Newsการเมืองวิวาทะ กันวีร์ สืบแสง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม VS รัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วย รมต. ต่างประเทศ 5 มี.ค. 2568

วิวาทะ กันวีร์ สืบแสง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม VS รัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วย รมต. ต่างประเทศ 5 มี.ค. 2568

เมื่อวานนี้ (5 มี.ค. 2568) กันวีร์ สืบแสง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม โพสต์ภาพหนังสือรายงานการประชุม กมธ. กฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร์ ลงวันที่ 10 ก.ค. 2567 พร้อมโพสต์ข้อความว่า

“มาตามหา!! คนที่ถามหาหลักฐานครับ ว่าทางผู้แทนกระทรวงต่างประเทศแจ้งกับผมว่ามีประเทศที่ 3 มาขอรับชาวอุยกูร์ เอามาให้แล้วนะครับ “ชวเลข ของการประชุม กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน วันที่ 10 กรกฎาคม 2567” ทางผู้แทน กต. ได้ให้ข้อมูลในที่ประชุมว่า “บางประเทศก็แสดงความพร้อมรับชาวอุยกูร์ ไปตั้งถิ่นฐาน อย่างเช่น สหรัฐ สวีเดน ออสเตรเลีย” (ครบ 3 ประเทศที่ทวงยังครับ?)

ผมให้หลักฐานที่ทางกลไลสภาฯ สามารถให้ได้แล้วนะครับ ทีนี้ต้องนำเรียนถาม ท่านที่เกี่ยวข้องในรัฐบาลทั้งหมดว่าสรุปว่าความจริงเป็นยังไง และที่สำคัญ สมัครใจกลับหรือไม่?

ทำไมอ่านไปมา เหมือนว่าจะบอกเลยว่าจีนกดดันตลอดเวลาจนส่งไม่ได้น๊ออ”

ทำให้รัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความตอบโต้ โดยมีข้อความว่า

“ขอเรียนดังนี้

ผมก็ได้เคยบอกไปแล้วว่าเคยมีบางประเทศมาขอรับไป (ซึ่งผมหลีกเลี่ยงเอ่ยนาม โดยอาจไม่ได้อธิบายมากพอเพราะไม่อยากให้กระทบประเทศอื่น)
แต่ผมได้ใช้คำว่า“ไม่มีประเทศไหนแน่วแน่ที่จะรับไปจริงจัง”

เพราะการมาบอกแค่ว่าพร้อมรับนั้น ในความจริงมันไม่ได้ง่าย หรือแทบทำไม่ได้จริงสำหรับประเทศไทย
มันไม่ใช่ว่าเขาพร้อมรับแล้วเราส่งไปมันจะจบแค่นั้น
แต่เราอาจต้องเผชิญการตอบโต้จากจีน ที่อาจกระทบชีวิตคนไทยอีกมากมายนับไม่ถ้วน

ถามว่าถ้าส่งให้ประเทศที่สาม ลองถามคนไทยทั้งประเทศก่อนหรือยังว่าเขาจะพร้อมรับผลกระทบที่ตามมาไหม?

และมันยุติธรรมกับคนไทยไหมที่ต้องมารับผลกระทบกับปัญหาที่เราไม่ได้ก่อ?

จะเอาอย่างนั้นจริงหรือเปล่า?

เดิมผมเองก็เคยเชื่อว่าเราอาจพอมีทางส่งไปประเทศที่สามได้ ซึ่งจริงๆ อาจพอทำได้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ยังไม่มีแรงกดดันต่อไทย และอาจช่วยได้มากหากไม่มีการนำเสนอข่าวเรื่องนี้อย่างครึกโครมทั่วไปหมด ที่อาจช่วยให้เราสามารถดำเนินการอย่างแนบเนียนเงียบๆได้ แต่ก็เป็นอย่างที่ทราบ
ผมเองยังเคยหวังว่าเราจะส่งไปประเทศที่สามได้ แต่ก็ยอมรับความเป็นจริงว่าผลกระทบต่อประเทศไทยในการส่งไปประเทศที่สามนั้นมันมหาศาล ที่ยากจะดำเนินการได้จริง (ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลใด ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหน จะกล้าส่งจริง)

และคนเหล่านี้ก็จะถูกขังอยู่อย่างนั้น ไปเรื่อยๆจนตายคาคุก

อย่างที่บอกข้างต้นว่าการส่งไปประเทศที่สามมันไม่ได้จบแค่นั้น เพราะมันมีผลกระทบตามมามหาศาล การที่ผมบอกว่าไม่มีประเทศไหนที่แน่วแน่ช่วยรับจริงจัง จึงหมายถึงว่าไม่มีประเทศไหนที่มาบอกว่าจะรับแล้วพร้อมไปช่วยเจรจาล้อบบี้ให้จีนยินดียอมรับให้ไทยส่งตัวไปประเทศที่สามนั้นๆได้

หรือมาบอกว่าพร้อมรับและหากไทยถูกจีนตอบโต้ยินดีจะยื่นมือมาช่วยเหลือเรา

ผมเชื่อว่าไม่มีหรอกครับ

ในความเห็นของผม แค่บอกพร้อมจะรับเฉยๆมันไม่พอ หรือในแง่หนึ่งแค่บอกก็เหมือนไม่ได้บอกนั่นเอง เพราะมันทำไม่ได้จริง

การที่ทางการจีนมีคำมั่นที่จะให้คนเหล่านี้กลับคืนสู่สังคมปกติจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดสำหรับคนเหล่านี้ รวมทั้งประเทศไทยและชาวไทยให้ไม่ต้องพลอยรับผลกระทบเรื่องนี้ หรือให้ได้รับน้อยที่สุด

จีนเขาเป็นมหาอำนาจที่เขาก็ต้องรักษาคำพูดของเขา ถ้าเราไม่เชื่อคำพูดของเขา เราจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อเขาต่อไปในทุกด้านได้อย่างไร

ผมขอยืนยันว่าความคิดการส่งตัวไปประเทศที่สามคือความคิดที่ไม่อยู่บนพื้นฐานความจริง และปัดความรับผิดชอบ รวมทั้งไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง ที่จะขังพวกเขาไว้ต่อไปจนตาย

เรื่องนี้ผมเห็นว่ารัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่น และการที่เราขอให้จีนมีหนังสือยืนยันความปลอดภัย เป็นทางออกที่ดีที่สุดของทุกฝ่ายแล้ว

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้จึงไม่ใช่อยู่ที่มีประเทศที่สามจะรับจริงหรือไม่

หากแต่อยู่ที่ประเทศไทยมีทางเลือกอะไรที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเราได้ดีที่สุด
เรื่องนี้มันซับซ้อนและหลักการสวยหรูอะไร ไม่สามารถช่วยคนไทยได้

เราต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะทำเพื่อคนไทย รวมทั้งคนอุยกูร์เหล่านั้น หรือทำตามประเทศตะวันตกที่สาม ที่ถึงเวลาเขาจะมาช่วยเราจริงจังแค่ไหน

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้จึงไม่ใช่อยู่ที่ว่ามีประเทศที่สามจะรับจริงหรือไม่แค่นั้น

หากแต่อยู่ที่ประเทศไทยมีทางเลือกอะไรที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเราได้ดีที่สุด

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเลือกทางใดที่จะกระทบคนไทยน้อยที่สุด

หรือว่าอยากจะเลือกหนทางที่จะกระทบชีวิตประชาชนคนไทยให้มากที่สุด?”

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า