้าทาย โดยเฉพาะ การขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ซึ่งภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวตามแนวทางและข้อกำหนดเมียนมา เช่น การจับคู่กับรายได้ส่งออก (Export Earning) 

 

รวมทั้งพิจารณาปรับกลยุทธ์ธุรกิจ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าและส่งออกจากไทย เป็นการผลิตในเมียนมามากขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งการจ้างผลิตในเมียนมา (OEM) การเป็นหุ้นส่วนร่วมกับธุรกิจกับเมียนมา (Joint Venture) หรือการลงทุนเองในเมียนมา เป็นต้น 


สิ่งสำคัญคือประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit) ทั้งไทยและเมียนมา  ทั้งระดับประเทศ ภาคธุรกิจ ประชาชนและผู้บริโภค  โดย สคต.ย่างกุ้ง ยินดีให้บริการสนับสนุนการปรับตัวก้าวข้ามความท้าทาย เพื่อส่งเสริมธุรกิจไทยให้เกิดความเชื่อมั่น และเดินหน้าปักหมุดในตลาดเมียนมาในทุกสถานการณ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า