ชามเซรามิก “เพทาย” สินค้าไทยที่สามารถเอาชนะจีน ‘นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย’เผยกรณีความสำเร็จของแบรนด์ เซรามิกไทยที่สามารถส่งสินค้าไปตีตลาดโลก และชนะจีน
สืบเนื่องจากกระแสข่าวชามเซรามิก ที่มีลักษณะคล้ายชามตราไก่จากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาขายในประเทศไทย จนทำให้ผู้ประกอบการไทยยากที่จะแข่งขันได้
นายตฤณ วุ้นกลิ่นหอม นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย และคณะกรรมการการค้าข้ามแดนจีน โพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2567 กล่าวถึงกรณีความสำเร็จของบริษัท โฮมพอตเทรี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิค ยี่ห้อ “เพทาย” ที่สามารถส่งออกสินค้าเซรามิกบนโต๊ะอาหารไปตีตลาดโลก และเอาชนะสินค้าจากจีนได้ โดยมีข้อความว่า
“ยอมรับว่าเมื่อเช้าอ่านบทความเรื่อง ชามตราไก่ ที่จีนทำเลียนแบบมาขายทำให้ท้องถิ่นขายได้ยากในราคานี้ แต่โชคดีที่ไม่นานมานี้เคยได้ไปฟัง ผู้บริหารคนไทยท่านนึงที่ทำธุรกิจทางนี้ บอกเคล็ดลับและแนวทางที่สามารถเอาชนะโรงงานจีนได้ ทั้งราคา และคุณภาพ ผมขอสรุป Key Take Away ไว้คร่าวๆดังนี้ครับ
ที่เหลือสำหรับคนสนใจว่า อ้าววแล้วทำไม บริษัทไทย บริษัทนี้ถึงเอาชนะกลุ่มโรงงานจีนได้ ตีตลาดต่างประเทศทั่วโลก ชนะจีนได้ และเคล็ดลับความสำเร็จคืออะไร ก็อยากให้ไปลองค้นหาข้อมูลพี่เค้าดูครับ”
นายตฤณ ยังได้โพสต์ภาพที่มาจากบทสรุปของคุณนิจวรรณ เชาว์กิตติโสภณ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โฮมพอตเทรี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีบทสรุปดังนี้
– เริ่มจากรุ่นอากง (คุณปู่) ดริ่มแบบบ้าน ไม่มีเครื่องมืแ และทำแต่ถ้วยอย่างเดียว
– มีการเริ่มนำเอาอุปกรณ์และเครื่องจักรจากญี่ปุ่นและเยอรมัน
– เริ่มทำจากขายทีละชิ้น เป็นดินเนอร์เซ็ท ทำให้ส่งให้ยุโรป และสหรัฐฯ ได้
– เป็นการผลิตในช่วงหน้าฝนทำเก็บใส่เข่ง (Made to Stock) และพอถึงช่วงที่พ่อค้าจากทรงวาดที่กรุงเทพมาซื้อ ถึงจะมีเงินหมุน
– การผลิตเปลี่ยนจาก Made to Stock เปลี่ยนเป็น Made by Order
– เปลี่ยนจากการขายผ่านเอเย่นต์ ด้วยการไปออกงานแฟร์มากขึ้น ทั้งไทยและต่างประเทศ
– มีการขยายโรงงาน เพราะออเดอร์จากการไปออกงาน
– ทำการผลิต Mass Production แบบแข่งกับจีนได้ เพราะมีโรงงานผลิตที่แข็งแกร่ง
– เริ่มเปลี่ยนจากการทำให้คนอื่น (OEM) มาเป็นการดีไซน์ (Design)ของตัวเอง มาทำโรงงานเซรามิกของตัวเอง
– เริ่มมีความฝัน และตั้ง Vision เลยแยกออกจากกงสี มาทำโรงงานเซรามิกของตัวเอง
– ผันตัวเองมาเรียน Industrial Design (ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ทำให้ ODM (Original Design Manufactuere – ผู้ผลิตที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์) ทำดีไซน์เอง/ OBM (Original Brand Manufacturer – ผู้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเอง) และออกแบบดีไซน์ให้ลูกค้าเลย
– เข้าตลาด MAI เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ทำให้มีทุน ขยายแบรนด์เพทาย ไปขายยังห้างสรรพสินค้า