Newsนโยบายสาธารณะและการพัฒนาทางรอดท่ามกลางสงครามการค้าโลก ‘ธปท.’ เผยแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ชี้เศรษฐกิจไทยเปราะบางทั้งจากภายใน-ภายนอก

ทางรอดท่ามกลางสงครามการค้าโลก ‘ธปท.’ เผยแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ชี้เศรษฐกิจไทยเปราะบางทั้งจากภายใน-ภายนอก

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความเรื่อง ศึกนอก-ศึกใน บั่นทอนเศรษฐกิจไทยให้เปราะบาง โดยกล่าวถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งจากปัจจัยภายใน และภายนอกประเทศ

ปัจจัยภายใน: ปัญหาเชิงโครงสร้าง และความเปราะบางของภาคการผลิต

 

เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ขยายตัว 2.5% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น 4.4% และการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้น 5.8% อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับหดตัวลง 0.5% และมีการผลิตลดลงอย่างมากในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งสอดคล้องกับการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

 

โดยมีสาเหตุมาจาก การที่ไทยมีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งมีสินค้าหลากหลายประเภทออกสู่ตลาดโลกมากขึ้นตามนโยบาย Made in China และการพัฒนาคุณภาพสินค้า ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศจีนฟื้นตัวช้า ทำให้มีการส่งออกมายังต่างประเทศมากขึ้น

 

จนเป็นเหตุให้ไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด  อีกทั้งจีนยังส่งออกมาตลาดอาเซียนมากขึ้น ซึ่งอาจกดดันการส่งออกของไทยที่เดิมส่งออกได้น้อยอยู่แล้วในหลายกลุ่ม ทั้งยังตอกย้ำปัญหาที่มาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตไทยที่มีความเปราะบางให้ชัดเจนขึ้น 

ปัจจัยภายนอก: ความไม่แน่นอนของนโยบายทรัมป์

 

มาตรการกีดกันทางการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการผลิตภายในประเทศและลดการนำเข้า โดยการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศ โดยเฉพาะจีนและประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าด้วย ซึ่งการปรับเปลี่ยนนโยบายและการตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

โดยไทยมีความเสี่ยงจากการที่สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ เกือบ 20% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และการส่งออกวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางของไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีนเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบไปด้วย

 

อย่างไรก็ดี ในวิกฤตยังมีโอกาส โดยสหรัฐฯ อาจต้องนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นเพื่อทดแทนสินค้าจากจีน ซึ่งอาจเป็นโอกาสให้ไทยส่งออกสินค้าบางประเภทไปยังสหรัฐฯ ได้มากขึ้น

 

และการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอาจส่งผลให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามายังไทยและประเทศในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากจำนวนการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่เพิ่มขึ้น และอาจสนับสนุนการส่งออกของไทยในระยะยาว

 

อย่างไรก็ดี ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงขึ้นจากนโยบายของประเทศหลัก เช่น สงครามที่ดำเนินอยู่ ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและทะเลจีนใต้ อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ต้นทุนการขนส่ง ทิศทางการลงทุน รวมถึงความเชื่อมั่นและความผันผวนของตลาดการเงินโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

 

ธปท. เน้นย้ำว่า การจะรับมือความท้าทายทางเศรษฐกิจให้ได้ผ่านการสร้างความ ยืดหยุ่น และ ทนทาน

 

เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถรับมือกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น การเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลักในปัจจุบัน (การบริโภค การท่องเที่ยว และการส่งออก) อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการค้าโลก

 

โดยภาคการผลิตต้องได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และทำให้สินค้าไทยต้องเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ หมุนเวียนกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เติบโต ผ่านการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างดังนี้

1 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน: ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจและสินค้าไทย


2 ยกระดับทรัพยากร: พัฒนาทักษะแรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อสนับสนุนให้ภาคการผลิตปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์


3 เชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิตโลก: ฟื้นฟูและเสริมสร้างความสามารถในการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิตโลก

ซึ่ง ธปท. มุ่งเน้นการสร้าง “ความยืดหยุ่นและทนทาน” ให้กับระบบเศรษฐกิจการเงิน เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้โดยไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงต่างๆ โดย

 

1 ดำเนินนโยบายการเงิน: ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา และดูแลความผันผวนของตลาดการเงิน


2 สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน: แก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน และป้องกันภัยทางการเงิน


3 วางรากฐานภาคการเงิน: ด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงเงินทุนสำหรับการปรับตัวสู่การผลิตสีเขียว และการพัฒนาระบบการชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย

 

เพื่อให้ประเทศพร้อมรับทั้งโอกาสและความท้าทายในการสู้ศึกเศรษฐกิจครั้งนี้ได้อย่างเข้มแข็ง

 

อ่านบทความฉบับเต็มของ ธปท. – https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/prachachat-chayawadee-mar25.html 



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า