Newsหนูนาขอฝากข้อคิด เกี่ยวกับเรื่องอนุรักษ์ช้าง พร้อมตั้งคำถามถึง รมว.เจ้ากระทรวงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

หนูนาขอฝากข้อคิด เกี่ยวกับเรื่องอนุรักษ์ช้าง พร้อมตั้งคำถามถึง รมว.เจ้ากระทรวงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

สืบเนื่องจากกระแสโซเชียลที่ออกมาคัดค้านนโยบายการคุมกำเนิดช้างด้วยวัคซีน ตามโครงการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2566 สืบเนื่องจนปัจจุบัน ที่สามารถนำเข้าวัคซีนมาและพร้อมจะเริ่มการคุมกำเนิดช้างต้นปี 2568 ตามคำประกาศของกระทรวงทรัพย์ฯ 

 

ล่าสุด หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันเรื่องการอนุรักษ์ช้างไทยมาอย่างยาวนาน ได้ออกมาโพสต์เฟสบุ๊ค แสดงความเห็นถึงเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้

 

 

ความเห็นส่วนตัวของดิฉันต่อนโยบายทำหมันช้างป่าของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม….

 

  1. ภารกิจหลักของกระทรวงนี้คือรักษาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งนั่นรวมถึงสัตว์ป่าด้วย…

ให้อยู่ดำรงเผ่าพันธุ์ได้อย่างปกติสุข…เยี่ยงสมบัติชาติ…

 

  1. ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง… ก็แน่นอนว่าเป็นภารกิจหนึ่งของกระทรวงนี้ที่ต้องหาทางแก้ไข…ซึ่งได้มีการประชุมหาทางแก้ไขมาตลอดเวลาด้วยหลากหลายวิธี (ก่อนรัฐมนตรีท่านปัจจุบัน…)

 

  1. หนึ่งในมาตรการหลักที่ได้ทำมาแล้ว และต้องทำอย่างต่อเนื่องก็คือสร้างแหล่งอาหาร นํ้า ในป่าให้กับช้างและสัตว์ป่า…

 

  1. พยายามปลูกพืชที่ช้างไม่ชอบตามแนวกันชนขอบป่า…เพื่อว่า เมื่อช้างออกมา แล้วเจอพืชอาหารที่เขาไม่ชอบ ก็จะไม่มีแรงจูงใจให้ออกมา…

 

  1. มีทีมเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครในพื้นที่ คอยผลักดันช้างป่าให้กลับเข้าสู่เขตอุทยาน และมีการแจ้งเตือนประชาชน มีกล้องดักจับความเคลื่อนไหว…ซึ่งการผลักดันช้างป่า ต้องใช้วิธีการที่ละมุนละม่อม ไม่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก จนโขลงแตกกระเจิง เสี่ยงต่อการมีลูกช้างป่าพลัดหลง เพราะลูกเล็กวิ่งตามโขลงไม่ทัน…อันนี้โดรนดักจับความร้อนช่วยได้มาก เพื่อความปลอดภัยทั้งคนและช้าง…รัฐต้องสนับสนุนทั้งเรื่องคนและอุปกรณ์

 

  1. ดิฉันคิดว่าวิธีการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างในแต่ละพื้นที่อาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทและสภาพแวดล้อม…

 

  1. อย่างที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นตัวอย่างที่น่าชม เพราะสามารถทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนสามารถดูวิถีชีวิตของช้างป่าสัตว์ป่าได้ในระยะไกล โดยไม่ไปรบกวนสัตว์ ซึ่งถ้าสามารถทำแบบนี้ได้ในที่ต่างๆก็จะดีมาก แต่ก็คงต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

 

  1. เมื่อทราบแนวความคิดของเจ้ากระทรวงที่จะทำหมันช้างป่า…ดิฉันค่อนข้างตกใจ เพราะอยู่ๆ ก็มีเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วจะทำทันทีในเดือนมกรา 68 นี้…จึงอยากทราบว่า มีการประชุมตกผลึกความคิดกันดีแค่ไหน ถามหมอช้าง ถามผู้รู้เรื่องสัตว์ป่ากันดีหรือยัง…ยานี้ใช้ได้ผลที่ไหนมาบ้าง มีผลผลข้างเคียงอย่างไร ผลกระทบต่อช้างในระยะยาวคืออย่างไร จะยิงช้างตัวไหน เลือกอย่างไร ถ้าไปยิงโดนช้างเพศเมียที่เขาตั้งท้องอยู่จะทำยังไง ใครจะตามไปดูชีวิตเขาในป่า…คำถามเหล่านี้มีคำตอบไหม ?

 

  1. อีกทั้งการเอาช้างป่าไปขังคอกอ้างว่าเพื่อปรับพฤติกรรม อย่างที่ที่ทำกับพลายไข่นุ้ยที่พังงา..ขอถามว่า..กระบวนการปรับพฤติกรรมเริ่มหรือยัง ขังเขามาน่าจะปีกว่าแล้ว และยังจะทำอีกถึง 3 ที่ใช้งบประมาณ 27,000,000. บาท…การที่ช้างถูกกักบริเวณเดินวนอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางปรับพฤติกรรมได้มีแต่จะเพิ่มความเครียด..ลองคิดดูถ้าตัวเราถูกกักบริเวณที่ใดที่หนึ่งทั้งชีวิต จะมีความสุขไหม…ใจเขาใจเรา …

 

//////////

 

หมดเวลาที่จะมาเถียงกันว่าช้างบุกรุกพื้นที่คนหรือคนบุกรุกพื้นที่ป่าของช้าง…

แต่ต้องหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข..ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องมีบทบาทหลัก

 

ซึ่งต้องฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน 

และยึดบทบาทหน้าที่ของกระทรวงเป็นหลัก 

ซึ่งคือการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน

เพิ่มพื้นที่ป่า…ไม่ใช่ลดจำนวนสัตว์ป่า…

 

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว เขามีกระทรวงของเขาอยู่แล้ว…

ดิฉันคงไม่บังอาจไปชี้แนะพวกท่านได้…แต่พวกท่านควรรู้หน้าที่ของตัวเอง…”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า